‘3 สมุนไพร’ เพิ่มพลัง ‘ต้านโควิด-19’
สถาบันสุขภาพ “นิวทริไลท์” และ “รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน” ชวนเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย “3 สมุนไพร” ที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันร่างกายและช่วย “ต้านโควิด-19”
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถาบันสุขภาพ นิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) ชวนทุกคนป้องกันตัวเองแต่เนิ่น ๆ ด้วยการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้เป็นเสมือนเกราะป้องกันร่างกาย ด้วย 3 สมุนไพร ที่ทุกคนรู้จัก จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะนำสรรพคุณสำคัญของสมุนไพรเหล่านี้มาเสริมภูมิให้ร่างกาย
จากข้อมูลข้อ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน อธิบายว่า ระบบภูมิคุ้มกัน คือกลไกที่ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย สารพิษ สารก่อภูมิแพ้ เราเรียกรวมกันว่า แอนติเจน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “เชื้อโรค” ระบบภูมิคุ้มกันเปรียบเสมือนโล่ ทำหน้าที่ป้องกัน ดักจับ และทำลายเชื้อโรค เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคจากการสัมผัส กิน หรือหายใจ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดโรค ซึ่งความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวขึ้นกับประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแต่ละคน ระบบภูมิคุ้มกันจึงมีความสำคัญมาก
ในภูมิปัญญาตะวันออกและตะวันตก ระบุว่ามีการศึกษาใช้พืชสมุนไพรที่มีสารอาหารสำคัญในการป้องกันโรค เสริมภูมิคุ้มกัน ขอแนะนำ 3 สมุนไพร ที่คอยดูแลระบบภูมิคุ้มกันและช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ดังนี้
ขมิ้นชัน (Turmeric) อุดมไปด้วยสารเคอร์คิวมิน มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงขมิ้นชัน ในฐานะสมุนไพรที่ใช้เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันและบรรเทาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น พบว่ามีคุณสมบัติยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ได้ ขมิ้นชันจึงมีคุณสมบัติป้องกันและ บรรเทาอาการจากการติดเชื้อไวรัส ที่ก่อโรคโควิด-19 ได้ (จากการศึกษาของ Zahedipour F และคณะ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Phytother Res ค.ศ.2020)
นอกจากนี้ยังพบว่ามีคุณสมบัติในการเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น ต้านไวรัส ต้านการอักเสบภายในเซลล์ ระงับปวด ลดไข้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค มีการนำเอาสารสกัดขมิ้นชันไปใช้ในการบรรเทาและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและจุลชีพ และฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ (จากการศึกษาของ Babaei F และคณะตีพิมพ์ในวารสาร Food Sci Nutr ค.ศ. 2020)
ข้อมูลด้านอาหาร : ขมิ้นชัน คือ “ขมิ้นแกง” ที่ใช้ในอาหารใต้ และอาหารอินเดีย ชาวภารตะเรียกขมิ้นในภาษาสันสกฤตว่า Haldi เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศคู่ครัว ช่วยเพิ่มสี ปรุงกลิ่น รส และดับคาว ส่วนใหญ่ในอาหารไทยใช้ในรูปขมิ้นสดฝานเป็นแว่น หรือสับละเอียด ผสมกระเทียม พริกไทย หมักกับปลาหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทอดหรือนึ่ง หรือหุงกับข้าวให้สีเหลืองสวยและมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ จนถึงใส่ในเครื่องแกง ชาวอินเดียมักใช้ขมิ้นผงปรุงอาหารและผสมทำเครื่องดื่ม นอกจากทำให้ได้สีสวยและกลิ่นแรงแล้วยังเชื่อว่าขมิ้นมีสรรพคุณช่วยล้างพิษ เช่น แกงข่าแบบอินเดียใส่ขมิ้นผง ไก่ทิกก้า พาราธาและนานผสมขมิ้น มันฝรั่งต้มแล้วอบใส่ผงขมิ้น และเครื่องเทศชนิดอื่น ๆ เครื่องดื่มจากใบมิ้นต์ผสมน้ำมะม่วงและขมิ้นผง ไอศกรีมนมขมิ้น Kulfi ส่วนผสมคือนม น้ำตาล ขมิ้นผง เครื่องดื่มปั่นอีกหลายประเภทจนถึงชา
หรือปั่นจะได้น้ำผักหรือผลไม้มีส่วนผสมและกลิ่นที่พิเศษของขมิ้น เนื่องจากสรรพคุณอันหลากหลายของขมิ้น องค์การเภสัชกรรมยกให้ ขมิ้นชัน เป็น มหัศจรรย์สมุนไพร บรรจุเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ชะเอมเทศ (Licorice) อุดมด้วยสารกลีเซอไรซิกแอซิด มีคุณสมบัติเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ รายงานวิจัยจำนวนมากพบว่า สารสกัดจากชะเอมเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันโรค ได้ทดลองรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พบว่า มีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (จากการศึกษาของ Omid Safa และคณะตีพิมพ์ในวารสาร Trials ค.ศ. 2020)
