ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

สายมู สายบุญต้องรู้ กับความเชื่อเรื่องดวง เสริมดวงสร้างบุญบารมี ให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ไม่ว่าเทศกาลไหนๆ วันสำคัญ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลาอย่างมีสติ "ปล่อยปลาอะไรดี" ไม่ทำลายระบบนิเวศ ไม่ดราม่า เช็กเลยที่นี่

ปล่อยอะไรดี? ปล่อยปู ปล่อยปลา สัตว์น้ำอย่างไรให้ได้บุญ..มากกว่าทำบาป ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่

สายมู สายบุญต้องรู้ กับความเชื่อเรื่องดวง เสริมดวงสร้างบุญบารมี ให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ไม่ว่าเทศกาลไหนๆ วันสำคัญ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลาอย่างมีสติ "ปล่อยปลาอะไรดี" ไม่ทำลายระบบนิเวศ ไม่ดราม่า เช็กเลยที่นี่

 

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ในช่วงวันสำคัญหรือช่วงเทศกาลใหญ่ เช่น สงกรานต์ 2567 ปีใหม่ไทย พุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ชื่นชอบการเข้าวัดทำบุญ สายมู สายบุญ มักมีกิจกรรมปล่อยปลาร่วมด้วย 

เนื่องจากเชื่อว่าการทำบุญปล่อยปลานั้น เป็นการปฏิบัติธรรมที่มีความหมายสูงสุดแห่งความเมตตากรุณาต่อสัตว์มีชีวิต และเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ถือเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในธรรมชาติอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม การทำบุญด้วยการปล่อยสัตว์น้ำนั้น หากสัตว์น้ำที่เลือกมาปล่อยเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือการเลือกชนิดสัตว์น้ำที่ไม่เหมาะสมต่อแหล่งน้ำ การทำบุญก็จะกลายเป็นการทำบาปแทนได้

การเลือกพันธุ์สัตว์น้ำ ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

การเลือกปล่อยชนิดสัตว์น้ำที่เหมาะสมเมื่อต้องการทำบุญปล่อยปลา โดยควรเป็นพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นของไทยที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 

 

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

 

ปล่อยปลาอะไรดี? แนะนำสัตว์น้ำปล่อยได้ ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

  • ปลาตะเพียนขาว 
  • ปลาตะเพียนทอง
  • ปลากระแห 
  • ปลาแก้มช้ำ 
  • ปลาสร้อยขาว 
  • ปลาโพง (ปลาสุลต่าน) 
  • ปลากาดำ  
  • ปลายี่สกไทย 
  • ปลาหมอไทย 
  • ปลาช่อน 
  • ปลาบู่ทราย 
  • ปลาสลาด 
  • ปลากราย 
  • ปลาสวาย 
  • ปลากดเหลือง 
  • ปลากดแก้ว 

 

 

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

ซึ่งกลุ่มปลาดังกล่าวเป็นปลาที่สามารถอาศัยได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป หากเป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะ เช่น ปลาบึก ก็ควรปล่อยลงในลำน้ำหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นลำน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขง  

แนะนำสัตว์น้ำบางชนิดปล่อยในแหล่งน้ำที่เหมาะสม

สัตว์น้ำบางชนิดจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ปล่อยให้เหมาะสมเพื่อสามารถใช้ชีวิตรอดและเจริญเติบโตได้ อย่างเช่น 

  • ปลาไหลนา ควรถูกปล่อยลงในบริเวณที่กระแสน้ำไหลเอื่อย พื้นที่เป็นดินแฉะ เพื่อให้ปลาไหลได้ขุดรูอาศัย เช่นเดียวกันกับกบนา 
  • ปล่อยเต่า ควรแน่ใจก่อนว่าเต่าชนิดนั้นเป็นเต่าน้ำหรือเต่าบก เพราะหากนำเต่าบกปล่อยลงน้ำ เต่าบกจะไม่สามารถว่ายน้ำได้และตายในที่สุด 

วิธีการสังเกตว่าเป็นเต่าน้ำคือ เท้าเต่าน้ำจะมีพังผืดเชื่อมต่อระหว่างนิ้วเพื่อใช้สำหรับการว่ายน้ำและมีเล็บแหลมขนาดเล็ก ในขณะที่เท้าเต่าบกไม่มีพังผืดและมีเล็บขนาดใหญ่  

