ข้อปฏิบัติสำหรับ 'ผู้สูงอายุ' เพื่อเตรียมตัว ‘ฉีดวัคซีน’
"ผู้สูงอายุ" ก่อนจะ “ฉีดวัคซีน” ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยหลักโภชนาการ และการออกกำลังกาย เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรงจะมีส่วนช่วยส่งเสริม “ประสิทธิภาพของวัคซีน”
หลักการง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้เพื่อเตรียมตัว ฉีดวัคซีน ป้องกัน โควิด-19 เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ จะมีส่วนช่วยส่งเสริม ประสิทธิภาพของวัคซีน โดยเฉพาะใน ผู้สูงอายุ (และคนทุกวัย) ซึ่งเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เริ่มตั้งแต่
1) กินดี : โภชนาการที่ดีคือหนึ่งในหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่ง สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น วิตามินซี สังกะสี วิตามินดี วิตามินเอ และวิตามินอี จะช่วย ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้รับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส หรือการได้รับวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่เรามีอายุเพิ่มขึ้น ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ภูมิต้านทานลดลง เราจึงควรหันมาใส่ใจด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงวัยของชีวิต
นายแพทย์ไมเคิล หวัง ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ กลุ่มงานธุรกิจโภชนาการของ แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส ให้ข้อมูลว่า
“โภชนาการที่ดีคือพื้นฐานของการมีสุขภาพที่แข็งแรง และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และการคงความแข็งแรงของร่างกาย รวมทั้งมีส่วนช่วยในการปกป้องโรคและการฟื้นตัวของร่างกายจากความเจ็บป่วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ”
กินดี กินอย่างไร : การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และ ยังไม่สายเกินไปหากเราจะเริ่มปรับพฤติกรรมการบริโภคตั้งแต่วันนี้ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานและความแข็งแรงของร่างกาย เริ่มต้นได้จากการรับประทานผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน ผลิตภัณฑ์จากนมและไขมันดีเพิ่มเติมจากอาหารมื้อหลัก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารหลักที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ดังนี้
โปรตีน : เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างแอนตี้บอดีและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน กรดอะมิโนบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน คือแหล่งพลังงานที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนประมาณ 25-30 กรัม ต่อมื้ออาหาร เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้อิ่มท้องได้นานขึ้นในระหว่างมื้ออาหาร
วิตามินและแร่ธาตุ : วิตามินและแร่ธาตุ คือสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อคงความแข็งแรง วิตามินเอและวิตามินดี มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นไปตามปกติ และจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า วิตามินดี อาจมีบทบาทสำคัญ ในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อไวรัสที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจากความเสียหาย ในขณะที่ สังกะสี มีส่วนสำคัญในกระบวนการ สร้างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
โพรไบโอติกส์ : แม้ไม่ใช่สารอาหารหลัก ทว่าโพรไบโอติกส์ หรือแบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมของร่างกาย จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกว่า 70 เปอร์เซ็นต์อยู่ในนั้น แม้ไม่มีรายงานว่าร่างกายคนเราต้องการโพรไบโอติกส์ในปริมาณเท่าไรในแต่ละวัน ทว่าการรับประทานอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ หรือผักผลไม้ดองในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มปริมาณโพรไบโอติกส์ให้กับร่างกาย
2) การออกกำลังกาย : ช่วยส่งเสริมระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายทำให้สุขภาพดีขึ้นและส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การตอบสนองต่อวัคซีนของผู้สูงอายุดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ให้ตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น
ดร.ภนิตา ศรีชมเชย นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ วิทยากรจากโครงการ Nutrition Expert ให้คำแนะนำว่า
“โภชนาการที่ดีจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพของวัคซีนและช่วยลดความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากการรับวัคซีน นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่ายๆ ได้แก่ การวิ่งเหยาะ ๆ การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ มวยจีน หรือโยคะ เป็นต้น”
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกายแบบแรงต้าน สามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายได้ เช่น
- การเดินอย่างสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น การกระโดด หรือ การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าโดยการย่อขา
- การยกเวท หรือ การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อเพิ่มแรงต้าน
3) รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือ ภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และอาจมีผลกับ การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ภาวะทุพโภชนาการ คือภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า หรือสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยกลุ่มของผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการหรือการขาดสารอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันลดลง
ภาวะขาดสารอาหารยังสามารถส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่า การแก้ไขภาวะขาดสารอาหารอาจช่วยลดความเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกัน ที่อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และความรุนแรงของ โควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น
ร่างกายแข็งแรงช่วยในการตอบสนองของร่างกายต่อวัคซีน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ณ ร้านขายยา ที่เข้าร่วมโครงการได้แล้ววันนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการ Nutrition Expert Program คลิกที่ Abbott Nutrition Care