นอกจากนี้ยังพบว่า ชะเอมเทศ ช่วยยับยั้งการจับของเชื้อเพื่อเข้าสู่เซลล์ เป็นผลให้เชื้อไม่สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ปอดได้ จึงช่วยยับยั้งการอักเสบ ทำให้ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสลดลง (จากการศึกษาของ Harald Murck ตีพิมพ์ในวารสาร Front Immunol ค.ศ. 2020)
ข้อมูลด้านอาหารและการใช้ทำยา : ชาวจีนยกย่องชะเอมเทศว่าเป็นยอดสมุนไพรช่วยขจัดพิษ เมื่อบริโภคในปริมาณน้อยจะช่วยกำจัดพิษที่สะสมในร่างกาย โดยเฉพาะพิษที่สะสมในเลือดและตับ สาร Glycyrrhizin ในชะเอมเทศให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 50-100 เท่า จึงนำมาใช้แต่งรสชาติอาหาร โดยใช้รากชะเอมเทศที่มีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เช่น ใส่ในขนมและลูกอม ปรุงในตัวยา และนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ช่วยลดความเข้มของเม็ดสี ลดฝ้ากระ ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้น ยังมีสรรพคุณให้ความชุ่มชื้นกับลำคอและกล่องเสียง จึงมีผู้ผลิตลูกอมหรือยาอมแก้เจ็บคอ ชะเอมเทศมักใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ ลูกกวาด ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ทำซอสราดขนมเค้ก ทำคัพเค้กและไอศกรีม
อะเซโรลา เชอร์รี (Acerola Cherry) อุดมด้วยวิตามินซี จัดเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงมากที่สุดชนิดหนึ่ง ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ จึงทำให้การป้องกันและรักษาโรคดีขึ้น นอกจากนี้ พบว่าวิตามินซียังช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดการติดเชื้อจากไวรัส ป้องกันหวัดและโรคทางเดินหายใจอีกด้วย (จากการวิจัยของ Bianncatelli RMLC และคณะ ตีพิมพ์ผลงานในวารสาร Front Immunol ค.ศ. 2020)
ยังพบว่าเมื่อมีการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ วิตามินซีจากแหล่งธรรมชาติ เช่น อะเซโรลา เชอร์รี สารเคอร์คิวมินจากขมิ้นชัน และสารกลีเซอไรซิกแอซิดจากชะเอมเทศ มีคุณสมบัติที่ดีในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีอีกด้วย (Chen L และคณะตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ค.ศ. 2020)
ภูมิคุ้มกันร่างกายมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ พันธุกรรม หากพ่อแม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ลูกย่อมได้รับระบบภูมิคุ้มกันที่ดีเช่นกัน อีกปัจจัยคือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพร่างกายที่เราสร้างได้ด้วยการกินอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เสพสารเสพติด ไม่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ พักผ่อนเพียงพอ พาร่างกายให้ปลอดความเครียด และอย่าลืมเสริมสารอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมรับมือ กับโรคร้ายรอบตัวคุณเสมอ
ข้อมูลด้านอาหารและยา : สารสกัดจาก อะเซโรลา เชอร์รี่ กำลังมาแรงในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลเล็ก ๆ สีแดงสด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เอธิโอเปีย มาดัสการ์ ไต้หวัน อินเดีย หมู่เกาะชวา ฮาวาย และออสเตรเลีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น เชอร์รี่บาร์เบโดส, เชอร์รี่อินเดียตะวันตก, เชอร์รี่สเปน มีรสคล้ายเชอร์รี่ นิยมเอามาทำแยม ทำขนมอบ ไอศกรีม เยลลี่ และน้ำผลไม้ มีวิตามินซีเข้มข้นและสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณหลากหลาย เช่น ต้านมะเร็ง ป้องกันเบาหวาน เพิ่มภูมิคุ้มกัน บำรุงหัวใจ ช่วยลดริ้วรอย และช่วยย่อยอาหาร
วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยิ่งช่วงนี้ต้องการภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหวัดและต้านโควิด-19 จึงควรเสริมด้วยวิตามินซี ซึ่งมีมากในผักผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูล ส้มและมะนาว ลิ้นจี่ ฝรั่ง กีวี มะละกอ แบล็คเคอร์แรนท์ ในผักเช่น บร็อกโคลี่ พริกยักษ์ โรสฮิพ ผักเคล กะหล่ำดาว พาร์สลีย์ มันฝรั่ง ฯลฯ เนื่องจากวิตามินซีละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถเก็บไว้ได้ในร่างกาย เราจึงต้องได้รับวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน คนอายุ 9-64 ปี ควรได้รับวิตามินซี อย่างน้อยวันละ 40 มิลลิกรัม แต่ไม่ควรเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม
ดังนั้น การกินผักและผลไม้สดช่วยเพิ่มวิตามินซีและสารต้านอนมูลอิสระ กินเป็นประจำทุกวันทุกมื้อ ให้ในจานอาหารมีผักหรือเสริมด้วยผลไม้สด (ที่ไม่หวานมาก) เป็นของหวานหลังอาหาร กินให้หลากหลายก็เป็นอีกหนทางหนึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เป็นเกราะป้องกันไวรัส