เปิดประวัติความสำคัญ 'วันอธิกวาร' Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

เปิดประวัติความสำคัญ 'วันอธิกวาร' Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

เปิดประวัติความสำคัญ "วันอธิกวาร" ด้าน กูเกิล ร่วมกระแสเปลี่ยน Google Doodle หน้าแรก Search engine ของวันนี้ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นภาพ Leap Day 2024 รำลึกเหตุการณ์สำคัญ ในปีอธิกสุรทิน

วันนี้ 29 กุมภาพันธ์ 2567 "กูเกิล" Google เปลี่ยน "กูเกิล ดูเดิล" Google Doodle หรือเป็นการปรับเปลี่ยนชั่วคราวบนหน้าโฮมเพจของกูเกิล เพื่อร่วมเฉลิมฉลองหรือรำลึกเหตุการณ์สำคัญ เทศกาล วันสำคัญ ในหน้าแรก Search engine เป็นภาพวันอธิกวาร (Leap Day 2024)

 

เปิดประวัติความสำคัญ \'วันอธิกวาร\' Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

 

ประวัติความสำคัญวันอธิกวาร Leap Day หรือปีอธิกสุรทิน

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เรียกวันนี้ว่าเป็นวันอธิกวาร (leap day) ใน "ปฏิทินเกรกอเรียน" ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวจะมีอธิกวาร แต่ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 100 ลงตัวไม่มีอธิกวาร ยกเว้นปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัวจะมีอธิกวาร ปีที่มีอธิกวารเรียก "ปีอธิกสุรทิน" วันนี้เป็นวันที่ 60 ของปี เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลืออีก 306 วันในปีนั้น 

ซึ่ง "ปฏิทินเกรกอเรียน" Gregorian Calendar เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 หรือปีค.ศ. 1582

เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินกริกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย

ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม "วันวสันตวิษุวัต" จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน

ปีอธิกสุรทิน

ปีอธิกสุรทิน อ่านว่า อะ-ทิก-กะ-สุ-ระ-ทิน  
คำว่า อธิกสุรทิน ตามพจนานุกรม คำว่า

  • อธิก แปลว่า เกิน
  • สุร แปลว่า พระอาทิตย์ 
  • ทิน แปลว่า วัน

จากภาษาบาลี อธิกสูรทิน อ่านว่า อธิก - สูร - ทิน , รัสสะ "สระอู" ให้สั้นลงเป็น "สระอุ" ใช้เป็นภาษาอังกฤษคำว่า leap year เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล

เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป

โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน common year 

 

เปิดประวัติความสำคัญ \'วันอธิกวาร\' Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

 

ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรียน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ 

คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป

ทั้งนี้ "ปีอธิกสุรทิน" แม้ปีส่วนมากในปฏิทินสมัยใหม่มี 365 วัน การโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365 วัน 6 ชั่วโมง ทุกสี่ปี ซึ่งมีการสะสม 24 ชั่วโมงเพิ่มเข้ามา จึงต้องมีการเพิ่มวันขึ้นมาหนึ่งวันเพื่อให้การนับสอดคล้องกับตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์

ทว่า การเพิ่มวันนี้ยังคาดเคลื่อนอยู่เล็กน้อยในการคำนวณ 6 ชั่วโมงเพิ่มทุกปี การประมาณที่ดีกว่า ซึ่งมาจากตารางอัลฟอนซีน (Alfonsine table) มีว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบใช้เวลา 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 12 วินาที เพื่อชดเชยความแตกต่างนี้ ปีที่สิ้นสุดศตวรรษจึงมิใช่ปีอธิกสุรทิน ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว

นั่นหมายความว่า ค.ศ. 1600 และ 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน เช่นเดียวกับ ค.ศ. 2400 และ 2800 แต่ปี ค.ศ. 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ เช่นเดียวกับ ค.ศ. 2100, 2200 และ 2300

ปฏิทินเกรโกเรียนวนซ้ำทุก 400 ปี ซึ่งมี 20,871 สัปดาห์ มีปีปกติสุรทิน 303 ปี และมีปีอธิกสุรทิน 97 ปี ในช่วงเวลานี้ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ตกอยู่ในวันอาทิตย์ อังคารและพฤหัสบดีวันละ 13 ครั้ง วันศุกร์และเสาร์วันละ 14 ครั้ง และวันจันทร์และพุธวันละ 15 ครั้ง

มโนทัศน์ของปีอธิกสุรทินและอธิกวารแตกต่างกับอธิกวินาที ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการหมุนของโลก

อธิกวารริเริ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปจูเลียน วันที่หลังเทอร์มินาเลีย (23 กุมภาพันธ์) มีการซ้ำสองครั้ง ทำให้เกิดเป็น "bis sextum" ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ที่หกซ้ำ" เพราะวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็น "วันที่หกก่อนคาเลนด์ส (Kalends) เดือนมีนาคม"

โดยใช้การนับอย่างครอบคลุมของโรมัน (วันที่ 1 มีนาคม เป็น "วันแรก") แม้วันแรกของ bis sextum (24 กุมภาพันธ์) จะมักถูกเรียกว่า อธิก (intercalated) หรือวัน "bissextile" ตามปกตินับแต่คริสต์ศตวรรษที่สาม 

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ได้ถูกถือว่าเป็นอธิกวารเมื่อระบบวันกำหนดเลข (numbering day) ของโรมันถูกแทนที่ด้วยการกำหนดเลขโดยลำดับ (sequential numbering) ในปลายยุคกลาง

 

เปิดประวัติความสำคัญ \'วันอธิกวาร\' Google เปลี่ยน Doodle เป็นภาพ Leap Day 2024

 

ประเด็นทางกฎหมายวันอธิกวาร Leap Day หรือปีอธิกสุรทิน

  • ในสหราชอาณาจักรและฮ่องกง บุคคลที่เกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในปีที่ไม่ใช่อธิกสุรทิน วันเกิดตามกฎหมายจะเป็นวันที่ 1 มีนาคม 
  • ในประเทศนิวซีแลนด์ รัฐสภาออกพระราชกฤษฎีกาว่า หากวันเกิด คือ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในปีที่ไม่ใช่อธิกสุรทิน วันเกิดตามกฎหมายจะเป็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 

เหตุการณ์สำคัญวันอธิกวาร Leap Day หรือปีอธิกสุรทิน

  • พ.ศ. 2255 (ค.ศ. 1712) : วันถัดจาก 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 30 กุมภาพันธ์ในประเทศสวีเดน เพราะเลิกใช้ปฏิทินสวีเดน แล้วหันไปใช้ปฏิทินจูเลียนแทน
  • พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) : ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 12 แฮตตี แม็กแดเนียล เป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ ในสาขานักแสดงหญิงสมทบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง วิมานลอย
  • พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) : เดสมอนต์ ทูทู หัวหน้าบาทหลวงชาวแอฟริกาใต้ ถูกจับกุมพร้อมกับสมาชิกองค์กรศาสนากว่า 100 คน ขณะประท้วงนโยบายแยกคนต่างผิวในแอฟริกาใต้
  • พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) : ฌ็อง-แบร์ทร็อง อาริสตีดถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเฮติ หลังประชาชนก่อการกำเริบ
  • พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) : โตเกียวสกายทรีก่อสร้างแล้วเสร็จ

อ้างอิง : wikipedia 29 กุมภาพันธ์ วันอธิกวาร , wikipedia ปีอธิกสุรทิน