เหตุปัจจัยอื่นๆที่ควรคำนึงถึง  ดังนี้ 

1.) ปริมาณและขนาดของสัตว์น้ำ หากต้องการปล่อยในปริมาณมาก ควรเลือกขนาดที่เป็นลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแหล่งน้ำได้ดีกว่าปลาที่โตแล้ว 

2.) สุขภาพของสัตว์น้ำ ควรเป็นสัตว์น้ำที่มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรค 

3.) คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ต้องเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ ไม่ใช่แหล่งน้ำเสื่อมโทรม โดยสังเกตเบื้องต้นจากสีของน้ำที่ไม่เป็นสีดำ ไม่ขุ่นด้วยตะกอนดิน หรือไม่เป็นน้ำสีเขียวเข้ม และไม่มีกลิ่นฉุน  และ 

4.) ช่วงเวลาในการปล่อยสัตว์น้ำ ควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเวลาที่อากาศไม่ร้อนจัด เพราะอาจทำให้สัตว์น้ำปรับตัวกับอุณหภูมิของน้ำใหม่ไม่ทัน ส่งผลให้สัตว์น้ำป่วยและตายได้ 

บางครั้งการเลือกชนิดสัตว์น้ำเพื่อปล่อยทำบุญก็มักถูกละเลยและอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้มีการปล่อยสัตว์น้ำชนิดต่างถิ่นไปเป็นบางส่วน 

ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ เพราะสัตว์น้ำต่างถิ่นอาจก่อให้เกิดการแก่งแย่งที่อาศัยและอาหารกับสัตว์น้ำท้องถิ่น  หรือเป็นพาหะของโรคที่สามารถกระจายไปยังสัตว์น้ำท้องถิ่น หรืออาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมต่อสัตว์น้ำท้องถิ่นได้ 

สัตว์น้ำที่ไม่ควรปล่อยลงแหล่งน้ำโดยเด็ดขาดมีหลายชนิด ได้แก่ 

  • กลุ่มปลาดุก เนื่องจากปลาดุกที่หาซื้อได้ง่าย ส่วนใหญ่เป็นปลาดุกลูกผสม และปลาดุกยักษ์ (ปลาดุกรัสเซีย) ที่ถูกเพาะเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อเป็นอาหารมนุษย์ 
  • กลุ่มสัตว์น้ำสวยงามที่มาจากต่างประเทศ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาทอง ปลาคาร์ป ปลากดเกราะหรือปลาซักเกอร์ 
  • กลุ่มปลาหมอสี เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง ตะพาบน้ำไต้หวัน และกุ้งเครย์ฟิช 

 

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

ปล่อยอะไรดี สายบุญต้องรู้ ปล่อยสัตว์น้ำ ปล่อยปลามีสติ ไม่ทำลายระบบนิเวศ

 

ถ้าหากสัตว์น้ำต่างถิ่นหลุดรอดและเพิ่มจำนวนในแหล่งน้ำ จะส่งผลให้สมดุลของระบบนิเวศสัตว์น้ำพื้นเมืองลดจำนวนลง ซึ่งต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาในการฟื้นฟูแก้ไขมาก ดังนั้นต้องป้องกันไม่ให้มีการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำเป็นดีที่สุด

กรมประมง ย้ำเตือนให้พี่น้องประชาชนร่วมใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเลือกปล่อยสัตว์น้ำตามหลักการที่เหมาะสมและถูกต้อง 

ไม่ควรใช้พันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างเด็ดขาด และขอเชิญชวนให้ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำของไทยที่กรมประมงแนะนำแทนการปล่อยสัตว์น้ำพันธุ์ไทยนี้ 

ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาระบบนิเวศสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น  แต่ยังเป็นการทำบุญที่มีคุณค่า เนื่องจากการปล่อยสัตว์น้ำพันธุ์ไทยนี้ยังช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพให้กับประเทศไทยอีกด้วย 

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง หมายเลขติดต่อ 0 2579 5281 เว็บไซต์  (คลิก)

อ้างอิง : กรมประมง