ไหว้พระพิฆเนศ ต้องเตรียมอะไรบ้าง และ 5 ข้อห้ามต้องรู้
การ 'ไหว้พระพิฆเนศ' เนื่องในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถี หรือ วันเกิดพระพิฆเนศ ประจำปี 2566 ที่ปีนี้ตรงกับวันที่ 19-28 กันยายน 2566 ไปดูกันว่าสิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้บูชานั้นมีอะไรบ้าง และ 5 ข้อห้ามต้องรู้
ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ หาข้อมูลเกี่ยวกับการ 'ไหว้พระพิฆเนศ' เนื่องในช่วง"เทศกาลคเณศจตุรถี" หรือ วันเกิดพระพิฆเนศ ประจำปี 2566 ที่ปีนี้ตรงกับวันที่ 19-28 กันยายน 2566 ไปดูกันว่าสิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้บูชานั้นมีอะไรบ้าง และ 5 ข้อห้ามต้องรู้ เพื่อที่จะได้ทราบวิธีการบูชาต่อองค์เทพอย่างถูกต้อง
"การไหว้พระพิฆเนศ" เชื่อกันว่า หากผู้ที่ศรัทธาขอพรใดๆที่ไม่เกินวาสนาบารมี ย่อมประสบความสำเร็จ สมหวังดังปรารถนา ซึ่ง "พระพิฆเนศ" ถือเป็นเทพเจ้าแห่งจักรวาลไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การงาน ธุรกิจ การเงิน การมีบุตร หรือความรัก องค์พระพิฆเนศจะช่วยปัดเป่าอุปสรรคแก้ไขปัญหาต่างๆ
เครื่องสังเวย สิ่งที่ต้องเตรียมไหว้พระพิฆเนศ
1.ดอกไม้ ดอกไม้ที่ดีที่สุดคือ ดอกบัว แต่ดอกไม้อื่นๆ เช่น ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ หรือดอกกุหลาบสีไหนก็ได้ สำคัญคือ ต้องล้างทำความสะอาดก่อนถวาย
2.น้ำสะอาด สำคัญคือ ห้ามใช้น้ำจากขวดที่เราเคยเปิดกินมาแล้ว ส่วนแก้วน้ำก็ต้องเป็นแก้วที่ใช้ถวายเทพโดยเฉพาะเช่นกัน
3.นมสด ควรเป็นนมจืด และห้ามใช้นมสดที่เคยเปิดกินมาแล้ว แต่หากจัดหาไม่ได้ สามารถถวายน้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้
4.ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย สาลี่ ชมพู่ มะขวิด ผลหว้า หรือมะพร้าวผ่าซีกก็ได้
5.ขนมหวาน ควรเป็นขนมที่ทำจากแป้ง มีความหวาน มัน เน้นน้ำตาลและกะทิ
6.ผัก เป็นผักสดทุกชนิด
7.เครื่องเทศ เช่น เกลือ น้ำตาล เมล็ดพริกไทย
8.ธูปหอมและกำยาน การบูชาเทพด้วยเครื่องหอมอย่างธูปหอมและกำยาน ตามความเชื่อของชาวฮินดู ย่อมได้บุญกุศลมหาศาลเพราะเป็นการแสดงความเคารพต่อองค์เทพ และยังแสดงถึงความจงรักภักดี
9.ธัญพืช เช่น เมล็ดถั่ว งาขาว งาดำ เมล็ดกาแฟสด แหากผู้บูชาจัดหาได้ลำบากก็ไม่จำเป็นต้องถวายธัญพืชก็ได้
10.ไฟ หรือ อารตี เชื่อว่าไฟสามารถนำแสงสว่างส่องสู่จิตใจและปัญญาของผู้บูชา
5 ข้อห้ามในการไหว้บูชาพระพิฆเนศที่ต้องรู้
- ห้ามบูชาพระพิฆเนศในที่สกปรก
- ห้ามบูชาพระพิฆเนศในที่ที่มีกลิ่นเหม็น
- ห้ามบูชาพระพิฆเนศในที่ที่มีเสียงดัง
- ห้ามบูชาพระพิฆเนศในที่ที่มีคนมากมาย
- ห้ามบูชาพระพิฆเนศด้วยของที่ไม่ดี
"ไหว้พระพิฆเนศ" ที่บ้าน สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ตั้งรูป หรือ องค์พระพิฆเนศไว้บนหิ้งหรือโต๊ะบูชา โดย พระพิฆเนศ ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ หรือทิศตะวันตก ห้ามหันไปทางทิศใต้ นอกจากนี้ไม่ควรวางพระพิฆเนศใกล้ห้องน้ำ ครัว ห้องเก็บของ หรือสถานที่มืด
จากนั้น เตรียมเครื่องบูชา ตามที่นำเสนอ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ผลไม้ ขนม น้ำสะอาด นมสด ข้าว โดยห้ามถวายเนื้อสัตว์ เนื่องจากชาวฮินดูเชื่อว่า พระพิฆเนศ กินมังสวิรัติ ไม่ควรบูชาด้วยเนื้อสัตว์
และ จุดธูปและเทียน ถวายดอกไม้และผลไม้ ขนม น้ำสะอาด นม ข้าว
สวดมนต์หรือภาวนาขอพรพระพิฆเนศ กรวดน้ำ และปิดการบูชา
คาถาบูชาพระพิฆเนศแบบสั้น (สวด 9 จบ แล้วขอพร)
“โอม ศรี คเณศายะ นมัช
โอม ศรี มหาคณะปัตเตยะ นมัช
โอม คัม คณะปัตเตยะ นมัช
โอม ศรี วินายะกายะ นมัช"
คาถาบูชาพระพิฆเนศแบบเต็ม (สวดคาถาบูชาพระพิฆเนศ 3 จบแล้วขอพร)
“โอม ศรีคะเนศายะ นะมะ
ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ
เทวา มาตา ชากี ปะระวะตี ปิตามะหา เทวา
ละฑุวัน กาโกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอกทันตะ
ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห
มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะโก กายา
พามณะนะ โก กุตรระ เทตะ โกทินะ นิระ ทะนะ มายาฯ
โอม ศรีคะเนศายะ นะมะหะ”
คำกล่าวของถวาย
"โอม ไนเวทะยัม สะมะระ ประยามิ" จากนั้นให้ขอพรตามปราถนา.... และกล่าวปิดท้ายว่า "โอม ชัยยะ คเณศะ ชัยยะ คเณศะ ชัยยะ คเณศะเทวา" (3 จบ)