‘ย่าโม’ วีรสตรีที่อยู่ในใจชาวโคราช
รู้จักประวัติ และวีรกรรมของ "ท้าวสุรนารี" สตรีผู้ที่เป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวโคราช และคนไทย กับแลนด์มาร์กการท่องเที่ยวที่หากใครไม่ได้มาที่อนุเสาวรีย์ย่าโมก็เหมือนมาไม่ถึงโคราช
ใครที่ผ่านมาโคราช หรือ จ.นครวาชสีมา หากไม่ได้มาเยี่ยมชม อนุสาวรีย์ ย่าโม หรือ "ท้าวสุรนารี" ตั้งอยู่ที่ประตูชุมพล อาจเรียกได้ว่ายังมาไม่ถึงโคราช
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ของชาวโคราช ตั้งเด่นตระหง่านอยู่กลางตัวเมือง หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 หนัก 325 กิโลกรัม เป็นรูปท้าวสุรนารีตัดผมทรงดอกกระทุ่มถอนไร แต่งกายด้วยเครื่องยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นุ่งผ้าจีบยกทองคาดเข็มขัด ห่มสไบเฉียงบ่า สวมตุ้มหู สวมตะกรุดพิสมรมงคล 3 สายทับสไบ นิ้งก้อยนิ้วนางทั้งสอง สวมแหวนนิ้วละวง มือขวากุมดาบ ด้ามดาบจำหลักลายสอดอยู่ในฟักจำหลักลาย ปลายจรดพื้น มือเท้าสะเอวหันหน้าเฉียงซ้ายเล็กน้อย ก้มหน้าหน่อยๆ มาทางทิศตะวันตก ทางกรุงเทพมหานคร ว่ากันว่าเพื่อแสดงความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สิ่งที่ทำให้ย่าโมเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนมาจนถึงวันนี้ก็คือวีรกรรมของท่านที่ถือเป็นการแสดงออกถึงความรักชาติ
ย่าโมเป็นคนโคราช เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2314 ถึงจะเกิดเป็นหญิง มีกิริยามารยาทอ่อนหวาน แต่ก็ซุกซนด้วย ชอบเล่นฟันดาบ กระบี่ กระบอง มาตั้งแต่เด็ก
โตเป็นสาว ก็ได้ออกเรือนกับปลัดทองคำ หรือพระยาสุรเดชาเดชฤทธิทศทิศวิชัย ต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศหลายอย่าง จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัว เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร แต่ระหว่างทางได้มาทำศึกที่โคราชก่อน ตอนนั้นที่ นครราชสีมา พระยาปลัดทองคำสามีของย่าโมและเจ้าเมืองไม่อยู่ ไปราชการที่เขมร ย่าโมอยู่ที่เมืองโคราชก็ได้รวบรวมไพล่พลรบกับเจ้าอนุวงศ์เป็นสามารถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงแต่งตั้งย่าโมให้เป็น ท้าวสุรนารี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านย่าโมได้ถึงแกอสัญกรรมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) เมื่อวันที่ 5 ปีชวด จศ.1214 (เมษายน 2395) ตอนนี้อัฐิของท่านย้ายมาบรรจุไว้ในฐานรอบรับใหม่ ณ หน้าประตูชุมพล จนถึงทุกวันนี้
เมื่อถึงเดือน มีนาคม ของทุกปีชาวโคราชจะจัดงานฉลองท้าวสุรนารีเป็นการลำรึกถึงวีรกรรมของท่านตลอดมา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ท้าพิสูจน์ 'ลานหินร้องไห้' แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เมืองโคราช