13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

ความเป็นมา 13 ต.ค. ‘วันนวมินทรมหาราช’ น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 9’ บนพื้นฐาน ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ ผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา อาทิ โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช, ศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทาน, บ้านทุ่งรักที่ฟื้นคืนชีวิตจากภัยสึนามิ

ความเป็นมา ‘วันนวมินทรมหาราช’

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 
'ในหลวง รัชกาลที่ 9' แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศไทยทั้งนี้ก็เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าอย่างเต็มพระกำลังความสามารถโดยมิทรงย่อท้อตลอดพระชนม์ชีพและการครองสิริราชสมบัติ

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงงานเพื่อคนไทยในทุกพื้นที่

หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559, ปีรุ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาตกำหนดให้วันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งตรงกับ วันที่ 13 ต.ค. เป็น "วันสำคัญของชาติไทย" ทุกปี  และให้จัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกับวันปิยมหาราช

ปีเดียวกันนั้นเอง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (คณะที่ 61) วันที่ 11 เมษายน กำหนดให้  วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี เป็น วันหยุดราชการ 

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

ทรงศึกษาเรื่องหญ้าแฝก

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ก.ย. พ.ศ.2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (คณะที่ 63) มีมติเห็นชอบให้กำหนดชื่อวันดังกล่าวตามที่ได้ขอพระราชทานชื่อจากรัชกาลที่ 10 ซึ่งได้รับประทานชื่อเพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัยมาจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ว่า วันนวมินทรมหาราช  (วัน-นะ-วะ-มิน-ทระ-มะ-หา-ราด) มีความหมายว่า วันที่ระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่

โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ก.ย. เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566

วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี จึงได้รับการจารึกให้เป็นวันสำคัญของชาติไทยอย่างเป็นทางการและประทับอยู่ในดวงใจคนไทยด้วยคำว่า “วันนวมินทรมหาราช” นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา

ความหมาย ‘เศรษฐกิจพอเพียง’

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริและโครงการพัฒนาประเทศไทยนับพันโครงการ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรชาวไทยทุกหมู่เหล่า 

นอกจากเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้สำหรับพสกนิกรชาวไทย พระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังได้รับการสรรเสริญในระดับนานาชาติ

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา โคฟี แอนนัน ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์

โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 นายโคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้น ได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์”  ของโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรัชสมัย

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

หนึ่งในแนวทางพระราชดำริที่ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คือพระราชดำริในเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 

พระองค์ตรัสถึง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ อย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ.2540 (เรียกกันติดปากในประเทศไทยว่า ‘ต้มยำกุ้ง’ ) ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียน ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน-6 ตุลาคม 2567 มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมนำเสนอความหมายของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา พาวิลเลียน 'มูลนิธิชัยพัฒนา' ในงาน SX2024

เริ่มจากด้านหน้าของพาวิลเลียน ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ เชิญ ความหมาย ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 ความว่า

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก 

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน

และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้าง พื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อปีพ.ศ.2531 โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศขณะนั้น) เป็นองค์ประธาน 

เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว 

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

การที่ ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ เข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น 

อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของ ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ เป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น

ในงาน SX2024 ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ จัดแสดงตัวอย่างโครงการในพระราชดำริที่น้อมนำ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นแนวทางการดำเนินงาน โดยมี ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ เป็นพี่เลี้ยงหรือดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้ทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

 

ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา ส่วนหนึ่งของผลผลิตและผลงานของ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

“ประเทศของเราเป็นประเทศที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ หากมีการต่อสู้แย่งชิงเกิดขึ้นในโลก ประเทศของเราจะยังยืนอยู่ที่นี่ จะยืดหยัดอยู่ที่นี่ เพื่อประโยชน์ของคนทั้งโลก” 

บทสัมภาษณ์พระราชทานของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในนิตยสารเนชันแนล จีโอกราฟิก ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ.2525

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสานต่อแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 โดยทรงต่อยอดองค์ความรู้และขยายเมล็ดพันธุ์แห่งการพัฒนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ จัดตั้งโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสะสมสำรองไว้ เพื่อพระราชทานแก่ราษฎรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติและราษฎรทั่วไป

ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชให้เกษตรกรได้มีพืชที่มีสายพันธุ์ที่ดี ได้ผลผลิตดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรด้านพันธุ์พืชทนทานต่อโรคและแมลง

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 100 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศูนย์ฯ วันที่ 20 กรกฎาคม 2552

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

ต่อมาทรงจัดตั้ง ‘ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ’ แห่งที่ 2 ที่ตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เมื่อปี 2554 และแห่งที่ 3 ที่ตำบลสำโรงทาน อำเภอสำรองทาน จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี 2556

