เคยเห็นไหม นี่ไม่ใช่สัตว์ในตำนาน แต่เป็นเห่าช้าง สัตว์เลื้อยคลานวงค์เหี้ย
เคยเห็นไหม? นี่ไม่ใช่สัตว์ในตำนาน แต่เป็น "เห่าช้าง" สัตว์เลื้อยคลานในวงค์เหี้ย "พบตัวยาก" ชวนมาทำความรู้จักสัตว์ป่าคุ้มครอง มีเอกลักษณ์คือเสียงขู่ศัตรูที่ฟังแล้วคล้ายกับเสียงงูเห่า ขู่ดัง ฟ่อ ๆ
เชื่อเหลือเกินว่าหลายคนคงเพิ่งเคยเห็น.. นี่ไม่ใช่สัตว์ในตำนาน แต่เป็น "เห่าช้าง" สัตว์เลื้อยคลานในวงค์เหี้ย เคยเห็นไหม? "พบตัวยาก" ชวนมาทำความรู้จักสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เอกลักษณ์คือเสียงขู่ศัตรูที่ฟังแล้วคล้ายกับเสียงงูเห่า ขู่ดัง ฟ่อ ๆ
ทำความรู้จัก "เห่าช้าง" สัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์เหี้ย
- เห่าช้าง Rough-neck Monitor
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙑𝙖𝙧𝙖𝙣𝙪𝙨 𝙧𝙪𝙙𝙞𝙘𝙤𝙡𝙡𝙞𝙨
- วงศ์ : 𝗩𝗔𝗥𝗔𝗡𝗜𝗗𝗔𝗘
การคุ้มครองเห่าช้าง ที่มาของชื่อเห่าช้าง ฟ่อ ๆ
เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์เหี้ย ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มาของชื่อเห่าช้างนั้นมาจากเสียงขู่ศัตรูที่ฟังแล้วคล้ายกับเสียงงูเห่า ขู่ดัง ฟ่อ ๆ
ลักษณะเด่นของเห่าช้าง
ลักษณะตัวสีดำเข้ม มีขนาดเล็กกว่าตัวเหี้ย มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลม แผงคอมีเกล็ดหนาแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน
อาหาร กินทั้งสัตว์บก สัตว์นํ้าและสัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา ปู กบ เขียดและหนูเป็นต้น กินทั้งสัตว์สด ๆ และเน่าตายแล้ว
ฤดูผสมพันธุ์ของเห่าช้าง
- ฤดูผสมพันธุ์ ประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม และจะขุดหลุมหรือหาโพรงเป็นที่สำหรับวางไข่ มันจะไม่กกไข่เลย เมื่อออกไข่แล้วแม่จะทิ้งไข่ไปเลย ลูก ๆ เมื่อออกจากไข่แล้วจะหากินเอง
เห่าช้างเจอตัวที่ไหนได้บ้าง?
- ถิ่นอาศัย กระจายตัวอยู่ในภาคใต้ บริเวณที่พบคือต้นไม้ในป่าทึบ ส่วนใหญ่ทำให้พบตัวได้ยาก
อ้างอิง-ภาพ : อุทยานแห่งชาติทะเลบัน , สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช