ปลูก”กัญชา”ไว้หลังบ้าน ใครว่าทำได้...ไม่ผิดกฎหมาย

ปลูก”กัญชา”ไว้หลังบ้าน  ใครว่าทำได้...ไม่ผิดกฎหมาย

คำถามที่หลายคนสงสัย ทำไมปลูก"กัญชา"ไม่กี่ต้นผิดกฎหมาย แบบนี้จะเรียกว่าปลดล็อคกัญชาหรือ แล้วเมื่อไรประชาชนจะปลูกกัญชาไว้ประดับบ้านได้

ในอดีตนักเลงกัญชา สูบกัญชาเป็นเรื่องปกติ เพราะทำให้เคลิบเคลิ้มอารมณ์ดี มีความสุข แต่จะรู้สึกขี้เกียจ อยากกินของหวานๆ และคนที่รักการสูบกัญชา จะมีบ้องกัญชาเป็นของคู่กาย ไม่ใช้บ้องกัญชาคนอื่น

บ้องกัญชาจึงเป็นของรักของหวง บางคนแกะลวดลายติดกระจกประดับเพชรพลอยเต็มบ้อง บางคนใช้บ้องสูบกัญชาตั้งแต่หนุ่มจนแก่

“นักร้องลูกทุ่งสมัยก่อนสูบกัญชาทั้งนั้น รพินทร์ ภูไท นี่สูบจัด มันเกี่ยวกับอาชีพของเขา ต้องตาหวานแม่ยกจะได้ติดมากๆ ชาตรี ศรีชล นี่คอกัญชาตัวจริง ผมชอบดูเขาร้องเพลง ตาหวานฉ่ำออกมาเลย” ครูช่างสมบัติ พูลเกิด เล่าไว้ในปฏิวัติกัญชาสยาม 2562 (เขียนโดยนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว )

ในอดีตเคยปลูกกัญชาได้

ในอดีตคนไทยจะปลูกกัญชาไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้าน ก็ไม่ผิดกฎหมายใดๆ จะนั่งสูบ ยืนสูบ หรือนำมาใส่อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงเป็นส่วนผสมในยาไทยก็ได้ 

ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการใช้กัญชาเป็นองค์ประกอบยาไทยในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง ,คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง และตำรายาสภาอุณาโลมแดงร.ศ. 112 จนกระทั่งการรักษาตามแบบแผนตะวันตกเข้ามาในเมืองไทย

กัญชา ถูกประกาศเป็นยาเสพติดตามกฎหมาย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2468,2477 และปี 2522 โดยเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กัญชาก็ไม่ได้ถูกพัฒนาต่อยอดในฐานะตัวยาทางการแพทย์แผนไทย

ปลูก”กัญชา”ไว้หลังบ้าน  ใครว่าทำได้...ไม่ผิดกฎหมาย

 

ปลดล็อคกัญชา ?

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่ส่วนของกัญชาและกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย 

รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรคได้

ส่วนการนำเข้ากัญชาสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้

ปลูก”กัญชา”ไว้หลังบ้าน  ใครว่าทำได้...ไม่ผิดกฎหมาย

(ภาพ : https://pixabay.com)

ปลูกกัญชาต้องขออนุญาต

แม้จะมีการปลดล็อคอย่างเป็นทางการ แต่ขั้นตอนการขออนุญาตมีรายละเอียดมากมาย ทั้งเรื่องการปลูก การผลิตเป็นยาและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา

หากถามว่า เมื่อปลดล็อคแล้วจะปลูกกัญชาสักต้นในบ้าน ได้ไหม...

ตามหลักการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กำหนดไว้ว่า การปลูกกัญชาเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดประเภท 5 

แม้จะปลดล็อกบางส่วนของพืชกัญชา เช่นเปลือก เส้นใย ใบ รวมถึง สาร CBD แต่มีข้อแม้ว่าส่วนประกอบดังกล่าวต้องมีที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

โดยผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 93 ของประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถ้าเป็นการกระทำเพื่อการค้า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท

และเป็นทราบกันดีว่า แม้กระทั่งการขออนุญาตปลูกกัญชาที่เป็นหน่วยงานรัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ สถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาวิจัย หรือเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร และร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ หรือ อย. และต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ก็มีทางฝ่าย ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย เคยออกมาแถลงว่า “กัญชาถูกกฎหมาย ทำไมยังถูกจับ” โดยให้ข้อมูลว่า

"กฎหมายยาเสพติด ปลดกัญชาจากประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 29 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ระบุว่ากัญชาเป็นยาเสพติด ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว สามารถปลูกและใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ หากถูกดำเนินคดี ทางพรรคภูมิใจไทยยินดีส่งทนายความไปช่วย ดูแลคดีให้กับคนปลูก" 

แม้กัญชาจะถูกปลดล็อคแล้ว แต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กำหนดไว้ว่าการปลูกกัญชาเองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้ทางพรรคภูมิใจไทยจะพยายามผลักดันเรื่องนี้ 

แต่ที่สุดแล้ว กรอบของกฎหมายก็ยังเป็นปัญหา คนทั่วไปไม่สามารถปลูกกัญชาสักต้นไว้ประดับบ้าน  

ปลูก”กัญชา”ไว้หลังบ้าน  ใครว่าทำได้...ไม่ผิดกฎหมาย

คำถามคร่าวๆ เกี่ยวกับกัญชา

ผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาตนเองได้หรือไม่

กฎหมายยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปหรือผู้ป่วยปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาตนเองได้ หากผู้ป่วยที่ประสงค์จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา ที่มีบริการการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถตรวจสอบได้จาก http://cannabis.fda.moph.go.th/ หรือ http://www.medcannabis.go.th/clinic

เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์แล้ว แพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค 

สามารถนำเข้าน้ำมันกัญชา (Hemp Oil หรือCannabis oil) จากต่างประเทศ ได้หรือไม่

มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ในช่วง 5 ปีแรกหลังจากที่พระราชบัญญัติมีผล บังคับใช้ ผู้ที่จะนำเข้ากัญชาและผลิตภัณฑ์ของกัญชาได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและมีคุณสมบัติเป็น ดังนี้ 

1. หน่วยงานรัฐ (ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวกับศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ / ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ / ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม เช่น โรงพยาบาลของรัฐ และมหาวิทยาลัยของรัฐ / ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด / สภากาชาดไทย) หรือ 

2. ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (ผู้ประกอบวิชาชีพ / มหาวิทยาลัยของเอกชนที่จัดการเรียนการสอนทางการแพทย์หรือเภสัช ศาสตร์ / เกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร) ที่ต้องร่วมด้าเนินการกับหน่วยงานของรัฐ ส าหรับกรณีภาคเอกชนที่มีความสนใจนำเข้า ก็สามารถทำความตกลงร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ตามข้อ 1. เพื่อร่วมดำเนินการศึกษาวิจัยได้ 

ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถยื่นค้าขอรับอนุญาตได้ ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

   ข้อมูลส่วนหนึ่ง จากกองควบคุมวัตถุเสพติดกัญชา

 ...........