ทำให้มีเมล็ดพันธุ์พืชผักและเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสะสมสำรองไว้แม้ในยามประสบปัญหาภาวะคับขันและวิกฤตการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ในอนาคต

นับเป็นการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศ สืบต่อไปยังรุ่นลูกหลานอย่างยั่งยืน และจะยังประโยชน์ในระดับโลกต่อไป

 

 

โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย และบ้านหนองชะลาบ จังหวัดตาก

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา ไข่ไก่ โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฏรเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ ของพระองค์ จึงทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้เกิดความ "พออยู่ พอกิน”

ต่อมาขณะที่ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เมื่อวันอังคารที่ 26 มกราคม 2553 

ทรงมีพระราชดำริว่า ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ประสบปัญหาการขาดแคลนพันธุ์สัตว์อยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร 

จึงพระราชทานพระราชดำริ ให้ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็น ศูนย์กลางในการผลิตพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ไปยังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ขาดแคลน 

รวมทั้งพิจารณาส่งเสริมพันธุ์สัตว์พันธุ์ดีให้กับราษฎรที่ยากจนและโรงเรียนในเขตพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ เพื่อให้ราษฎรสามารถเลี้ยงสัตว์ใช้เป็น 'อาหารโปรตีน' อาทิ พันธุ์ไก่ อาจจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและเพื่อสุขภาพเด็กนักเรียนอันเป็นอนาคตของชาติ 

โดยทรงให้ยึดแนวพระราชดำริหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามสภาพภูมิสังคม และแนวพระราชดำริที่พระราชทานในการดำเนินโครงการ เป็นกรอบการดำเนินงาน

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ จังหวัดตาก

ต่อมาในปีพ.ศ.2559 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักงาน ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ จัดทำโครงการพัฒนา ที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านหนองชะลาบ (ศูนย์ผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์) ตำบลตากตก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

เพื่อผลิตและกระจาย พันธุ์ไก่ไข่ และ เป็ดไข่ พระราชทานให้แก่โรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารพื้นที่จังหวัดตาก

ประกอบด้วย ไก่ไข่พันธุ์พื้นบ้าน และ เป็ดไข่ รวมทั้งเป็นแหล่งสาธิตฝึกอบรมและศึกษาเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ปีกและการผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น 

อีกทั้งเป็นการลดระยะทางการขนส่งประมาณ 300 กิโลเมตร และลดระยะเวลาขนส่งประมาณ 5-6 ชั่วโมง จากศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มายังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 อำเภอเมือง จังหวัดตาก ทำให้ไก่ลดความเครียดจากการเดินทางและอัตราสูญเสียจากการขนส่งลดน้อยลง  

นอกจากนี้ ยังสามารถสนับสนุนไก่ไข่และเป็ดไข่ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดสุโขทัย ได้อีกด้วย

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา

ทรงให้เลี้ยงแบบ Happy Chicken

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังทรงมีรับสั่งด้วยว่า 

“ไก่พวกนี้ เขาให้เรากินไข่แล้ว ก็ต้องเลี้ยงให้เขามีความสุขด้วย ต้องปล่อยให้ออกมาเดินเล่นบ้าง ต้องเลี้ยงแบบให้ไก่มีความสุข หรือที่เรียกว่า เลี้ยงแบบ Happy Chicken” (26 มกราคม 2553)

จากพระราชดำรัสดังกล่าว ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ โดย โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย และ โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ จังหวัดตาก จึงได้ศึกษาวิจัยและขยายผลการเลี้ยงไก่ไข่แบบ Happy Chicken เพื่อมอบความสุขพร้อมสุขภาพที่ดีให้แก่ชุมชน

 

ศูนย์เรียนรู้ด้านหม่อนไหมแบบครบวงจร ของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดชัยภูมิ

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา สีจากธรรมชาติที่ใช้ย้อมเส้นไหม

นี่คือการเพิ่มคุณค่าสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม สู่การสรรค์สร้างสีสันบนผืนผ้าไหมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของไทย

โครงการศูนย์เรียนรู้ด้านหม่อนไหมแบบครบวงจร ของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม และลายผ้าไหม ให้อยู่คู่กับจังหวัดชัยภูมิและประเทศไทย

รวมถึงส่งเสริม การย้อมสีไหมด้วยวิธีธรรมชาติ เพื่อลด ละ เลิกการใช้สีจากสารเคมี
โครงการได้ดำเนินการทดลองสกัดสีธรรมชาติจากพืชหลายชนิด

