บทสวดมนต์ 'วันวิสาขบูชา 2566' เพื่อความเป็นสิริมงคล

บทสวดมนต์ 'วันวิสาขบูชา 2566' เพื่อความเป็นสิริมงคล

เปิดบทสวดมนต์ "วันวิสาขบูชา 2566" วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต พร้อมคำบูชาดอกไม้ธูปเทียน และการปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนใน "วันวิสาขบูชา" มีอะไรบ้าง?

"วันวิสาขบูชา" เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาระดับโลกที่มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน แต่ต่างปีคือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาพุทธที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งปีนี้ "วันวิสาขบูชา 2566" ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน 2566

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงได้รวบรวมบทสวดมนต์ ที่สามารถสวดด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมคำบูชาดอกไม้ธูปเทียน และกิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน "วันวิสาขบูชา" มาแนะนำ ดังนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ

บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

(3 จบ)

บทสวดมนต์ \'วันวิสาขบูชา 2566\' เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

(ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่า วิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ  (สังฆคุณ)

 

บทพุทธชัยมงคลคาถา

(ชนะอุปสรรคทั้งปวง)

พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรังอะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง (อ่านว่า พรัมมัง) วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โยวาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

(* หากสวดให้ผู้อื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)

 

บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา 

(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)

วิสาขะ ปุณณะมายัง โยชาโต อันติมะชาติยา
ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต
โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย
นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก
มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา
อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา
อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง
สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง
ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง สะยัมภุโน
ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ
ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ
ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร มาลาวิกะติอาทะโย
ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง
สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง
ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง
พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ

 

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน ในวันวิสาขบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา

ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ

ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ

สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆม อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ  อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ

อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปัง (ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

 

บทสวดมนต์ขณะ "เวียนเทียน"

สำหรับท่านที่มีโอกาสไปเวียนเทียนที่วัดใน "วันวิสาขบูชา" ควรที่จะมีบทสวดสำหรับการเวียนรอบพระอุโบสถทั้ง 3 รอบ โดยให้สวดตามลำดับดังนี้ 

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติใน "วันวิสาขบูชา"

  1. เข้าวัดทำบุญ ตักบาตร ด้วยอาหารคาวหวาน
  2. ถวายสังฑทาน
  3. ฟังเทศเพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต
  4. ถือศีล ปฏิบัติธรรม สร้างบุญบารมีให้ตนเอง
  5. "เวียนเทียน/เวียนเทียนออนไลน์" เพื่อเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

บทสวดมนต์ \'วันวิสาขบูชา 2566\' เพื่อความเป็นสิริมงคล