‘ยื่นภาษีออนไลน์ 2564’ ยื่นด้วยตนเอง ต้องเตรียมและทำอะไรบ้าง?

‘ยื่นภาษีออนไลน์ 2564’ ยื่นด้วยตนเอง ต้องเตรียมและทำอะไรบ้าง?

“ยื่นภาษีออนไลน์ 2564” ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่จะนิยม “ยื่นภาษีออนไลน์” มากกว่าเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร เนื่องจากสะดวกสบายและง่ายนิดเดียว

"ยื่นภาษีออนไลน์ 2564" สามารถยื่นเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการ "ยื่นภาษีออนไลน์" ในปี 2564 สามารถยื่นได้ถึง 30 มิถุนายน 2564 นี้

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน

  • ...90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
  • ...91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

  • เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ข้อมูลที่ต้องใช้ยื่นภาษีเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด หากคุณรับรายได้จากบริษัททางเดียว สามารถใช้ใบทวิ 50 แต่หากมีรายได้หลายช่องทาง ก็ต้องเตรียมเอกสารแสดงการหักภาษีของหน่วยงานที่จ้างคุณไว้ด้วยนะคะ

ขั้นตอนยื่นภาษี ปีภาษี 2563 ผ่านออนไลน์ด้วยตนเองนั้น มี 10 ขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th

2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนต้องลงทะเบียนยื่นภาษีก่อน)

3. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่หน้า แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563 หากข้อมูลถูกต้องให้กดทำรายการต่อไป

4. เลือกสถานะจัดการชีวิต

5. เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี                                                               

  • หากเป็นมนุษย์เงินเดือนให้เลือกมาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง            
  • ส่วนเงินที่ได้รับยกเว้นหรือค่าลดหย่อน มีให้เลือกทั้งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF หรืออุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป                              
  • ตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อยแล้วกดทำรายการต่อไป

6. กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่างๆ โดยเอามาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ กรอกในช่อง “บันทึกจำนวนเงินที่สะสมตลอดปี” ที่สำคัญต้องไม่ลืมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ส่วนคนที่เปลี่ยนงานหรือออกจากงานระหว่างปีให้ติดตามขอเอกสารของที่ทำงานเก่าและที่ทำงานใหม่เพื่อนำมายื่นรวมกันด้วย

7. บันทึกรายการค่าลดหย่อนที่เรามี กรอกใส่ทั้งหมด

8. ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ

9. หากข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการยืนยันเพื่อยื่นแบบภาษี

10. กดยืนยันการจ่ายเงินหรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด

ขอบคุณภาพ Nataliya Vaitkevich - Pexels