จับตา! "ดาวหางลีโอนาร์ด" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021

จับตา! "ดาวหางลีโอนาร์ด" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021

จับตา "ดาวหางลีโอนาร์ด" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021 สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย ผ่านกล้องโทรทรรศน์ หรือกล้องสองตา ในช่วงรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เหนือขอบฟ้าบริเวณที่ปราศจากแสงรบกวน

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ค NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ว่า จับตา "ดาวหางลีโอนาร์ด" C/2021 A1 (Leonard)

ในช่วงไม่กี่วันถัดจากนี้ ดาวหาง C/2021 A1 (Leonard) ซึ่งจัดว่าเป็น ดาวหางแห่งปี 2021 จะสามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย ผ่านกล้องโทรทรรศน์ หรือกล้องสองตา ในช่วงรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เหนือขอบฟ้าบริเวณที่ปราศจากแสงรบกวน

ดาวหาง C/2021 A1 (Leonard)

นั้นเป็นดาวหางคาบยาว ถูกค้นพบในวันที่ 3 มกราคม 2021 โดย G. J. Leonard จาก Mount Lemmon Observatory หนึ่งปีก่อนที่ดาวหางจะมาถึงตำแหน่งวงโคจรใกล้ที่สุดของดวงอาทิตย์ (perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม 2022 พอดี นับเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดที่จะสังเกตเห็นได้ในปี 2021

ในช่วงเช้าของวันที่ 6 ธันวาคม ที่บันทึกภาพ ดาวหางดวงนี้ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) เหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเล็กน้อยก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เราสามารถสังเกตเห็นกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ได้จากการลากผ่านส่วนโค้งของ “ด้ามกระบวย” ที่เป็นส่วนหางของกลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Major) ส่วนโค้งจะไปบรรจบที่ดาวฤกษ์สว่างที่มีชื่อว่า Arcturus ดังภาพล่างซ้าย

จับตา! \"ดาวหางลีโอนาร์ด\" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021

ภาพ: ดาวหาง C/2021 A1 (Leonard) บันทึก ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2021 จากดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ดาวหาง C/2021 A1 (Leonard)

จะปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ไปอีกสองสามวัน ก่อนที่จะเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ ดาวหางนั้นไม่ได้มีแสงสว่างในตัวเอง แต่จะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์

นอกจากนี้แสงอาทิตย์จะทำให้น้ำแข็งและแก๊สในดาวหางเกิดการระเหิดออก ถูกทิ้งไว้ตามวงโคจรของดาวหาง กลายเป็นหางที่พุ่งไปในอวกาศ และสะท้อนแสงอาทิตย์ทำให้ดาวหางสว่างเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่ายิ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่าไหร่ ก็จะมีความสว่างมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยิ่งดาวหางใกล้ดวงอาทิตย์ก็หมายความว่าจะสังเกตเห็นได้ยากขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าตามหลังดาวหางในอีกไม่นาน ทำให้จะต้องสังเกตเห็นดาวหางผ่านแสงสนธยา ในช่วงสองสามวันนี้จึงเป็นช่วงที่จะสามารถสังเกตเห็นดาวหางได้ดีที่สุด

หากทำการสังเกตดาวหางดวงนี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา ให้พยายามสังเกตหาฝุ่นมัวๆ หรือ “ดาว” ดวงหนึ่งที่ไม่ได้คมชัดเช่นดาวดวงอื่น หากบันทึกภาพดาวหางดวงนี้ผ่านกล้องถ่ายภาพด้วยการเปิดหน้ากล้องนานๆ จะสามารถสังเกตเห็นหางและสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของดาวหางได้

ความพิเศษอย่างหนึ่งของดาวหางดวงนี้ ก็คือเป็นดาวหางที่มีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ที่ค่อนข้างเร็วมาก ด้วยอัตราเร็วกว่า 254,412 กม./ชม. หมายความว่าดาวหางดวงนี้จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว หากเรานำภาพถ่ายสองภาพมาเปรียบเทียบกันเราจะพบว่าดาวหางมีการเปลี่ยนตำแหน่งเมื่อเทียบกับดาวพื้นหลัง

