กาแฟผสมเหล้า “กาลูอา” ศาสตร์แห่งการผสมผสานสองความขม
ศาสตร์แห่งกาแฟกับแอลกอฮอล์ หรือ 'กาแฟผสมเหล้า' ประเทศที่ทำได้ดี โกยเงินเข้าประเทศปีละมหาศาลต้องยกให้เม็กซิโก ที่คนไทยรู้จักคือ 'กาลูอา' หรือ 'คาห์ลัว' (Kahlua)
เปโดร โดเมก (Pedro Domecq) เป็นผู้ริเริ่มผลิต กาลูอา กาแฟผสมเหล้า ในปี 1936 คนไทยเรียก คาห์ลัว ชื่อมีความหมายว่า House of the Acolhua people เป็นเครื่องดื่มรุ่นใหม่ เมื่อเทียบกับเตกีลาที่เกิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17
เดิมคนเม็กซิกันเรียกว่า กาลูฮาฮา (Kaluhaha) ดื่มกันสนุกสนานทั้งหญิงชายรวมทั้งวัยรุ่น ขณะที่แอลกอฮอล์จากเดิม 26.5% หลังจากปี 2004 เป็นต้นมาก็ลดลงเหลือ 20%
กาลูอารุ่นต่าง ๆ
ในเมืองไทย ศาสตร์แห่งการผสมผสานกาแฟกับแอลกอฮอล์ มีความพยายามมาหลายปีแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต จากการที่เป็นกรรมการคัดเลือก OTOP ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแต่แรกเริ่ม มีผู้ทดลองทำและนำมาชิมโดยตลอดและหลายรายทำได้ดีมาก
กาแฟอบาริก้า
การผสมผสานกาแฟกับแอลกอฮอล์ ประเทศที่ทำได้ดีและโกยเงินเข้าประเทศปีละมหาศาลก็ต้องเป็นเม็กซิโก ชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มีมรดกตกทอดที่หลากหลาย หนึ่งในจำนวนนั้นคือวัฒนธรรมด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กาลูอาแบบดั้งเดิม
เมื่อพูดถึงเม็กซิโกส่วนใหญ่จะนึกถึง เตกีลา (Tequila) เหล้าขาวดีกรีแรงเป็นอันดับแรก น้อยคนนักจะคิดถึง กาลูอา (Kahlúa) กาแฟผสมเหล้า ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ศักดิ์ศรีไม่ได้เป็นรองเตกีลา ซึ่งในบ้านเราเรียกกันว่า คาห์ลัว
ผมเคยไปดูโรงงานทำกาลูอา เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว คนที่นั่นบอกว่าสมัยก่อนพ่อแม่สอนให้เด็ก ๆ ดื่ม กาลูอา ตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบแล้ว ใส่น้ำแข็งเย็น ๆ รสชาติหอมหวานเหมือนดื่มนม ขณะที่แอลกอฮอล์ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ถือว่าธรรมดามากสำหรับพวกเขา และเป็นเครื่องดื่มในครอบครัวมากว่าเตกีลาซึ่งดีกรีสูงกว่า
กาลูอาโฮมเมด
กาลูอา ใช้กาแฟเป็นส่วนผสมสำคัญ จึงเรียกว่า คอฟฟี ลิคเคอร์ (Coffee Liqueur) หรือ ลิคเคอร์กลิ่นกาแฟ (Coffee Flavored Liqueur) โดยกาแฟที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์อราบิก้า (Arabica) เนื่องจากคั่วแล้วให้กลิ่นที่ไม่ฉุนเฉียว
On the Rock
