เคล็ดลับปรุง “เมนูเนื้อ” ให้อร่อยถึงรสชาติ ควรเลือกใช้เนื้อส่วนไหน
อยากปรุง "เมนูเนื้อ" ให้อร่อยเข้าถึงรสชาติ "เชฟแพม - พิชญา อุทารธรรม" แห่งร้าน Smoked และ Potong มีเคล็ดลับการเลือกเนื้อส่วนต่าง ๆ
เชฟแพม - พิชญา อุทารธรรม แบรนด์แอมบาสเดอร์ True Aussie Beef ประจำประเทศไทย เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรายการ Top Chef Thailand รวมถึง The Table by Chef ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารที่ให้บริการแบบไพรเวท-ไฟน์ไดนิ่ง มีเคล็ดลับเลือก “เนื้อ” ส่วนต่าง ๆ เพื่อปรุง เมนูเนื้อ ทั้งเมนูแบบไทย ๆ และแบบตะวันตก
Australian Beef Omagase
ยำเนื้อ (ภาพ FB: True Aussie Beef & Lamb Thailand)
ก่อนไปถึงขั้นตอนการเลือกเนื้อวัวส่วนต่าง ๆ สำหรับปรุง เมนูเนื้อ อย่างที่เราชอบนั้น ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของแหล่งผลิต รวมถึงวิธีการเลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยง และมาตรฐานการแปรรูป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อรสชาติและรสสัมผัสของเนื้อวัวโดยตรง
(ภาพ: FB: True Aussie Beef & Lamb Thailand)
สำหรับ เชฟแพม เนื้อวัวออสเตรเลีย ถือเป็นวัตถุดิบหลักที่เชฟเลือกใช้ปรุงอาหารให้ลูกค้า เพราะเชฟต้องการนำเสนอเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุด ข้อสำคัญคือเนื่องจากเนื้อวัวออสเตรเลียผลิตจากวัวในฟาร์มปศุสัตว์ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี วัวสามารถเดินท่องไปในทุ่งหญ้าธรรมชาติอันกว้างใหญ่ที่ปราศจากมลภาวะ เลี้ยงด้วยหญ้าและธัญพืชคุณภาพดี ทำให้วัวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ปราศจากความเครียด และให้เนื้อที่มีรสชาติดีเยี่ยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
เชฟแพม
เมื่อรู้จักแหล่งผลิตแล้ว เมื่อคิดจะปรุง เมนูเนื้อ ในสไตล์ต่าง ๆ ก็ต้องมีเคล็ดลับ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เนื้อส่วนไหนเหมาะกับเมนูอะไร? เรื่องนี้สร้างความสับสนมากโดยเฉพาะกับคนรักเนื้อที่ต้องการทำเมนูเนื้อกินเองที่บ้าน เชฟแพม แนะเคล็ดลับง่าย ๆ ในการเลือกเนื้อส่วนต่าง ๆ ดังนี้
เนื้อส่วนสันคอ (Chuck)
สันคอ (Chuck) คือเนื้อส่วนไหล่ที่มีไขมันน้อย ราคาไม่แพงมาก และใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง แต่เหมาะมากสำหรับกรรมวีธีการปรุงที่ใช้ความร้อนนาน ๆ หรือการเคี่ยวเพื่อให้เนื้อที่นุ่ม ชุ่มฉ่ำ และเข้มข้นยิ่งขึ้น เนื้อสันคอจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวกันหนาแน่น ดังนั้น เมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ ก็จะยิ่งทำให้เนื้อมีความนุ่มละมุนลิ้นและหอมอร่อยเข้มข้นยิ่งขึ้น
ส่วนเนื้อใบพาย
เนื้อใบพาย (Oyster blade) เป็นเนื้อบริเวณไหล่ที่มีความชุ่มฉ่ำมาก ทั้งยังนุ่มมาก มีชั้นไขมันแทรกเยอะ และเหมาะกับการปรุงด้วยความร้อนสูง เช่น ปิ้งย่าง หรือทอดในกระทะ เพื่อสลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่ไม่ว่าจะปรุงเป็นเมนูอะไร ห้ามเลาะเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทิ้งเด็ดขาด เพราะถ้าปรุงอย่างถูกต้องจะให้รสชาติที่อร่อยมาก ซึ่งคุณจะสัมผัสได้ตั้งแต่คำแรกที่กัดเนื้อชิ้นนั้น
Australian Beef ribs (ซี่โครง)
ซี่โครง (Beef ribs) เนื้อซี่โครงมี 2 แบบ ได้แก่ Back Ribs กับ Short Ribs โดย Back Ribs ได้จากส่วนหลังบนของวัวบริเวณด้านหลังไหล่ ส่วน Short Ribs จะอยู่ต่ำลงมาจากกระดูกซี่โครงวัวด้านหลังของเนื้อเสือร้องไห้ ซึ่งจะมีไขมันเยอะ ชั้นไขมันแทรกมาก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนาแน่น ซี่โครงทั้งสองส่วนนี้ให้รสชาติและเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกัน
ส่วนกรรมวิธีการปรุงที่เหมาะกับซี่โครงทั้งสองแบบคือการปรุงด้วยไฟอ่อนอย่างช้า ๆ ไม่ว่าจะด้วยการย่าง เคี่ยว ตุ๋นในหม้อแรงดัน ปิ้งไฟอ่อน หรือซูวี (Sous vide) แต่ต้องจำไว้ว่า ถ้าเลือกใช้ส่วน Back Ribs แทน Short Ribs คุณอาจต้องเติมไขมัน
Australian Tenderloin (สันใน)
สันใน (Beef Tenderloin) เนื้อแถบยาวไขมันน้อยบริเวณสะโพก ซึ่งเป็น คัตเนื้อส่วนมีความนุ่มที่สุดและราคาแพงที่สุดของวัว แต่ก็คุ้มค่ามากที่สุด วิธีการปรุงเนื้อส่วนนี้ที่ง่ายดายและรวดเร็วที่สุดก็คือ การย่างหรืออบในเตาอบด้วยความร้อนสูง จนได้ความสุกระดับ Medium-rare ไปจนถึง Rare ให้สุกตั้งแต่ด้านนอกไปจนถึงกลางชิ้นเนื้อ แต่การอบให้สุกแบบ Medium-rare จะได้เนื้อสันในที่นุ่มที่สุด
Ribeye, Scotch fillet
ริบอาย (Ribeye or Scotch fillet) เนื้อส่วนซี่โครงของวัวที่เลาะเอากระดูกและเอ็นด้านนอกออกแล้ว มีเนื้อสัมผัสนุ่มอย่างเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากคัตเนื้อส่วนอื่น ๆ โดยมีชั้นไขมันแทรกอยู่ลึก รสชาติเข้มข้น และนุ่มอร่อยอย่างแตกต่าง กรรมวิธีการปรุงที่ดีที่สุดสำหรับ คัตเนื้อส่วนนี้ทำได้ทั้งการอบ การย่าง การเซียร์ หรือทำเป็นบาร์บีคิว ซึ่งล้วนมอบรสชาติเนื้อที่เข้มข้น ชุ่มฉ่ำ และนุ่มละมุน
(ภาพ: FB: True Ausie Beef & Lamb Thailand)
อีกหนึ่งเคล็ดลับในการเลือกเนื้อวัวสำหรับทำ เมนูสเต๊ก คือ เลือกเนื้อที่มีความหนาราว 1½ - 2 นิ้ว จะเหมาะกับการทำสเต็กมากที่สุด
รู้จักคุณลักษณะของเนื้อส่วนต่าง ๆ แล้ว จะเลือกปรุง เมนูเนื้อ แบบไหน มีตัวอย่างดังนี้
เมนูสเต๊ก : ควรใช้ชิ้นเนื้อส่วนสันนอก (top sirloin) สันใน (tenderloin) หรือเนื้อส่วนใบบัว (flank) เพราะเหมาะสำหรับการย่างบนตะแกรง ทั้งยังเหมาะกับการเซียร์ด้วยความร้อนสูงแล้วนำออกมาพักไว้สักครู่ ก่อนยกเสิร์ฟ
เมนูร้าน Flat Marble (ภาพ: FB: True Ausie Beef & Lamp Thailand)
เมนูอบ : เนื้อซี่โครง (rib-eye) ขา (leg) เนื้อส่วนลูกมะพร้าว (eye round) เนื้อสะโพกบน (top round) และสันนอก (striploin) เหมาะกับการทำเมนูอบมากที่สุด
ผัดกะเพรา : หรือเมนูผัดที่ใช้ไฟแรง ๆ ผัดเร็ว ๆ เนื้อสันในเหมาะที่สุด
Australian Wagyu Oyster Blade
เมนูเนื้อบด : ชิ้นเนื้อที่เหมาะสมกับการปรุงรูปแบบนี้ ได้แก่ ส่วนสะโพก (round) ทั้งส่วนบนและล่าง สามารถนำมาบดเพื่อทำเป็นซอสพาสต้า มีตบอล และทาโก้
เนื้อตุ๋น แกงมัสมั่น ซุป เนื้อตุ๋น : ที่ปรุงด้วยความร้อนในเวลานาน ๆ ชิ้นเนื้อทุกส่วนสามารถปรุงด้วยความร้อนได้ แต่มีบางชิ้นส่วนที่เหมาะสมมากกว่า อาทิ เนื้อเสือร้องไห้ (brisket) เนื้อซี่โครงส่วนปลาย (short ribs) เนื้อไหล่ (blade) สันคอ (chuck) เพราะเมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนอย่างช้า ๆ เป็นเมนูแกงต่าง ๆ แคสเซอโรล ซุป หรือเมนูตุ๋น ชิ้นเนื้อเหล่านี้จะให้เนื้อสัมผัสนุ่มจนละลายในปาก
(ภาพ: FB: True Aussie Beef &Lamb Thailand)
ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ https://www.trueaussie.co.th/ และ FB: True Aussie Beef & Lamb Thailand