‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566

รางวัล ‘หนังสือดีเด่น’ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการผลิตหนังสือดีมีคุณภาพ ผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หรือ สพฐ.ประกาศผลรางวัล 'หนังสือดีเด่น' ปี 2566

รางวัลหนังสือดีเด่น มีการจัดประกวดต่อเนื่องทุกปี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการผลิตหนังสือดีมีคุณภาพและสารประโยชน์สู่สาธารณชน กระตุ้นให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน

ส่งเสริมให้ผู้จัดพิมพ์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการผลิตหนังสือ เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญผลิตหนังสือดี มีคุณค่า มีสารประโยชน์ รวมทั้งพัฒนารูปแบบและเนื้อหาสาระให้น่าสนใจ ทำให้มีหนังสือที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น

การประกวด 'หนังสือดีเด่น' ประจำปี พ.ศ. 2566 เป็นการประกวดหนังสือที่ตีพิมพ์โฆษณาเป็นเล่มบริบูรณ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2565 ในปีนี้มีผู้ส่งประกวดรวมทั้งสิ้น 411 เรื่อง จาก 100 กว่าสำนักพิมพ์

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566 Cr. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แยกเป็นกลุ่มหนังสือ สารคดี, นวนิยาย, กวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี, เด็กอายุ 6-11 ปี, วัยรุ่น อายุ 12-18 ปี, การ์ตูน, นิยายภาพ และหนังสือสวยงาม 

คณะกรรมการพิจารณาตัดสิน มี ดร. พนม พงษ์ไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการ มีผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (ดร. วิษณุ ทรัพย์สมบัติ) เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566 Cr. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

ผลการตัดสินปี 66 มีหนังสือได้รับรางวัล 55 เรื่อง แยกเป็น รางวัลดีเด่น 14 เรื่อง, ชมเชย 41 เรื่อง ดังนี้

  • รางวัลดีเด่น

1)หนังสือสารคดี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง 'ควอนตัม : จากแมวพิศวง...สู่ควอนตัมคอมพิวเตอร์' โดย ดร. บัญชา  ธนบุญสมบัติ / สำนักพิมพ์สารคดี

2)หนังสือสารคดี ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และชีวประวัติ เรื่อง 'ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย' โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ / สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

3)หนังสือสารคดี ด้านการท่องเที่ยว อาหาร เรื่อง 'I DRAW & TRAVEL VOL. 1.1 Serendipity บังเอิญโชคดีที่ได้พบ' โดย รงรอง หัสรังค์ / สำนักพิมพ์ I draw & travel

4)หนังสือนวนิยาย เรื่อง 'เส้นทางสายลึกลับ' โดย กร ศิริวัฒโณ / สำนักพิมพ์บ้านกาลก่อง

5)หนังสือกวีนิพนธ์ เรื่อง 'เราอยู่บนดาวดวงเดียวกันไหม' โดย นิตา มาศิริ / จัดพิมพ์โดย สาวิตรี  ทนเสน

6)หนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่อง 'เรายังยิ้มได้ ดอกไม้ยังแย้มบาน' โดย อุเทน พรมแดง / สำนักพิมพ์อินเทรนด์

7)หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี เรื่อง 'แมวอ้วนกับแมวผอม' โดย ปรีดา ปัญญาจันทร์ / สำนักพิมพ์คิดบวก

8)หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี

ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง 'บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม'โดย กฤษณะ กาญจนาภา-วชิราวรรณ ทับเสือ บริษัท สานอักษร     

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566  Cr. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

ประเภทสารคดี  ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

9)หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12 - 18 ปี

ประเภทบันเทิงคดี เรื่อง 'เหมือนหั่นหัวหอม' โดย สองขา / แมงมุมบุ๊ก

ประเภทสารคดี เรื่อง 'โมงยามแห่งความสิ้นยินดี' โดย กิตติศักดิ์ คงคา-ณภัทร สัตยุตม์ / บริษัท 13357

