แพ้อาหารที่มี"กลูเตน" จะรู้ได้อย่างไร
สงสัยไหมว่า เราแพ้อาหารที่มีส่วนผสมกลูเตนหรือไม่ แล้วจะรู้ได้อย่างไร เพราะอาหารบางชนิดไม่มีฉลากกำกับ ต้องสังเกตอาการอย่างไร
คนที่แพ้กลูเตนจะรู้ได้ยังไง...
ภาวะที่ร่างกายมีปฎิกิริยาไวต่อกลูเตน โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในธรรมชาติ ซึ่งมีชื่อทางการว่าโพรลามิน (Prolamin) โปรตีนชนิดนี้พบได้ในธัญพืชจำพวกข้าวบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ หรือข้าวไรย์ นิยมนำมาทำขนมปัง เบเกอรี่ชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นพาสต้าหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว
กลูเตนจากข้าวสาลี เป็นแหล่งโปรตีนจากพืช ใช้เป็นอันดับสองรองจากโปรตีนถั่วเหลือง เนื่องจากทำให้อาหารมีความยืดหยุ่น ถ้านำมาทำขนมปังก็จะเหนียวนุ่มอร่อย
การบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมกลูเตน มีผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายบางคนที่อาจมีภาวะแพ้ต่อโปรตีนชนิดนั้น
รู้ไหมว่าแพ้กลูเตน
คนที่มีอาการแพ้กลูเตน ไม่อาจบอกได้อย่างแน่ชัด อาจเป็นเพราะกรรมพันธ์ุ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยคนที่แพ้กลูเตน จะมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กมีปัญหา
ส่วนการวินิจฉัยอาการแพ้กลูเตนหรือไม่...
ทำได้แค่สังเกตอาการ แล้วปรึกษากับแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนอาหารการกินให้ถูกต้อง ซึ่งคุณหมอจะมีขั้นตอนการตรวจหาอาการของโรคอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด หรือการตัดชิ้นเนื้อจากลำไส้ไปตรวจวิเคราะห์
ส่วนการตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อหาสารที่แพ้ เหมือนการทดสอบว่าแพ้อาหารทะเล ไข่ หรือสารเคมีอื่นๆ โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะใช้เข็มขนาดเล็กมากฉีดกลูเตนปริมาณมาตรฐานในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนของผู้ทดสอบ
และรอดูขนาดของปฏิกิริยาการบวมแดงที่จะเกิดขึ้นเมื่อทิ้งไว้ในระยะเวลาที่กำหนดเทียบกับบริเวณที่ฉีดน้ำกลั่นในปริมาณที่เท่ากัน หากมีการบวมแดงเป็นวงกว้างกว่าตัวควบคุมคือน้ำอย่างมีนัยสำคัญก็แสดงว่าแพ้กลูเตน ซึ่งการแพ้ข้าวสาลีก็ทดสอบแบบเดียวกัน
สำหรับบางคนที่การกินอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน อาจเป็นอันตรายร้ายแรงสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสารอาหารดังกล่าว โดยรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมเดียว
และควรอ่านส่วนประกอบอาหารบนฉลาก(ถ้ามี)ทุกครั้งก่อนรับประทาน หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบอาหารเป็นอาหารปลอดกลูเตน
อาการแพ้กลูเตน
การแพ้กลูเตนที่อยู่ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์ ระยะเวลาในการแพ้จะเกิดขึ้นทันที เหมือนการแพ้อาหารอื่นๆ
แต่ถ้าเกิดจากโรคเซลิแอคจะแตกต่างกัน เพราะโรคนี้เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง ใช้ระยะเวลาในการแพ้นานกว่า ไม่เกิดทันทีที่ทานอาหาร จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานหรือสารต่อต้านกลูเตนที่ได้รับ
โดยสารต่อต้านกลูเตนจะไปทำลายลำไส้เล็ก ทำให้การดูดซึมอาหารผิดปกติ ไม่สามารถดูดซึมอาหารที่บริเวณลำไส้เล็กได้ สารอาหารเหล่านั้น ได้แก่ ธาตุเหล็กและวิตามินชนิดต่างๆ เป็นต้น หากตรวจพบได้เร็วผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเล็กน้อย
แต่ถ้าตรวจพบช้า จะมีอาการถ่ายเป็นมันลอย ดูดซึมอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ร่างกายขาดสารอาหาร และอาจเสียชีวิตได้ด้วย แต่พบน้อยมาก ส่วนมากผู้ที่เสียชีวิตมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
อาหารไร้กลูเตน
-กลุ่มข้าว จำพวกแป้งได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มัน เผือก ฟักทอง วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ-
-กลุ่มเนื้อสัตว์ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไข่ สันในหมู อกไก่ ปลา และหลีกเลี่ยงการปรุงรสจากซอสที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี
-กลุ่มน้ำมันได้แก่ ถั่ว เนย และใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารได้ทุกชนิด
-กลุ่มผักผลไม้กินได้ทุกชนิด แต่ควรระวังขั้นตอนการปรุงไม่ให้มีส่วนผสมของแป้งสาลี
-กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมนมดื่มได้ถ้าไม่แพ้น้ำตาลแลคโตส สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต้องอ่านส่วนผสมจากฉลากโภชนาการ เช่น โยเกิร์ต
............
อ้างอิง
-https://hellokhunmor.com/
- www.pobpad.com