ผู้ที่สังเกตดาวหางดวงนี้ในคืนที่ติดต่อกันจะพบว่ามันย้ายตำแหน่งไปอย่างรวดเร็ว และดาวหางนี้จะพ้นไปจากกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ภายในเวลาไม่กี่วัน ก่อนที่จะไปอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และออกไปยังอีกด้านหนึ่ง ก่อนที่ดาวหางจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แล้วโผล่ออกมาอีกด้านหนึ่งกลายเป็นดาวหางช่วงหัวค่ำตั้งแต่วันที่ 14-16 ธันวาคมเป็นต้นไป

หากใครมีกล้องสองตาเล็กๆ กล้องโทรทรรศน์ หรือกล้องถ่ายภาพ ก็ลองออกมาสังเกตดาวหางดวงนี้กันดูได้

จับตา! \"ดาวหางลีโอนาร์ด\" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021

เทคนิคการดู-ถ่ายภาพดาวหางเบื้องต้น

สำหรับเทคนิคและทักษะสำคัญในการถ่ายภาพดาวหางนั้น นักล่าดาวหางจำเป็นต้องทราบข้อมูลเบื้องต้น เช่น ตำแหน่ง ทิศทางการเคลื่อนที่ ค่าความสว่าง และเทคนิคการถ่ายภาพและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยมีเทคนิค 7 ข้อดังนี้

  1. การติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ ที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีหอดูดาวสังเกตการณ์ตลอดทั้งปีและคอยอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับดาวหางที่อาจมีค่าความสว่างมากขึ้น จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น https://theskylive.com ซึ่งมีข้อมูลดาวหางแบบ Real Time และค่าความสว่าง ตำแหน่งดาวหางล่วงหน้าอย่างละเอียด
  2. การหาตำแหน่งดาวหางจากโปรแกรม Stellarium ในการใช้โปรแกรมบางครั้งจำเป็นต้องอัพเดทโปรแกรมเวอร์ชั่นล่าสุด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลดาวหางลงไว้ในโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งดาวหางในแต่ละวันได้ ดังรายละเอียดตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2CcgdPi
  3. การวางแผนถ่ายภาพดาวหางในแต่ละวัน โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง รวมทั้งการคาดการณ์ค่าความสว่างของดาวหางในแต่ละช่วงได้อีกด้วย นอกจากค่าความสว่างของดาวหางแล้ จำเป็นต้องตรวจสอบดวงจันทร์ที่อาจจะทำให้มีแสงรบกวนได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2ZOjqwW
  4. อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพดาวหางสว่าง สำหรับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพดาวหางสว่างนั้น มีเพียง A.กล้องดิจิทัล B.ขาตั้งกล้องที่มั่นคง C.เลนส์ไวแสง แต่สำหรับดาวหางนีโอไวส์ครั้งนี้ แนะนำเลนส์ที่ช่วงทางยาวโฟกัส 24-70 mm. หรือ 70 – 200 mm. เนื่องจากขนาดปรากฏของดาวหางมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
  5. การหามุมรับภาพ เพื่อให้เราสามารถวางแผนเลือกใช้เลนส์และอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดาวหาง โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการหามุมรับภาพ แต่สำหรับคนที่อยากได้แบบใหญ่ ๆ ถ่ายเฉพาะตัวดาวหาง ก็สามารถใช้ทางยาวโฟกัสสูง แต่จำเป็นต้องถ่ายบนฐานตามดาวด้วย
  6. การตั้งค่าถ่ายภาพดาวหาง เริ่มจากการใช้ค่ารูรับแสงกว้าง เช่น f/2.8 เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุด, คำนวณค่าความเร็วชัตเตอร์จากสูตร 400/600 ให้สัมพันธ์กับช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เลือกใช้ ,ตั้งค่าความไวแสง ISO โดยอาจเริ่มจาก ISO 800 ขึ้นไป และปรับเพิ่มขึ้นตามสภาพแสงของท้องฟ้า
  7. การมองหาดาวหางด้วยตาเปล่า

 

จับตา! \"ดาวหางลีโอนาร์ด\" C/2021 A1 (Leonard) ดาวหางแห่งปี 2021

ข้อมูล : ดร. มติพล ตั้งมติธรรม นักวิชาการดาราศาสตร์ สดร. , narit