ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ เดือน 6 วันพระ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ตรงกับวันไหน เดือนพฤษภาคม 2567 เป็นวันหยุดราชการไหม คำถวายดอกไม้ธูปเทียน หลักธรรมคำสอน ไตรลักษณ์ - เข้าวัดทำบุญ "ขั้นตอน - เวลาถวายเพล"

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนชาวพุทธทุกท่านมาเปิด"ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567" วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง "วันพระ" ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 

มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น วันอัฏฐมีบูชาตรงกับวันไหน "เดือนพฤษภาคม 2567" เป็นวันหยุดราชการไหม พร้อมดูคำถวายดอกไม้ธูปเทียน หลักธรรมคำสอน "ไตรลักษณ์" และพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทำบุญต้องทำไง "ขั้นตอน - เวลาถวายเพล" พระสงฆ์รับฉันอาหารได้ถึงกี่โมง?

 

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

 

วันอัฏฐมีบูชา 2567 ตรงกับวันไหน?

  • วันอัฏฐมีบูชา 2567 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันพระ (ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการหรือเอกชน)

ประวัติความเป็นมาวันอัฏฐมีบูชา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเสด็จดับขันธปรินิพพาน 8 วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา 

วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี 

พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่    

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

เหตุการณ์สำคัญ ความสำคัญวันอัฏฐมีบูชา

โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล

พิธีอัฏฐมีบูชา

  • การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น 

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา. 

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ. 

 

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567

หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนให้ยึดถือ แม้แต่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาก็ไม่อาจหนีพ้นไปได้ พระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าก็ถูกเพลิงแผดเผา จนเหลือแต่อัฐิธาตุ

วันอัฏฐมีบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนสูญเสียพระพุทธเจ้าไป สอนให้เราไม่ยึดติดอยู่กับทั้งความสุขและความทุกข์ ไม่มีอะไรคงทนอยู่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเกิดดับอย่างต่อเนื่อง จนเราคิดไปเองว่ามันจะอยู่เช่นนั้นนิจนิรันดร์ และสอนให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ รับรู้ถึงการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่างๆ ที่เราต้องเผชิญหน้าในชีวิต

กิจกรรมวันอัฏฐมีบูชา 2567 ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย 

ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองมีเพียงบางวัดเท่านั้น  เช่น วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ 

ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลึก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี 

กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก
 
นอกจากนี้ยังพบประเพณีการจำลองถวายพระเพลิงอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง คือที่ วัดใหม่สุคนธาราม จัดโดย องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มีการสืบสานประเพณีนี้มายาวนาวกว่า 120 ปี 

ซึ่งถือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในลุ่มน้ำภาคกลาง ที่รักษาประเพณีนี้มายาวนานที่สุด เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวบ้านร่วมกันจัดขบวนแห่เครื่องสักการะ ตะไล บั้งไฟ มาจุดเพื่อเป็นพุทธสักการะ 

และมีขบวนพุทธประวัติ จำลองหลักธรรมคำสอน ก่อนที่จะมีพิธีการจำลองการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งมีประชาชนในชุมชนและทั่วไปแห่แหนกันมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

แนวทางปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน วันอัฏฐมีบูชา 2567 

  • ให้ทาน ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรในช่วงเช้าหรือเพล บริจาคทรัพย์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ ผู้ยากไร้ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
  • รักษาศีล สำรวมกายและวาจาด้วยการรักษาศีล 5 หรือศีล 8 พร้อมทั้งบำเพ็ญเบญจธรรมสนับสนุน
  • เจริญจิตภาวนา บำเพ็ญจิตภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์
  • เวียนเทียน การเวียนเทียนเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ในการนี้ควรแต่งกายให้สุภาพเพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย

 

ประวัติวันอัฏฐมีบูชา 2567 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า แรม 8 ค่ำ

 

เข้าวัดต้องปฏิบัติตนอย่างไร? ขั้นตอนและเวลาถวายเพลวันอัฏฐมีบูชา 2567 พระสงฆ์รับฉันอาหารได้ถึงกี่โมง?

เนื่องใน วันอัฏฐมีบูชา 2567 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เป็นวันพระ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ชาวพุทธมักจะใช้ช่วงเวลาตอนเช้าเข้าวัดทำบุญกันกับครอบครัวภายในวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่ตามแต่ละบุคคลสะดวก ตามที่ศรัทธา

เข้าวัดทำบุญต้องปฏิบัติตนอย่างไรในวันอัฏฐมีบูชา 2567

  • ช่วงเช้าพระภิกษุจะออกบิณฑบาตตามกิจของสงฆ์
  • พระภิกษุจะฉันภัตตาหารเช้า ระหว่างเวลา 07.00 - 08.00 น.
  • พระภิกษุฉันภัตตาหารเพล อาหารกลางวัน ระหว่างเวลา 11.00 - 12.00 น. โดยกิจของสงฆ์จะฉันอาหารในเวลาล่วงเลยเกินเที่ยงไม่ได้

อ้างอิง : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , กระทรวงวัฒนธรรม , หนังสือวันอัฏฐมีบูชา สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๔๗ หน้า ๔–๘ , นางสาวกัลยรัตน์ สุนทรชัยนุกุล ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