“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ "เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ "เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร

WHO เตือนให้ชาวโลก “ลดเค็ม” ในอาหารเพื่อเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ควรกินวันละไม่เกิน 2,000 มก. ทุกวันนี้คนไทยกิน 4,000 มก. เกินทะลุพิกัด จึงควรรู้ "เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร

ความเค็มมาจากเกลือและโซเดียมในอาหาร คนไทยกินเค็มเกินกว่าความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่า คือกินโซเดียมประมาณ 4,000 มิลลิกรัม ต่อคน ต่อวัน ซึ่งพอ ๆ กับระดับความเค็มของคนทั้งโลก ประเมินโดย WHO

รสเค็มทำให้อร่อยแต่ก็ทำอันตรายถึงชีวิต ส่งผลให้ไตทำงานหนักอาจจนเกิดภาวะไตเสื่อม ไตวาย และนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูกพรุน อัมพฤกษ์ อัมพาต

กินเค็มเสี่ยงโรคร้าย จึงควรรู้ เทคนิคลดเค็ม ในอาหาร ไม่ว่าจะปรุงกินเองหรือกินนอกบ้าน

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร      (Cr. Nadine Greeff Stocksy United/healthline.com)

โซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือ เกลือ 1 กรัม มีโซเดียมประมาณ 400 มิลลิกรัม ในแต่ละวันร่างกายต้องการโซเดียม 2,400 มก. ถ้ารับมากไปจะขับออกทางไต ทำให้ไตทำงานหนัก ผลที่ตามมาคือโรคความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ฯลฯ

เกลือโซเดียม (เกลือแกง) ทำให้เกิดรสเค็มและช่วยถนอมอาหาร มีอยู่ในเครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป ขนมอบกรอบ ผงชูรส ที่ทำให้เกิดรสเค็ม ยังมีโซเดียมที่แฝงอยู่ในส่วนผสมทำอาหารที่ไม่มีรสเค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู ทุกวันนี้เราจึงกินโซเดียมในทุกมื้ออาหาร

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร     WHO มีเป้าหมายลดโซเดียมลง 30% ภายในปี 2025 

กินเค็มทำให้เกิดโรค : องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า แต่ละปีประชากรทั่วโลก 2.5 ล้านคน เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) สาเหตุจากการบริโภค โดยเฉพาะกินโซเดียมเกินขีดจำกัด คือกินเกือบทะลุ 5,000 มก. ต่อคนต่อวัน จากที่แนะนำไม่ควรเกิน 2,000 มก. หรือ 1 ช้อนชา

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร    (Cr. fooddigest.com)

โดยประเทศที่พัฒนาแล้ว รับโซเดียมส่วนเกิน 75% มาจากอาหารแปรรูปและอาหารที่กินนอกบ้าน ส่วนคนในประเทศที่กำลังพัฒนา รายได้ปานกลางถึงต่ำ กินเค็ม (เกิน) จากอาหารที่ปรุงเองในบ้าน

ผลสำรวจของ WHO เมื่อปี 2010 พบว่า ประชากรโลกกินโซเดียมราว 4,000 มก. จึงวางเป้าหมายไว้ว่า ต้องลดลง 30% ให้ได้ภายในปี 2025 ซึ่งแต่ละประเทศก็ประกาศกลยุทธ์ ลดเกลือลดโรค เช่นกัน

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร     (Cr. freepik.com)

พร้อมสรรหาวิธี เทคนิคลดเค็ม ในอาหาร และเก็บข้อมูลการบริโภคโซเดียมของประชากรใน 5 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย จีน และเซาธ์แอฟริกา

หลังเก็บข้อมูลปี 2017 พบว่า คนอังกฤษสามารถลดการบริโภคโซเดียมได้มากที่สุด ส่วนจีน ครองแชมป์คนกินเค็มสูงสุด จากข้อมูลพบอีกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจดี ผู้คนนิยมกินข้าวนอกบ้าน ซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป ยิ่งกินมากยิ่งเสี่ยงเกิดโรคไต หัวใจ ความดัน และเบาหวาน

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร      อาหารแปรรูป ไส้กรอก เบคอน มีโซเดียมสูง (Cr. freepik.com)

จากสถิติอีกพบว่า โซเดียมมีมากในอาหารแปรรูปเนื้อและปลาสูงสุด เช่น เนื้อกระป๋อง เบคอน เนื้อแช่แข็ง เนื้อเบอร์เกอร์ ซาลามี่ เนื้อแห้ง ไส้กรอก เคบับ ไก่อบ ปลากระป๋อง ปลาแช่แข็ง ฯลฯ ยังไม่นับผักผลไม้กระป๋อง และสารพัดเครื่องปรุงรสต่าง ๆ

คนไทย-นักกินเค็มไม่แพ้คนชาติอื่น ข้อมูลจากองค์การสาธารณสุข บอกว่า วัยรุ่นไทยมีภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ตอนนี้เราพบผู้ป่วยเบาหวานและความดันอายุเพียง 20 กว่าปีเพิ่มมากขึ้น พอเริ่มทำงานอายุเข้า 30 ก็เริ่มป่วยเป็นโรคไต