ประเภทบทร้อยกรอง เรื่อง 'รอยถิ่น หอมกลิ่นทุ่ง' โดย ฤทธิฤต อัคริยานนท์ / อาร์ตบุค

10)หนังสือการ์ตูนและหรือนิยายภาพ

การ์ตูนและหรือนิยายภาพทั่วไป เรื่อง 'ควันหลง และ หมอกขาว' โดย มนัสวี โรจนพรรณ / สำนักพิมพ์ฟูลสต๊อป

การ์ตูนและหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก เรื่อง 'สุดสาคร' โดย บุณยวีร์ เซ่งไพเราะห์ / สำนักพิมพ์ห้องเรียน

การ์ตูนปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล   

11)หนังสือสวยงาม

ประเภททั่วไป ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล   

ประเภทสำหรับเด็ก เรื่อง 'บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม' โดย กฤษณะ กาญจนาภา-วชิราวรรณ ทับเสือ / บริษัท สานอักษร

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566 Cr. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

  • รางวัลชมเชย 

1)หนังสือสารคดี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มี 2 เรื่อง

-'ปล่อยเต่า : ทำบุญได้บาป' โดย ศาตพจี รินสุวรรณ /จัดพิมพ์โดย อาร์ตบุค

-'เล่าเรื่องอนุภาค อะตอม ควอร์ก เซิร์น และพระมหากรุณาธิคุณ' โดย ไพรัช ธัชยพงษ์ / สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

2)หนังสือสารคดี ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และชีวประวัติ มี 3 เรื่อง

-'ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้' โดย ศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี / บริษัทมติชน

-'วิถีมอญในไทย' โดย พิศาล บุญผูก / โครงการชุมชนพหุปัญญา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช

-'ศาสตร์ ศิลป์ จิตวิญญาณ วิหารล้านนา' โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์  บุณยสุรัตน์ / สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

3)หนังสือสารคดี ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล

4)หนังสือนวนิยาย มี 3 เรื่อง

-'คนจรดาบ' โดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง / บริษัท มติชน      

-'ฟ้าลิขิต : จากซัวเถาสู่สยาม' โดย ส.เทพรำเพย / สำนักพิมพ์แสงดาว

-'โลกใบเล็กของแทนชน' โดย สาโรจน์  มณีรัตน์ / บริษัท ดินแดนบุ๊ค

5)หนังสือกวีนิพนธ์ มี 3 เรื่อง

-'มิปรารถนาเป็นอื่น' โดย กวิสรา ม่วงงาม / สำนักพิมพ์บ้านแม่น้ำ

-'วาดชีวิตลิขิตฝัน' โดย สุปาณี พัดทอง / จัดพิมพ์โดย อาร์ตบุค

-'หมื่นลี้เดียวดาย' โดย มหา สุรารินทร์ / จัดพิมพ์โดย ชินวัฒน์  ตั้งสุทธิจิต

6)หนังสือรวมเรื่องสั้น มี 3 เรื่อง

-'ชนปทปเทโส ‘มหกรรมชีวิตในชนบทประเทศ’' โดย  พุทธมาลัย / จัดพิมพ์โดย ดร.ศิริศักดิ์  อภิศักดิ์มนตรี

-'โลกบนเขาวัว' โดย อนุสรณ์ มาราสา / สำนักพิมพ์ บลูเบิร์ด

-'สู่อนาคตกาล' โดย อุเทน พรมแดง / สำนักพิมพ์อินเทรนด์

7)หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี มี 3 เรื่อง

-'กระจกวิเศษของปุ๊บปั๊บ' โดย มณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา / สำนักพิมพ์ แฮบปี้คิดส์

-'ตะวันแจ่มใสกับดอกไม้ร่าเริง' โดย ตุ๊บปอง / สำนักพิมพ์ เฮลโลคิดส์

-'พลายมะกอ' โดย ผศ. จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ / สำนักพิมพ์ เวิลด์คิดส์

8)หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี

ประเภทบันเทิงคดี มี 3 เรื่อง

-'ผ่อผนัง อีกครั้งน่อ' โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย / จัดพิมพ์โดย อู่ทอง

