ชมฟรี! 'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

ชมฟรี! 'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

นิทรรศการสัญจร 'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น' จะจัดแสดงให้ชมทั้งในกรุงเทพฯและขอนแก่น วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67 ณ TCDC เจริญกรุง กรุงเทพฯ

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดนิทรรศการ โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น

โดย ยุโมโตะ โคอิจิ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโยไค โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

กรุงเทพฯ

วันที่ 15 มิถุนายน-วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.30 น. – 19.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) ณ ห้องแกลอรี่ชั้น 1 Thailand Creative & Design Center (TCDC)

ขอนแก่น

วันที่ 7 สิงหาคม-วันที่ 8 กันยายน 2567 เวลา 10.30 -19.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) ณ TCDC จังหวัดขอนแก่น

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

Cr. Japan Foundation, Bangkok

โยไค (妖怪) หรือ ภูตผีญี่ปุ่น

คือ ปรากฏการณ์แปลกประหลาด เกิดขึ้นในธรรมชาติ อยู่เหนือพลังของมนุษย์ที่จะสร้างขึ้น

ในยุคโบราณผู้คนใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีความกลัวต่อฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ไร้คำอธิบาย

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

เกิดเป็นแนวคิดวิญญาณนิยม และความเชื่อเรื่องเทพเจ้า กลายมาเป็นตำนาน โยไค เชื่อมโยงกับมิติหลากหลายในชีวิตชาวญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน

ในบันทึกประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นอย่าง โคจิกิ (古事記) และ นิฮงโชกิ (日本書紀) ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พูดถึงเทวตำนาน และโยไคที่มีจินตภาพน่ากลัว เป็นศัตรูกับมนุษย์ 

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

สิ่งที่สร้าง โยไค ให้ออกมาเป็นรูปธรรมคือ เอมากิ (絵巻) หรือ ภาพม้วน ในยุคสมัยเฮอัน (ปีค.ศ.794-1185) เป็นภาพม้วนเกี่ยวกับพุทธศาสนาจากประเทศจีน

แฝงเรื่องราวโยไคเพื่อเผยแพร่คำสอนของพุทธศาสนา ที่แม้แต่โยไคซึ่งทำความชั่วมาก่อน ถ้าอุทิศตนเข้าสู่ทางธรรมก็สามารถไปสู่สุขคติได้

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

ในสมัยมุโรมาจิ (ปีค.ศ.1336-1573) ปรากฏ ภาพม้วนเฮียกคิยาเกียว [百鬼夜行絵巻] รู้จักกันในชื่อ ขบวนราตรีร้อยอสูร

เป็นภาพม้วนโยไคนับร้อยออกมาเดินขบวนและเต้นรำยามวิกาล เปลี่ยนมุมมองผู้คนจากความกลัวเป็นตลกขบขัน ได้รับความสนใจถูกนำมาวาดเลียนแบบหลายครั้ง

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

โยไค เปลี่ยนจากความคลุมเครือเป็นรูปธรรม แพร่หลายสู่ประชาชน พัฒนาถึงขีดสุดในช่วงยุคเอโดะ (ปีค.ศ.1615-1868)

วิวัฒนการของภาพพิมพ์แกะไม้หลากสีสันที่เรียกว่า นิชิกิเอะ (錦絵) สร้างความรุ่งเรืองให้กับสิ่งตีพิมพ์ในยุคนี้ นอกจากหนังสือภาพ นิทาน นิยาย เกี่ยวกับโยไคจะได้รับความนิยมผลิตออกมาจำนวนมากแล้ว

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

ยังมีเกมกระดาษสีสันสวยงามหลายรูปแบบที่นำเสนอโยไคน่ารักน่าเอ็นดู ในราคาที่จับต้องได้ ทำให้ได้รับความนิยมกว้างขวาง นำพาให้เหล่าภูตผีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนมากขึ้น 

คำว่า โยไค ถูกใช้ครั้งแรกในยุคเมจิ (ปีค.ศ. 1868-1912) เป็นเพียงคำที่ใช้ในเชิงวิชาการ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์โยไคในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ โยไคศึกษา เป็นหัวข้อค้นคว้าของนักวิชาการในตอนนั้น

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

วัฒนธรรมโยไคได้กลับมาโลดแล่นในสังคมอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โยไคได้รับการศึกษารวบรวมอย่างเป็นระบบในยุคเมจิ

ถูกหยิบยกมานำเสนอในรูปแบบตัวละครวัฒนธรรมประชานิยม (Pop Culture) ปรากฏในหนังสือการ์ตูน แอนิเมชัน และเครื่องเล่นเกม มีบทบาทในสังคมญี่ปุ่น และแพร่ขยายไปนอกประเทศ

จากความเชื่อสู่สิ่งบันเทิง โยไค กลายเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นและยังคงพัฒนาต่อเนื่องสืบไป

ชมฟรี! \'โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น\' วันที่ 15 มิ.ย.-28 ก.ค. 67

การเดินทาง

มี 5 เส้นทาง

1) รถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสะพานตากสิน ทางออกที่ 3 เลี้ยวซ้าย เดินมาตามถนนเจริญกรุง 15-20 นาทีจนถึงอาคารไปรษณีย์กลาง

2) รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงสถานีหัวลำโพง ทางออกที่ 1 เดินเลียบถนนมหาพฤษฒาราม จนถึงสี่แยกพระยา เดินตรงมาตามถนนเจริญกรุงประมาณ 3-5 นาที จนถึงอาคารไปรษณีย์กลาง

3) เรือโดยสาร ลงที่ท่าเรือสี่พระยา เดินต่อมาประมาณ 5 นาทีจนถึงอาคารไปรษณีย์กลาง

4) รถโดยสารประจำทาง สาย 1 และ 75 ลงป้ายด้านข้างประตูทางเข้าอาคารไปรษณีย์กลาง

5) รถยนต์ส่วนตัว จอดรถได้ที่อาคาร CAT *มีค่าบริการ

ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ https://ba.jpf.go.jp/th/yokai_parade/

...........................

อ้างอิง : Japan Foundation, Bangkok