Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

สตูดิโอผู้ผลิตหนังสยองขวัญชื่อดังอย่าง Get Out, Insidious, Paranormal Activity, The Purge, M3GAN นำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมีโดดเข้าจับธุรกิจเกมออนไลน์ที่มีเม็ดเงินมหาศาล

Blumhouse (บลัมเฮาส์) คือบริษัทโปรดักชั่นในลอสแองเจลีสที่สั่งสมชื่อเสียงมาจากการสร้างหนังสยองขวัญต้นทุนต่ำ แต่มีคุณภาพ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนสามารถก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของวงการ เทียบเคียงกับสตูดิโอยักษ์ใหญ่ต้นทุนหนาได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ผลงานของค่ายนี้หากเอ่ยชื่อออกมาคอหนังเป็นต้องร้องอ๋อ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ Paranormal Activity ที่นำภาพจากกล้องวงจรปิดหรือกล้องแฮนดิแคมมาถ่ายทำได้อย่างชาญฉลาดจนแทบจะกลายเป็นต้นตำรับเวลาพูดถึงหนังแนวนี้

แฟรนไชส์หนังผีชื่อดัง Insidious, Sinister, Split, Happy Death Day, The Black Phone, M3GAN แฟรนไชส์ The Purge

 

Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

 

ส่วนผลงานคุณภาพก็มีไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Get Out ที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมไปครอง และทำให้ชื่อของ Blumhouse เฉิดฉายขึ้นมาในฐานะค่ายหนังสยองขวัญคุณภาพ

 

Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

 

นอกจากนี้ยังมี BlacKkKlansman ผู้ชนะออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ประจำปี 2019 รวมไปถึง Whiplash หนังขวัญใจคนดูและนักวิจารณ์ที่ไปไกลถึงขนาดได้เข้าชิงออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมกันเลยทีเดียว

 

Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

ถึงแม้จะไปได้สวยในวงการภาพยนตร์ แต่บริษัทที่ขึ้นชื่อด้านความ creative อย่าง Blumhouse ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่กลับนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมีไปลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตต่อเนื่องและมีเม็ดเงินมหาศาลอย่างธุรกิจเกม

 

โดยบลัมเฮาส์ประกาศว่าจะหันไปทำธุรกิจเกมที่อ้างอิงมาจากหนังสยองขวัญเป็นหลัก โดยเกมแรกที่จะปล่อยออกมาคือ Fear the Spotlight ที่เป็นการแสดงความคาราวะต่อหนัง teen horror ยุค 90

 

Blumhouse ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง โดดมาทำธุรกิจเกมออนไลน์

 

Abhijay Prakash ประธานบลัมเฮาส์ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเกี่ยวเนื่องกันหลายอย่าง

“ผมว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะอยู่ในแวดวงบันเทิงโดยไม่สังเกตเห็นหรือรับรู้เรื่องเกม ตลาดนี้เติบโตขึ้นทั่วโลก แล้วผู้เล่นก็หลากหลาย ซึ่งมันสอดคล้องกับกลุ่มคนดูที่เรามีอยู่แล้ว มันจึงมีโอกาสทางธุรกิจสำหรับเราที่จะทำในสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในหนัง แล้วนำมันมาใช้กับในเกมด้วย”

 

 

ทั้งนี้ บลัมเฮาส์ถือเป็นค่ายหนังรายล่าสุดที่โดดลงมาเก็บเกี่ยวเม็ดเงินในตลาดเกม ตามหลังค่ายหนังอินดี้อย่าง Annapurna ค่าย Skydance Media ผู้ผลิตหนังฟอร์มยักษ์อย่าง Top Gun: Maverick และ Mission: Impossible หลายภาค

ขณะที่สตูดิโอยักษ์ใหญ่อย่าง Warner Bros. Discovery นั้นแตกบริษัทผลิตเกมที่อ้างอิงจากหนังในค่ายของตัวเองมานานร่วม 20 ปีแล้ว เช่น เกมจากหนัง Harry Potter อย่าง Hogwarts Legacy, Quidditch Champions เกมจากหนังซูเปอร์ฮีโร่ค่ายดีซีอย่าง Batman, Justice League ฯลฯ

 

Danny Bilson ผู้อำนวยการ USC Games ได้พูดถึงธุรกิจเกมเอาไว้ได้น่าสนใจว่า

“มันไม่ใช่แค่เรื่องของเม็ดเงินที่จะเก็บเกี่ยวได้เท่านั้น แต่การเล่นเกมคือวัฒนธรรม การมาลงทุนในธุรกิจเกมก็เปรียบเสมือนการตกปลาในที่ที่มีปลาอยู่ชุกชุมนั่นเอง”

 

เฉพาะแค่ในสหรัฐฯ ข้อมูลจาก Entertainment Software Assn. ระบุว่ามีคนอเมริกันกว่า 190 ล้านคนเล่นเกมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนการใช้จ่ายเรื่องเกมของผู้บริโภคสหรัฐนั้นอยู่ที่ 57.2 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว

ส่วนในระดับโลก บริษัทวิจัยเกมจากอัมสเตอร์ดัง Newzoo ให้ข้อมูลว่าอุตสาหกรรมเกมโลกมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 183.9 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 ขยับขึ้นจากปี 2022 เล็กน้อย (ข้อมูลอัพเดทในเดือนพฤษภาคม)

 

Josh Chapman ผู้ร่วมก่อตั้ง Konvoy Ventures เวนเจอร์แคปิตอลในเดนเวอร์ที่เน้นการลงทุนในธุรกิจเกมเป็นหลัก ให้ความเห็นว่า

“ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเลยที่ค่ายหนังฮอลลีวูดจะมองธุรกิจเกมเป็นรายได้เสริม เพราะมันเป็นวิธีนำเอาทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของพวกเขาไปหาฐานแฟนกลุ่มใหม่”