บทสวดมนต์ "วันมาฆบูชา" เสริมความเป็นสิริมงคล วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

บทสวดมนต์ "วันมาฆบูชา" เสริมความเป็นสิริมงคล วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

เปิดบทสวดมนต์ เสริมความเป็นสิริมงคล "วันมาฆบูชา 2565" วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป พร้อมการปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนใน "วันมาฆบูชา" มีอะไรบ้าง?

"วันมาฆบูชา 2565" วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

โดยมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง "จาตุรงคสันนิบาต" ที่แปลความได้ว่า การประชุมด้วยองค์ 4 เกิดขึ้น ได้แก่

1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย

2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น

3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆ องค์

4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

บทสวดมนต์ \"วันมาฆบูชา\" เสริมความเป็นสิริมงคล วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

โดยประเด็นสำคัญของ "วันมาฆบูชา" นั้น อยู่ตรงเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถแสดง พระโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวคือ พระโอวาทที่เป็นประธานของพระศาสนาซึ่งพระพุทธองค์นำมาแสดงในที่ประชุมวิสุทธิสงฆ์องค์พระอรหันต์จำนวน 1,250 องค์ ที่พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จึงได้รวบรวมคาถาบทสวดมนต์ ที่สามารถสวดด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมกิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน "วันมาฆบูชามา" แนะนำ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ

บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

 

บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

บทที่ 4 บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

(ให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง)

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (อ่านว่า วิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)

บทที่ 6 บทพุทธชัยมงคลคาถา

(ชนะอุปสรรคทั้งปวง)

พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรังอะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง (อ่านว่า พรัมมัง) วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โยวาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

(* หากสวดให้ผู้อื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)

บทที่ 7 ชะยะปะริตตัง

(พระปริตรนี้ สวกหรือภาวนาเพื่อให้เกิดสิริมงคล ทั้งแก่งานและแก่บุคคล เป็นที่นิยมกันมาก)

มหาการุณิโก นาโถ            หิตายะ สัพพะปาณินัง

ปูเรตวา ปาระมี สัพพา         ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ          โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล          สัก์ยานัง นันทิวัฑฒะโน

เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ        ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะปัลลังเก            สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง       อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง           สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ           สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง         วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง         ปะณิธี เต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตวานะ           ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง           รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ            สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง           รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะธัมมานุภาเวนะ            สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง           รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะสังฆานุภาเวนะ            สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

 

บทที่ 8 กะระณียะเมตตะสุตตัง

(พระสูตรนี้ ภาวนาป้องกันอมนุษย์ไม่ให้ทำอันตราย กลับมีเมตตาและไม่ให้ฝันร้ายต่างๆ มีความผาสุขในครอบครัว)

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ

 

บทที่ 9 ขันธะปะริตตัง

(พระปริตรนี้ ภาวนาป้องกันตัวจากสัวต์ร้ายต่างๆ)

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโก
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที
อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง
สัมมาสัมพุทธานัง ฯ

 

บทที่ 10 คาถาโพธิบาท

บูระพารัส๎มิง พระพุทธะคุณัง
บูระพารัส๎มิง พระธัมเมตัง
บูระพารัส๎มิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. อาคะเนย๎รัส๎มิง - ทักษิณรัส๎มิง - หรดีรัส๎มิง -
ปัจจิมรัส๎มิง - พายัพรัส๎มิง - อุดรรัส๎มิง - อิสานรัส๎มิง - อากาสรัส๎มิง - ปะฐะวีรัส๎มิง นอกนั้นเหมือนกันหมด

บทที่ 11 คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ

อิมัส๎มิง มงคลจักรวาฬ ทั้งแปดทิศ
ประสิทธิ จงมาเป็น กำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกัน
ห้อมล้อมรอบครอบ ทั่วอนัตตา ราชะเสมานาเขตเต สะมันตา
สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะ ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ


หมายเหตุ เที่ยวต่อไปเปลี่ยนที่ตัวหนาเป็น.. ธัมมะ - ปัจเจกะพุทธะ - สังฆะ นอกนั้นเหมือนกันหมด

 

บทที่ 12 ภะวะตุสัพ

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ   สัพพะเทวะตา, สัพพะพุทธานุภาเวนะ, สะทา โสตถี   ภะวันตุ  เต ฯ, 

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ   สัพพะเทวะตา, สัพพะธัมมานุภาเวนะ,  สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ,

ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง, รักขันตุ   สัพพะเทวะตา,  สัพพะสังฆานุภาเวนะ, สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ 

* สวดให้ตนเองเปลี่ยน เต เป็น เม

 

บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

คำแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคิโน โหนตุฯ ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีส่วน และอนุโมทนาบุญ ร่วมกับข้าพเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่ท่านถึงทุกข์ขอให้พ้นจากความทุกข์ ที่ถึงสุขอยู่แล้ว ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป

ด้วยกุศลจริยา สัมมาปฏิบัติ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ จงมารวมกันเป็นตะบะ เป็นเดชะ เป็นพลวะปัจจัย เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้ข้าพเจ้าเกิดสติปัญญาญาณ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานเทอญฯ

บทกรวดน้ำ อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถา

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา

อาจะริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา

ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ

พรัหมมะ มาราจะ อินทา จะ ทุโลกะปาลา จะ เทวะตา

ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม

สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ

ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุ ปาทานะเฉทะนัง

เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง

นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว

อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา

มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม

พุทธาทิปะ วะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม

นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง

เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุมา

ทะสะปุญญานุนุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

 

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติใน "วันมาฆบูชา"

  1. ทำบุญใส่บาตร
  2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
  3. ไปเวียนเทียนที่วัด
  4. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

 

อ้างอิง : dhammathai