เช็คปัญหา 'ขยะ' ทางทะเล เนื่องใน 'วันมหาสมุทรโลก' 8 มิถุนายน
เนื่องในวัน "วันมหาสมุทรโลก" ที่ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี ชวนคนเมืองมาเช็คปัญหา 'ขยะ' ทางทะเลกันอีกครั้ง ว่าจนถึงวันนี้ลุกลามไปมากแค่ไหน?
รู้หรือไม่? ปัญหา "ขยะ" ทางทะเล หลักๆ แล้วเกิดจากการขยายตัวของ "เศรษฐกิจ" ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของประชากร ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ขยะในทะเลโลกเพิ่มมากขึ้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
1. เศรษฐกิจเติบโต = ประชากรเพิ่ม = ขยะเพิ่ม
การที่เศรษฐกิจเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เมืองขยายตัว ประชากรขยายตัว ปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดขยะมูลฝอยจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่เมืองหลวงที่แออัด หรือหัวเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาขยะ มักจะโผล่มาให้เห็นเป็นเงาตามตัว
2. ส่องปัจจัยที่ทำให้ "ขยะ" กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เผยว่า ที่ผ่านมาเก็บขยะได้เฉลี่ยวันละ 9,717.91 ตัน โดยริมาณขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น
- การเพิ่มขึ้นของจำนวนครัวเรือน
- การขยายตัวของสังคมเมือง
- ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของประชาชนในวิถีชีวิต New Normal เนื่องจากมีการสั่งอาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมาบริโภคมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวทำให้ กทม. ต้องมีการบริหารจัดการขยะชุมชนที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. ปัญหา "ขยะ" ต้องมีแผนการจัดการ
หลายฝ่ายกำลังเร่งแก้ไขปัญหาขยะ ที่มีแนวโน้มปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหา "ขยะทางทะเล" ที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในประเทศไทยแม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ขยายตัวมากนักในช่วงโควิด-19 แต่ปัญหา "ขยะ" ในทะเล ยังเป็นสิ่งที่คนไทยต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาขยะอื่นๆ ด้วย
โดยเฉพาะพื้นที่เมืองใหญ่อย่าง กทม. ที่กำลังเปิด "แผนการจัดการขยะ" เพื่อรับมือให้ทันการเติบโตของเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้มีการเปิดฃเผยแผนจัดการขยะ ลดฝังกลบเหลือร้อยละ 30 ในปี 2566 นำเทคโนโลยีใหม่มาบริหารขยะ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่ม
4. ส่องวิธีจัดการ "ขยะ" ของ กทม.
ทาง กทม. ได้พยายามศึกษาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการขยะ โดยการแปรรูปขยะเป็นพลังงานหรือนำขยะมาใช้ประโยชน์ เช่น
- การนำขยะไปหมักทำเป็นปุ๋ย
- การกำจัดขยะโดยใช้ความร้อนสูงด้วยระบบเตาเผาขยะ แล้วนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งวิธีที่ 2 นั้นมีข้อดีมากว่าวิธีที่ 1 เพราะไม่เพียงแต่จะเพิ่มปริมาณการกำจัดขยะได้แล้ว ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีสะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพฯ ซึ่งมีเป้าหมายลดสัดส่วนการฝังกลบขยะให้เหลือ 30% ในปี 2566 จากปัจจุบันซึ่งยังมีสัดส่วนสูงถึง 80%
ที่มา : springnews