ขณะเดียวกันก็ให้รสชาติที่นุ่มนวล และยังมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าพันธุ์โรบัสต้า ประมาณ 1 เท่า คือประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร หรือประมาณร้อยละ 25 ของกาแฟ จากนั้นเลือกเหล้าข้าวโพดหรือรัม (Rum) ที่มีคุณภาพดีมาเป็นส่วนผสมหลัก ทำให้ได้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของ “กาลูอา”
กาอูลา เครื่องดื่มในครอบครัว
อย่างไรก็ตาม กาลูอา สูตรของชาวบ้านที่ทำดื่มกันในครอบครัว มีส่วนผสมง่าย ๆ ประกอบด้วย กาแฟคั่ว น้ำตาลทราย น้ำ และเหล้าข้าวโพด เป็นต้น ตอนหลังมีการเพิ่มส่วนผสมอีกหลายอย่าง รวมทั้งเหล้าก็มีการใช้วอดก้าและยิน ด้วย
ผู้เชี่ยวชาญที่เม็กซิโกบอกว่า กาแฟผสมเหล้า กาลูอา มีคุณสมบัติพิเศษทั้งกลิ่น รสชาติ และกรรมวิธีการผลิต และถ้าจะให้ได้รสชาติที่ชวนฝันก็ต้องดื่มกับน้ำแข็ง หรือ On the Rock แต่ก็สามารถผสมกับอย่างอื่นได้ และถ้าจะให้ดื่มอร่อย ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็น หรือใส่ตู้เย็น
B-52
นิยมใช้ผสมค็อกเทลสูตรดัง ๆ กว่า 10 รายการ เช่น B-52, Baby Guinness, Mudslide, White Russian และ Black Russian เป็นต้น และยังดัดแปลงให้เป็นอาหารอีกมากมาย เช่น ของหวาน ไอศกรีม เค้กต่าง ๆ
Black Russian
กาลูอา ปกติมีแอลกอฮอล์ระหว่าง 22 – 26.5 % ตามกฏหมายสุราของเม็กซิโก แต่ในปี 2002 ได้มีการผลิตรุ่นพิเศษและราคาแพงเรียกว่า Kahlúa Especial วางขายในตลาดสหรัฐเป็นหลัก
White Russian
ก่อนหน้านั้นจะมีขายเฉพาะร้านปลอดภาษี ผลิตจากกาแฟพันธุ์อราบิก้าเหมือนกัน แต่เลือกคุณภาพสูงกว่าหรือพรีเมียม แอลกอฮอล์สูงถึง 35 % และดรายหรือหวานน้อยกว่ารุ่นปกติ
กาลูอา นำเข้ามาในสหรัฐอเมริกาในปี 1962 ได้รับความนิยมมาก จนมีคนบอกว่า กาลูอาเกิดในเม็กซิโก แต่มาโตในสหรัฐ ขณะที่บางคนบอกว่าสาเหตุที่กาลูอา ได้รับความนิยมในหมู่คนอเมริกัน อาจจะเนื่องจากสหรัฐเป็นประเทศใหม่เมื่อเทียบกับเม็กซิโก อารยะธรรมด้านต่าง ๆ รวมทั้งอาหารการกินและเครื่องดื่มไม่มีมาก่อน ดังนั้นเมื่ออะไรเข้าไปจึงสามารถรับได้หมด
กาโมรา
นอกจาก กาลูอา ยังมีอีกหลายแบรนด์และมีขายในบ้านเรา เช่น
กาโมรา (Kamora) เป็นของเม็กซิโกเช่นกัน เพียงแต่รสชาติไม่เข้มข้นเท่ากาลูอา และราคาถูกกว่า แต่ยอดขายเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐ รองจากกาลูอา
Tia Maria
ติอา มาเรีย (Tia Maria) ผลิตโดยบริษัทเดียวกับกาลูอา แต่ Tia Maria ทำในประเทศจาไมก้า ใช้กาแฟบลู เมาน์เทน (Jamaican Blue Mountain) กาแฟชื่อดังของจาไมก้า กับเหล้ารัม วานิลลา และน้ำตาลทราย แอลกอฮอล์ประมาณ 26.5 %
ทำกาลูอา ต้องเก็บกาแฟด้วยมือ
กาลูอา เป็นศาสตร์แห่งแอลกอฮอล์กับกาแฟ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะผสมผสานกันได้อย่างลงตัว และไม่น่าเชื่อว่าจะทำเงินอย่างมหาศาลในกับประเทศผู้ผลิต ซึ่งแอบหวังว่าคนไทยจะได้แสดงฝีมือบ้าง !!