-'มหัศจรรย์พรรณพฤกษ์' โดย สุมาลี / นานมีบุ๊คส์

-'สมุดมหัศจรรย์' โดย ‘เพลิน’ สิริอนงค์ เทวกุล ณ อยุธยา / สำนักพิมพ์ ผีเสื้อเด็ก ๆ

‘สพฐ.’ ประกาศแล้ว ‘หนังสือดีเด่น’ ประจำปี 2566 Cr. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง

-ชุดวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว เรื่อง 'อาหารและการย่อย' โดย ชนิกานต์  นุ่มมีชัย / บริษัท ประภาคาร

-'หนูรอบรู้ ชวนเพื่อนดูนก' โดย นันทวัน วาตะ / บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง

-'หนูรอบรู้ ชวนเพื่อนดูแมลง' โดย นันทวัน วาตะ / บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง

9)หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี

ประเภทบันเทิงคดี มี 2 เรื่อง

-'แค่โอบกอดตัวเองให้เป็น' โดย คิดมาก / สปริงบุ๊กส์

-'เพราะโลกกลม สักวันหนึ่ง ความรักนั้น จะวนกลับมาหาเรา' โดย ปะการัง / สำนักพิมพ์เช้าวันอาทิตย์

ประเภทสารคดี มี 3 เรื่อง

-'ป่าเหนือในลมหนาว' โดย ณัฐ นักเดินทาง / สำนักพิมพ์บ้านหนังสือ

-'รู้ 4 สิ่งนี้ การเงินดีตลอดกาล' โดย สุนีย์ เอี่ยมแสงสิน / สำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล

-'Full time job to win งานประจำทำแล้วมีความสุข' โดย วิสุทธิ์ ถาวรรัตน์ / สำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล

ประเภทบทร้อยกรอง มี 3 เรื่อง

-'ดอกสร้อยร้อยใจโลก' โดย วีรวัฒน์  อินทรพร / สำนักพิมพ์ อาร์ตบุค

-'รัตนกานท์' โดย วิไลรัตน์ ปัญญาสงค์ / มหาวิทยาลัยรังสิต

-'รวมบทร้อยกรอง วิมานแมน' โดย แมน คล้ายสุวรรณ / มหาวิทยาลัยรังสิต

10)หนังสือการ์ตูน และหรือ นิยายภาพ

ประเภททั่วไป มี 3 เรื่อง

-'เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ตอน แค้นพยาบาท' โดย เฟน สตูดิโอ / บันลือ พับลิเคชั่นส์

-'10 THINGS I HATE ABOUT MAOHAI บ้านนี้หมาไม่เห่า' โดย พลอยจะเพลิน เผ่าพันเลิด / สำนักพิมพ์แซลมอน 

-'DARK HUMOUR ขำ-ขื่น' โดย นิค ขายหัวเราะ / บันลือ พับลิเคชั่นส์

ประเภทสำหรับเด็ก มี 1 เรื่อง

-'ผีเวียดนาม' โดย ทองปราย สตูดิโอ / นานมีบุ๊คส์

ประเภทปกิณกะเชิงสร้างสรรค์ มี 1 เรื่อง

-'สัมมา GRAFFITI' ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ณฏฺฐลกฺขโณ (นัด ถะ ลัก ขะ โน)

11)หนังสือสวยงาม

ประเภททั่วไป  มี 2 เรื่อง

-'เรือนวรรณศิลป์' ประพันธ์และจัดพิมพ์โดย ดร.เพชรยุพา  บูรณ์สิริจรุงรัฐ

-'อารยะแห่งสยามประเทศ' โดย วิยะดา ทองมิตร / สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

ประเภทสำหรับเด็ก มี 3 เรื่อง

-'นกฮูกที่ไม่เคยบิน' โดย ครูแจนแจน / สำนักพิมพ์ แบร์ฟุตบานาน่า

-'วันนี้หนูกินอะไรดีนะ' โดย วิรตี ทะพิงค์แก / สำนักพิมพ์เมาน์เทนมายด์

-'สมุดมหัศจรรย์' โดย ‘เพลิน’ สิริอนงค์ เทวกุล ณ อยุธยา / สำนักพิมพ์ ผีเสื้อเด็ก ๆ

ผู้ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี 2566 จะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์