'ผัดฉ่า' กับ ‘กระชาย’ ราชาสมุนไพรต้านไวรัส
ผักสมุนไพรที่ทุกบ้านรู้จัก “กระชาย” เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องแกง หรือจะผัด ต้ม ยำ ทำน้ำพริก ก็อร่อย...ตอนนี้ “น้ำกระชายปั่น” ก็กำลังดัง กินดีเสริมภูมิต้านทาน
เมื่อกลางปีที่แล้ว คณะนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้ร่วมกันวิจัยพบว่า สารสกัดกระชายขาว มีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้ในหลอดทดลอง และอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมในด้านความปลอดภัย ปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค และข้อบ่งชี้การใช้ในมนุษย์ในการต้านโรคโควิด-19 อย่างเหมาะสม (ติดตามความคืบหน้าได้ที่เว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล) ดังนั้น ผู้ที่รับข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผสมสารสกัดกระชาย, คาวพลู, ขมิ้นชัน หรือสารสกัดสมุนไพรอื่น ๆ ว่ามีสรรพคุณต้านไวรัส จึงควรใช้วิจารณญาณตรวจสอบหรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ดี กระชายขาว เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลาย จาก ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบุว่า กระชายมีประโยชน์ทางยาเช่น เหง้า : มีรสเผ็ดร้อนขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไอ แก้ปวดมวลในท้อง รักษาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ใช้ภายนอกรักษาโรคกลากเกลื้อน ราก : มีรสเผ็ดร้อนขม สรรพคุณคล้ายโสม บำรุงความรู้สึกทางเพศ ใบ : มีรสร้อนเฝื่อน แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ ถอนพิษต่าง ๆ
กระชาย (Fingerroot, Chinese ginger, Chinese key) เป็นพืชวงศ์เดียวกับขิง ถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เติบโตดีในป่าฝนเขตร้อน มี 3 ชนิด คือ กระชายขาว (หรือกระชายเหลือง) กระชายแดง และกระชายดำ ที่ครัวไทยใช้ประกอบอาหารคือ กระชายขาว มีฉายาว่า ราชาแห่งสมุนไพร บ้างบอกว่าเป็น โสมไทย และเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารไทยหลายอย่าง ตอนนี้ชาวไทยก็นิยมทำ น้ำกระชายปั่น เชื่อว่าดื่มแล้วบำรุงสุขภาพ ช่วยเพิ่มความสดชื่น บางคนบอกว่าทำให้เส้นผมแข็งแรง ลดปัญหาผมหงอกผมร่วง น้ำกระชายผสมน้ำผึ้งนิดน้ำมะนาว ช่วยให้รสชาติดีขึ้น บางสูตรผสมกระชายดำและกระชายแดงลงไปด้วย วิธีทำแสนง่ายคือ ล้างให้สะอาดตัดหัวท้ายออก ขูดเปลือกออกบ้างแล้วหั่นเป็นท่อน ๆ ลงปั่นกับน้ำต้มสุก ปั่นแล้วกรองให้เหลือแต่น้ำด้วยผ้าขาวบาง และปรุงรสหวานเปรี้ยวตามชอบ
ข้อควรระวัง ไม่ควรบริโภคกระชายมากเกินไป กินแต่พอดี ๆ บำรุงสุขภาพ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน กินมากไปอาจร้อนใน และฤทธิ์ในกระชายมีผลต่อการทำงานของตับ ผู้มีปัญหาเรื่องตับควรบริโภคแต่น้อย
กระชาย ขาดไม่ได้ในเครื่องแกง ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา โดยเฉพาะแกงที่ใส่ปลาไหล ปลาดุก ฯลฯ และให้กลิ่นหอมน่ารับประทาน ถ้าถามคนใต้จะบอกว่าเครื่องแกงส่วนใหญ่ใช้ขมิ้นมากกว่ากระชาย ส่วนคนภาคเหนือและภาคกลางมีกระชายอยู่คู่ครัว เมนูยอดนิยมคือ ผัดฉ่า ใส่สมุนไพรเต็มจาน ขึ้นชื่อว่า “ผัดฉ่า” ต้องมีกระชายซอย กระเทียม พริกชี้ฟ้าเหลือง, แดง พริกขี้หนู พริกไทยสด ใบกะเพราหรือใบโหระพา ใบมะกรูดฉีก จะผัดด้วยปลา อาหารทะเล หรือเนื้อได้ทุกชนิด หรือจะผัดเผ็ด ผัดพริกแกง ทำน้ำพริกกระชาย แกงคั่ว แกงป่า แกงเขียวหวานปลาดุกใส่กระชาย ขนมจีนน้ำยาป่า น้ำยากะทิ ประเภทต้มปลาน้ำใสก็ต้องใส่กระชาย สูตรแกงเลียงโบราณใส่กระชาย เป็นต้น
สำหรับคน Work from Home จนไม่มีเวลาเข้าครัว ร้าน อร่อยดี ร้านอาหารจานด่วน แนะนำเมนูจาก กระชายขาว ปรุงด้วยกระชายและสมุนไพรหลากหลาย จัดเซตให้พร้อม เช่น ข้าวผัดฉ่าไก่กระชายขาว + ไข่ต้ม ราคา 69 บาท / ข้าวผัดฉ่าหอยลายกระชายขาว + ไข่ต้ม 79.- / ข้าวผัดฉ่าไก่คาราเกะ + ไข่ต้ม 79.- / ข้าวผัดฉ่าไข่ปลาหมึกกระชายขาว + ไข่ต้ม 89.- / ข้าวผัดฉ่ายกทะเลขึ้นบกกระชายขาว + ไข่ต้ม 89.-
ช่วงนี้จัดโปรโมชั่นเฉพาะสั่งผ่าน Delivery (วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2564) ได้แก่ ชุดผัดฉ่า 1 : ข้าวผัดฉ่าไก่กระชายขาว + ไข่ต้ม + ข้าวผัดฉ่าไข่ปลาหมึกกระชายขาว + ไข่ต้ม ราคา 159.- / ชุดผัดฉ่า 2 : ข้าวหฤโหดโคตรกะเพราหมูสับ + ข้าวผัดฉ่ายกทะเลขึ้นบกกระชายขาว + ไข่ต้ม ราคา 159.-
สั่งผ่านแอพพลิเคชั่น เดลิเวอรี่ ได้แก่ Grabfood, Gojek, Lineman, Foodpanda, Robinhood, Truefood หรือดาวน์โหลดแอพฯ FOODHUNT คลิก : http://onelink.to/d5x7ma หรือ www.foodhunt.com หรือ Call Center : 1312