จัดทริปหยุดยาว "สงกรานต์ 2565" จังหวัดไหน "เครื่องบิน รถไฟ" ไปไม่ถึงไหนบ้าง
วันหยุดยาวสงกรานต์ เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อจะทริปเดินทาง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนสำรวจเส้นทางที่รถไฟและเครื่องบินว่าไปไม่ถึงจังหวัดไหนบ้าง
และแล้วก็ถึงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่รอคอย บางบริษัทเริ่มต้นหยุดตามเทศกาลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 65 จนถึงวันที่ 17 เมษายน ซึ่งนับว่าเป็นหยุดยาวที่มากถึง 8 วัน นอกจากนี้มาตรการป้องกันโควิด-19 ยังมีการผ่อนปรนสำหรับการเดินทางข้ามจังหวัด ดังนั้นใครมีแพลนเดินทาง จัดทริปพักผ่อนก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ไม่ควรพลาด
แต่ก่อนที่จะข้ามขั้นไปถึงช่วงเวลาแห่งความสุข การวางแผนการเดินทางเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายเป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้ หากไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ รถหมด รถเต็ม คนล้น ตกรถ
รถไฟ รถทัวร์ เครื่องบิน คือ การคมนาคมสาธารณะหลัก ที่ตอบสนองความต้องการเดินทางคนทั้งประเทศ แต่การโดยสารล้อ ราง อากาศ ดันไปไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ในประเทศ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนสำรวจเส้นทางที่รถไฟและเครื่องบินว่าไปไม่ถึงจังหวัดไหนบ้าง
- รถไฟไทยไปไม่ถึง 32 จังหวัด
รถไฟไทยเริ่มเปิดตัวการเดินรถไฟครั้งแรกของประเทศไทยในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 เส้นทางแรกที่ประชาชนสามารถเดินทางได้นั้นคือ กรุงเทพ ไป อยุธยา ด้วยระยะทางยาวกว่า 70 กิโลเมตร ในแต่ละวันจะวิ่งแค่ 4 ขบวน และมีสถานีเสร็จทั้งสิ้น 9 แห่ง และต่อมาเมื่อเข้ารัชกาลที่ 6 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมเดิมจากกรมรถไฟ ให้เป็นชื่อใหม่ว่า กรมรถไฟหลวง และในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 จึงเปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยดำเนินงานเป็นรัฐวิสาหกิจ
ในปัจจุบัน การรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมความยาวทั้งสิ้น 4,507.884 กิโลเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 14 กันยายน 2559) แบ่งเป็น
ทางสายเหนือ ถึง สถานีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ความยาว 752.077 กิโลเมตร และมีทางแยกที่สถานีชุมทางบ้านดาราจังหวัดพิษณุโลก ถึง สถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ความยาว 29.007 กิโลเมตร
ทางสายใต้ จากสถานีธนบุรี - สถานีสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ความยาว 1,144.140 กิโลเมตร , ทางแยกสถานีปาดังเบซาร์ ความยาว 43.502 กิโลเมตร , ทางแยกสถานีสุพรรณบุรี ความยาว 78.090 กิโลเมตร , ทางแยกคีรีรัฐนิคม ความยาว 31.250 กม. ทางแยกกันตัง ความยาว 92.802 กิโลเมตร และทางแยกนครศรีธรรมราช ความยาว 35.081 กิโลเมตร
ทางสายตะวันตก ถึง สถานีชุมทางหนองปลาดุก - สถานีน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี ความยาว 130.989 กิโลเมตร
ทางสายตะวันออก ถึง สถานีอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ความยาว 260.449 กิโลเมตร , คลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย ความยาว 81.358 กิโลเมตร , ชุมทางเขาชีจรรย์ - มาบตาพุต ความยาว 24.070 กิโลเมตร
ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง สถานีอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ความยาว 575.600 กิโลเมตร และสถานีชุมทางถนนจิระถึงสถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย ความยาว 359.974 กิโลเมตร (เพิ่มสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2.657 กม.) และชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ความยาว 252.412 กิโลเมตร
ทางสายแม่กลองช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ความยาว 31.242 กิโลเมตร และช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง ความยาว 34.041 กิโลเมตร
เมื่อสรุปข้อมูลจากเส้นทางเดินรถข้างต้นแล้วพบว่า รถไฟไทยไปไม่ถึง 32 จังหวัด จากทั้งหมด 77 จังหวัด แบ่งเป็น
ภาคเหนือ
- น่าน
- แม่ฮ่องสอน
- เชียงราย
- พะเยา
ภาคอีสาน
- กาฬสินธุ์
- นครพนม
- บึงกาฬ
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- ร้อยเอ็ด
- เลย
- สกลนคร
- หนองบัวลำภู
- อำนาจเจริญ
- ภาคกลาง
- กำแพงเพชร
- ชัยนาท
- สิงห์บุรี
- อ่างทอง
- อุทัยธานี
*สำหรับจังหวัด สมุทรปราการ นนบุรี นั้นไม่มีรถไฟ แต่มีรถไฟฟ้าใช้แทน*
ภาคตะวันออก
- จันทบุรี
- ตราด
- ระยอง
- สระแก้ว
ภาคตะวันตก
- ตาก
ภาคใต้
- กระบี่
- พังงา
- ภูเก็ต
- ระนอง
- สตูล
- บินในไทยไปถึงไหนบ้าง
กิจการการบินของประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อปี 2454 โดยระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2454 นักบินชาวเบลเยียมชื่อ ฟัน เดน บอร์น (Van den Born) ได้นำเครื่องบินออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) มาบินแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่สนามม้าราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน
หลังจากนั้น ประเทศไทยก็ได้มีพัฒนาการด้านการบิน เช่น การส่งนายทหารไปศึกษาด้านการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2454 การสั่งเครื่องบินชุดแรกของประเทศไทย ในปี 2456
ในปี พ.ศ.2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองการบินพลเรือนขึ้น เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ และอีก 8 ปีต่อมาก็ได้ยกฐานะจากกองเป็นกรม และได้ปรับปรุงสนามบินดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสากลเรียกว่า "ท่าอากาศยานดอนเมือง” ก่อนเปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า " ท่าอากาศยานกรุงเทพ” เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2498 และขยายสนามบินไปยังจังหวัดอื่นๆ
สรุปแล้ว ในปัจจุบันสนามบินของไทย มีทั้งหมด 68 สนามบิน แบ่งเป็น
สนามบินหลัก ที่ให้บริการโดยบริษัทท่าอากาศยานไทย 6 แห่ง
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ท่าอากาศยานดอนเมือง
- ท่าอากาศยานภูเก็ต
- ท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
- ท่าอากาศยานหาดใหญ่
สนามบินที่บริหารในสังกัดกรมท่าอากาศยาน 29 สนามบิน
- ท่าอากาศยานขอนแก่น
- ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
- ท่าอากาศยานชุมพร
- ท่าอากาศยานตรัง
- ท่าอากาศยานแม่สอด
- ท่าอากาศยานนครพนม
- ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
- ท่าอากาศยานนราธิวาส
- ท่าอากาศยานน่านนคร
- ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
- ท่าอากาศยานหัวหิน
- ท่าอากาศยานพิษณุโลก
- ท่าอากาศยานแพร่
- ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
- ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
- ท่าอากาศยานระนอง
- ท่าอากาศยานเลย
- ท่าอากาศยานลำปาง
- ท่าอากาศยานสกลนคร
- ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
- ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
- ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
- ท่าอากาศยานตาก
- ท่าอากาศยานนครราชสีมา
- ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์
- ท่าอากาศยานปาย
- สนามบินแม่สะเรียง
- สนามบินอุตรดิตถ์
- สนามบินนานาชาติเบตง
สนามบินที่บริหารโดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 3 แห่ง
- ท่าอากาศยานสมุย
- ท่าอากาศยานสุโขทัย
- ท่าอากาศยานตราด
สนามบินของกองทัพไทยทั้ง กองทัพเรือ กองทัพบก กองทัพอากาศ รวม 31 สนามบิน
- ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
- สนามบินน้ำพอง
- สนามบินจันทบุรี
- สนามบินบางพระ
- สนามบินศรีราชา
- สนามบินเก่าเชียงราย
- สนามบินเขื่อนภูมิพล
- สนามบินชุมชนอุ้มผาง
- สนามบินเกาะไม้ซี้
- สนามบินเกาะตะเคียน
- สนามบินกำแพงแสน
- สนามบินชะเอียน
- ท่าอากาศยานตาคลี
- สนามบินนครสวรรค์
- สนามบินปราจีนบุรี
- สนามบินกบินทร์บุรี
- สนามบินประจวบคีรีขันธ์
- ท่าอากาศยานเชียงคำ
- สนามบินหล่มสัก
- สนามบินขุนยวม
- สนามบินโพธาราม
- สนามบินรอบเมือง
- สนามบินโคกกระเทียม
- สนามบินบ้านธิ
- สนามบินนก
- สนามบินลำพูน
- ท่าอากาศยานสงขลา
- สนามบินควนขัน
- สนามบินปากเพรียว
- สนามบินวัฒนานคร
- ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี
------------------------------------
อ้างอิง การรถไฟแห่งประเทศไทย, procurement.railway, airportthai