ผลสำรวจล่าสุดพบเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี กินเค็มเกินปริมาณ 2-5 เท่า จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลดเค็มลดโรค ตั้งแต่วันนี้

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร      เกลือประเภทต่าง ๆ (Cr. freepik.com)

เทคนิคลดเค็ม : โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

ชิมก่อนปรุง-ไม่ปรุงเพิ่ม หรือปรุงทีละน้อย  

หัดกินโดยไม่จิ้มซอส คนไทยติดเครื่องปรุง พริก น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอสต่าง ๆ ค่อย ๆ ปรับรสชาติกินโดยไม่จิ้มซอส

ลดอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง

ลดซดน้ำซุป-น้ำยำ ซึ่งจะมีปริมาณโซเดียมสูง

เลือกน้ำปลา-ซีอิ๊วโลว์โซเดียม 

วางกระปุกเกลือ ขวดซีอิ๊ว น้ำปลา ให้ไกลมือ ให้หยิบยากเข้าไว้ 

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร

     วางกระปุกเกลือให้ไกลสายตา (Cr. kirklands.com)

ใช้เกลือทางเลือก หรือ alternative salt เช่น เครื่องเทศสมุนไพรผง เช่น ผงกระเทียม พริกไทย ผงขมิ้น ยี่หร่า หรือเติมความเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว แอปเปิ้ลไซเดอร์ ซอสมะเขือเทศ เหยาะเพียงเล็กน้อยแทนรสเค็มโดยไม่ทำให้อาหารเสียรสชาติ และอาจได้อาหารรสชาติใหม่ ๆ อร่อยกว่าเดิม

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร     alternative salt (Cr. foodinsight.com)

ลดปรุงรสเค็มลงทีละน้อย หากลดทีละมาก ๆ จะทำให้รู้สึกไม่อร่อย โดยปกติลิ้นของคนเราจะเรียนรู้การปรับตัว หากลดเค็มลง 10% จะทำให้ลิ้นไม่สามารถจับรสชาติได้ จึงต้องค่อย ๆ ลดลงทีละน้อย ทำให้เรา (ยัง) มีความสุขกับการกินเหมือนเดิมและดีต่อสุขภาพ

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร     เติมรสเปรี้ยวแทนรสเค็ม (Cr. freepik.com)

กินเค็มแค่ไหนดี : คิดง่าย ๆ ว่า หากเปลี่ยนเกลือเป็นน้ำปลา ร่างกายก็ไม่ควรได้รับน้ำปลาเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน

และจำให้ขึ้นใจว่า โซเดียมส่วนเกิน 75% มาจากเครื่องปรุงรส ได้แก่ ไข่เค็ม ปลาเค็ม เนื้อแดดเดียว แหนม ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน หมูหยอง น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ เต้าเจี้ยว ผงปรุงรส ขนมเช่น ซาลาเปา ขนมปัง เบเกอรี่

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร     (Cr. freepik.com)

ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส เพื่อหา วิธีลดเค็ม ตอนปรุงอาหาร

เกลือ 1 ช้อนชา = โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม

น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ (3 ชช. = 1 ชต.) = โซเดียม 1,160 -1,420 มก.

ซีอิ๊ว 1 ชต. = โซเดียม 690 -1,420 มก.

ซอสปรุงรส 1 ชต. = โซเดียม 1,150 มก.

กะปิ 1 ชต. = โซเดียม 1,430 -1,490 มก.

ซอสหอยนางรม 1 ชต. = โซเดียม 420 - 490 มก.

ผงฟู 1 ชช. = 340 มก.

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร      (Cr. freepik.com)

ปริมาณโซเดียมในอาหาร

ปลาเค็ม 100 กรัม มีโซเดียมเฉลี่ย 5,327 มก.

ปลาร้า 100 กรัม โซเดียม 6,016 มก.

โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 1 ถ้วย (35 กรัม) โซเดียม 900 มก.

ผักกาดดอง 1 กระป๋อง (30 กรัม) โซเดียม 1,720 มก.

ลูกชิ้น 5 ลูก (30 กรัม) โซเดียม 640 มก.

แหนมหมู 1 ไม้ (15 กรัม) โซเดียม 480 มก.

ไส้กรอกหมู 1 ลูก (30 กรัม) โซเดียม 204 มก.

หมูยอ 4 ชิ้น (30 กรัม) โซเดียม 227 มก.

“ลดเค็ม” ลงสักนิด ลดโรค NCDs และ \"เทคนิคลดเค็ม” ในอาหาร      ลดเค็มลดโรค (Cr. saltassociation.co.uk)

ส้มตำไทยใส่ปู โซเดียม 1,520 มก.

ข้าวขาหมู โซเดียม 900 มก.

ผัดไทย โซเดียม 1,190 มก.

(ข้อมูล: ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์สาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)

อ้างอิง : who.int, eurekalert.org, lowsaltthai.com