รวมทั้งการสกัดสีย้อมจาก เปลือกผลชาน้ำมัน สายพันธุ์คามีเลีย โอลีเฟร่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการพลิกฟื้นผืนป่าจากโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น จังหวัดเชียงราย ทำให้ได้ ผ้าไหมสีน้ำตาลทอง

ต่อมาจึงได้ดำเนินการสกัดสีจาก ใบหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่ใช้ป้องกันนการชะล้างพังทลายของดินตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เกิดเป็น ผ้าไหมสีเหลืองทอง สวยงามเป็นเอกลักษณ์

ปัจจุบัน ผ้าไหมจากโครงการฯ กลายเป็นผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์เป็นสีจำเพาะ และในปี 2567 กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ให้การรับรองอนุสิทธิบัตรแก่มูลนิธิชัยพัฒนา สำหรับการประดิษฐ์คิดค้นกรรมวิธีการย้อมเส้นไหมโดยใช้ สีย้อมผ้าที่สกัดจากเปลือกผลชาน้ำมันและใบหญ้าแฝก เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

 

โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา บางส่วนของสินค้าจากผู้เข้าอบรมกับ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนาฯ

อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ฝึกอบรมด้านวิชาชีพที่เปิดอบรมตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ฯลฯ เป็นหลัก ถือเป็นการ “ระเบิดจากข้างใน” และสร้างมิติใหม่ในการเรียนรู้

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีหลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีพที่หลากหลาย เพื่อสร้างอาชีพ สร้างโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่ขาดโอกาสในการศึกษาในระบบ

ตั้งแต่ พ.ศ.2554 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 100,901 คน และผู้ใช้บริการทางสังคมด้านอื่นๆ มากกว่า 2,050,204 คน YouTube 106 เรื่อง ผู้ติดตาม 28,215 คน สามารถเอื้อประโยชน์และส่งเสริมความรู้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนให้พัฒนาตนเองและพึ่งพาตัวเองได่อย่างยั่งยืน

 

โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก)

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา บรรจุภัณฑ์กะปิบ้านปากจกและน้ำยาล้างจานใบเสม็ด

จากผู้ประสบภัยสึนามิ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา พ.ศ.2547 สู่ชีวิตใหม่ ชุมชนใหม่ สำเร็จได้ด้วยการพัฒนาตามหลัก ‘ภูมิสังคม’ ด้วย โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก)

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ ร่วมกับ ‘สภากาชาดไทย’ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายหนักจากคลื่นสึนามิ บนเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

โดยสร้างหมู่บ้านขึ้นใหม่และให้เป็นชุมชนตัวอย่าง ทั้งบ้านพักอาศัยถาวร สาธารณูปโภค พัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชาวบ้านกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ภายใต้ชื่อ โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า บ้านทุ่งรัก

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา ประมง วิถีชีวิตเลี้ยงชีพชุมชนเกาะพระทอง

นอกจากนี้ได้ดำเนินการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนตามหลัก 'ภูมิสังคม' โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านทุ่งรักประกอบอาชีพประมงตามวิถีดั้งเดิม

จัดสร้างท่าเทียบเรือและจัดทำเรือประมงหัวโทงไฟเบอร์กลาส ทดแทนเรือประมงที่สูญหายไปกับคลื่น

รวมถึงการจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือในการทำประมง และสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานแปรรูปอุตสาหกรรมชุมชน ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยฉาบ หน่อไม้ดอง น้ำมันเสม็ด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกะปิ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ชาวบ้านปากจก ดั้งเดิม

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา กุ้งเคย วัตถุดิบของกะปิบ้านปากจก

13 ต.ค. วันนวมินทรมหาราช รำลึกเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อคนไทย กับมูลนิธิชัยพัฒนา ชาวชุมชนบางบ้านยังใช้ครกไม้ทำกะปิ

มูลนิธิชัยพัฒนาได้เพิ่มมูลค่าและพัฒนาให้เป็นสินค้า กะปิบ้านปากจก ขึ้นชื่อ จากบ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี

กะปิบ้านปากจก ทำจาก ‘กุ้งเคย’ ซึ่งเป็นเหมือนของขวัญจากความอุดมสมบูรณ์ของทะเลอันดามัน ผ่านการหมักร่วม 3 คืนเต็มก่อนนำออกตากแดด ตามมาด้วยขั้นตอนการตำที่บางบ้านยังใช้ครกไม้เหมือนเมื่อในอดีต

นี่คือชัยชนะก้าวสำคัญของคนบ้านทุ่งรักที่ฟื้นคืนชีวิตจากภัยสึนามิ  เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง