ติงวีดีโอเพลง'เที่ยวไทยมีเฮ'ทำลายวัฒนธรรม
ศิลปินแห่งชาติ ติงวีดีโอเพลง "เที่ยวไทยมีเฮ" ทำลายวัฒนธรรม
มิวสิควีดีโอเพลง “เที่ยวไทยมีเฮ” ที่บริษัทเอกชนแห่งให้ “อ๊อด บัณฑิต ทองดี” จัดทำมิวสิควีดีโอ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย มี “เก่ง ธชย” และ “ฟิล์ม บงกช” ขับร้องและร่วมแสดงนำโดยใน MV และมีการแต่งชุดโขน แสดงเป็นตัวละครจากวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์ ทั้ง ทศกัณฑ์ นางสีดา และเหล่ายักษ์ พร้อมตระเวนเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ของประเทศไทย เผยแพร่ให้ได้ชมกันเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมาปรากฏว่ามีวิพากวิจารย์ในโลกโชเชียลถึงความเหมาะสมของ MV ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรมชาติ และมองว่าเป็นเรื่องศิลป์ที่สามารถจะแสดงออกได้
ล่าสุด ครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ 2552 สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์โขน (ยักษ์) และศิลปินคึกฤทธิ์ 2553 ซึ่งเป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึกหัด
เยาวชนตามขั้นตอนและจารีตของโขนทุกวันอาทิตย์ ที่สถาบันคึกฤทธิ์ กล่าวว่าการแสดงโขนเป็นศิลปะขั้นสูงที่ลึกซึ้งการแสดงทุกครั้งต้องเป็นไปตามขั้นตอนและจารีตของโขน การนำมาทำ MV ด้วยท่าเต้น สถานที่ไปแสดง ที่ไม่ถูกต้องถือว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรม
“การแสดงโขนต้องทำในสถานที่เหมาะสมอย่างเช่น โรงละครแห่งชาติ ในราชสำนัก มีพีธิีตามจารีตของโขนที่ต้องปฏิบัติก่อนการแสดงทุกครั้ง มีการครอบครูมีครูบาอาจารย์ จุดธูปจุดเทียนก่อนการแสดง ขออนุญาติหากว่ามีการแสดงใดๆบกพร่องไม่ถูกต้องก๋็ขออภัย หากว่าจะเกิดขึ้นโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือท่าทางใดๆที่เกิดจากสถานการณ์ที่ไม่ควรด้วยประการทั้งปวง ไม่ใช่ใครจะเอาไปทำอย่างไร สถานที่แบบไหน อย่างไรก็ได้ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ถ้าจะทำเพื่อการท่องเที่ยวก็ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของชาติไปด้วยถึงจะถูกต้อง ” ศิลปินแห่งชาติ 2552 สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์โขน (ยักษ์) กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้านี้ น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เห็น MV ดังกล่าว และส่งข้อมูลให้กับศูนย์เฝ้าระวังวัฒนธรรม นำเสนอนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับทราบข้อมูลแล้วว่าจะมี MV ดังกล่าวออกมาและมีข้อห่วงใยดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และสถาบันพัฒนศิลป์ ให้ไปหารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กย.ที่ผ่านมา โดยมีข้อหารือร่วมกันกับผู้กำกับว่า จะมีการตัดต่อ MV ดังกล่าวใหม่โดยตัดเนื้อหาส่วนที่ห่วงใยออก และแจ้งให้น.ส.ลัดดา ทราบในวันที่้ 27 กย.
ครูจตุพร กล่าวเสริมว่า อยากจะฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องด้วย จะเป็นการดียิ่งก่อนที่ MV จะเผยแพร่ไปในวงกว้างกว่านี้ อย่างไรก็ตามเรื่องกล่าว.ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในวันที่ 22 กย.นี้เวลา 10.00 น.ที่กระทรวงวัฒนธรรมเช่นกัน ส่วนนายวีระ อยู่ระหว่างการไปราชการที่ประเทศจีน
ปัจจุบันครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์-โขน(ยักษ์))เป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึกหัดให้เป็นไปตามขั้นตอนและจารีตของโขนที่สถาบันคึกฤทธิ์ ตั้งอยู่ที่ 99/9 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เปิดเป็นศูนย์ศิลปการแสดง เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งได้รับความกรุณาจาก ครูจตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์-โขน(ยักษ์))เป็นผู้ดูแลควบคุมการฝึกหัดให้เป็นไปตามขั้นตอนและจารีตของโขน
โดยมีครูผู้ใหญ่ และคณะครูจากวิทยาลัยนาฏศิลป เป็นผู้ฝึกสอน อาทิครูประสิทธิ์ปิ่นแก้ว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์-โขน(ลิง))ครูทัศนีย์ขุนทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์(ขับร้อง))ซึ่งครูทั้ง ๓ ท่านเป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลศิลปินคึกฤทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้นนอกจากนี้แล้วยังมีศิลปินชั้นครูจากสาขาต่างๆ รวมจำนวน 30 คนมาสอนที่ศูนย์ศิลปะการแสดงสถาบันคึกฤทธิ์ด้วยเปิดโอกาสให้เยาวชนฟรีรับสมัครในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเปิดให้เข้ามชม วันอังคาร –วันเสาร์ ตั้งแต่ เวลา 10.00 -16.00 น. สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-286 -5385-6 และ เว็บไซต์ www.kukrit-pramoj.org
สำหรับครูจตุพร รัตนวราหะ(ต้อย) เกิดวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ปัจจุบันอายุ 80 ปี เป็นศิลปินกรมศิลปากร ผู้ได้รับพระราชทานครอบและรับมอบกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ,ได้กราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯและ มีผลงานการแสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ บทยักษ์ใหญ่ทศกัณฐ์เป็นบทที่อยู่ในความทรงจำของคนรักโขนกรมศิลปากรมานานกว่า 40 ปี เป็นผู้ร่วมงานเคียงข้าง ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการก่อตั้งและสร้างสรรค์โขนธรรมศาสตร์เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงของรัฐ
นอกจากนี้มีผลงานโดดเด่นอื่นๆทางด้านโขนและละครทั้งด้านการเป็นศิลปินผู้แสดง เป็นผู้สอน ผู้เผยแพร่ทั้งทางด้านปฏิบัติและทฤษฎี ปัจจุบันแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังทำงานด้านการเผยแพร่ศิลปการแสดงอยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช 2552
เริ่มฝึกหัดเป็นตัวยักษ์ กับนายยอแสง ภักดีเทวา และนายอร่าม อินทรนัฎ เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศชม ณ โรงละครศิลปากร โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และไปเผยแพร่ผลงานทางด้านการแสดงในต่างประเทศหลายครั้ง
ผลงานด้านการแสดงโขน เริ่มการแสดงและการสอนในราชการกรมศิลปากรแสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ไมยราพ เสนายักษ์ ม้าอุปการ เป็นต้นเป็นผู้สอน นาฏศิลปินโขนยักษ์ ใหญ่การแสดงและการสอนร่วมกับ ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ส่วนผลงานทางด้านวิชาการคู่มือการฝึกหัดโขนเบื้องต้นรามายณะของอินโดนีเซีย แปลหนังสือเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งอธิบายเพลงหน้าพาทย์ในมุมมองของผู้แสดงโขนไว้อย่างชัดเจน และเป็นก้าวแรกที่เชื่อมโยงความรู้ดนตรีไทยและนาฏศิลป์โขน ปัจจุบันใช้เป็นตำราอ้างอิงในวงการศึกษารามเกียรติ์ ร้อยแก้ว เขียนลงในวารสารวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยทุกเดือนละครพูดเรื่อง"เล็กโพธิ์ดำวีซีดี บันทึกการแสดงเรื่องจุดเด่นของทศกัณฐ์ รำลงสรงชมตลาด ฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน, ฉุยฉายหนุมานแปลง , เกี้ยวนาง นางลอย, ชูกล่องดวงใจ แจกในงานครบ 6 รอบ วันที่ 9 ธันวาคม 2551
นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรเคยเขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาความรู้รอบตัวในทางศิลปะ และโปรดให้ขอครูโขนผู้ชำนาญในบทพระยาวานรจากกรมศิลปากรไปกราบทูลสอนถวายแด่สมเด็จพระบรมฯซึ่งทางกรมศิลปากรได้จัดให้ จ่าเร่งงานรัดรุด ( เฉลิม รุทระวณิช ) ครูผู้ชำนาญในบทพระยาวานร ไปกราบทูลสอนถวายให้ทรงฝึกหัดบทพระยาวานรตามพระราชประสงค์ต่อมาได้มีเจ้านายบางพระองค์กราบบังคมทูลพระดำริถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงฝึกบทพระยายักษ์ เพราะมีลีลาท่าทางเป็นสง่ามีทีท้าวทีพระยา ไม่หลุกหลิกแบบพระยาวานรทางกรมศิลปากร จึงจัดให้ นาย จตุพร รัตนวราหะ ครูโขนยักษ์ไปกราบทูลสอนโขนถวาย โดยได้ฝึกการแสดงเป็นวิรุญจำบัง