จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’

‘สาเก’ เป็นมากกว่าเครื่องดื่ม ในญี่ปุ่นทั้ง 12 เดือน มีเทศกาลต่าง ๆ และต้องมีสาเกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ‘ฮานามิซาเกะ’ หรือ ‘เทศกาลดอกซากุระบาน’ เดือนเมษายน และเทศกาล ‘โทคะฉุ’ หรือ ‘เทศกาลลูกท้อ’ ตรงกับวันที่ 3 เดือน 3 ในเดือนมีนาคม

เทศกาลโทคะฉุ (Toukashu) เดือนมีนาคม เป็นช่วงที่ลูกท้อ หรือพีช ให้ผลผลิตดี คนญี่ปุ่นจึงนำลูกท้อมาแช่ในสาเก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 เดือน 3

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า ตัวเลขวันที่และเดือนตรงกัน เป็นวันอันทรงพลังของเทพเจ้า วันนี้เมื่อดื่ม โทคะฉุ แล้วจะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ปราศจากโรคภัยใด ๆ และช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น

ส่วนเดือนเมษายนเป็น ฮานามิซาเกะ (Hanamizake) ตรงกับ เทศกาลดอกซากุระบาน คนญี่ปุ่นจะจัดงานเฉลิมฉลองและดื่มสาเก สมัยก่อนเชื่อว่าช่วงเวลาที่ดอกซากุระบาน เสมือนการเริ่มต้นวัฏจักรชีวิตใหม่  ถือว่าเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิที่สดใสงดงาม การดื่มสาเกพร้อมชมความงามของดอกซากุระที่กำลังบานสะพรั่งจึงเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     เทศกาลดอกซากุระบาน

สาเก (Sake) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นที่ทำมาจากข้าว น้ำ โคจิ และยีสต์ ผ่านกระบวนการหมัก

คำว่า สาเก อ่านด้วยเสียงทั่วไป ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่าไซชุ (Seishu) คำว่า ชุ (Shu) เมื่อนำไปรวมกับคำว่า นิฮง (Nihon) ที่หมายถึง ประเทศญี่ปุ่น เป็น นิฮงชุ (Nihonshu) มีความหมายว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำในประเทศญี่ปุ่น

การทำสาเก มีกรรมวิธีอันเป็นเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชนิดอื่น เริ่มจากทำความสะอาดข้าวด้วยน้ำและแช่ไว้นานประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปนึ่ง จากนั้นนำไปผสมคลุกเคล้ากับยีสต์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะผลิตเอนไซม์ที่เปลี่ยนแป้งจากข้าวเป็นน้ำตาล ใช้เวลา 35 ชั่วโมง ทำให้มีเอนไซม์มากขึ้น เรียกว่าโคจิ ( Koji )

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     การเตรียมข้าวเพื่อทำสาเก

เพื่อให้เกิดการหมักเพิ่มขึ้นผสมกับยีสต์ที่เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ โดยกินน้ำตาลจนเติบโตเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เรียกว่า moto เมื่อยีสต์เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จึงเติมน้ำและข้าวนึ่งใหม่ ๆ ลงไปเพื่อให้เกิดการเริ่มต้นประมาณ  3 สัปดาห์

ของเหลวที่ได้จากการหมักคือสาเก จะกรองออกมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำเก็บไว้ในถังเก็บบ่มระยะเวลาสั้น ๆ สุดท้ายนำไปฆ่าเชื้อก่อนการบรรจุขวดหรือถัง สาเกจะมีระดับคุณภาพธรรมดา และคุณภาพพิเศษต่างกัน สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     คัดเลือกข้าว

สาเก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นสุราแช่ที่ผลิตจากการหมักข้าวเจ้าคล้ายสาโท ต่างกันที่สาโทใช้ข้าวเหนียว และหมักด้วยลูกแป้ง ขณะที่สาเกใช้โคจิข้าว (Rice Koji) ซึ่งเป็นข้าวนึ่งปกคลุมด้วยเส้นใยขาวของเชื้อรา คนญี่ปุ่นเขาคิดค้นและพัฒนาวิธีการผลิตกันมายาวนานโดยตลอด จนกระทั่งผลิตสาเกได้คุณภาพนิ่งสนิท

ปัจจุบันมีโรงงานผลิตสาเกทั้งแบบดั้งเดิมและทันสมัยกว่า 4,000 โรง ส่งขายไปทั่วโลก บางแห่งมีโรงงานอยู่ด้วย เช่นที่แคลิฟอร์เนีย

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’    เชื้อโคจิ

สมัยก่อนการผลิตสาเกมีอยู่ในครัวเรือนช่วงหน้าหนาวเท่านั้น ส่วนหนึ่งอาจจะใช้ดื่มแก้หนาว ตอนนั้นยังไม่รู้จักการใช้เชื้อราและยีสต์ ดังนั้นจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในการทำสาเกจึงได้มาจากธรรมชาติ ขณะที่เอนไซม์ในการย่อยข้าวเขาจะอมหรือเคี้ยวในปาก ให้น้ำลายละลายปนออกมาในน้ำ แล้วใช้น้ำนั้นแทนเอนไซม์ในการย่อยข้าวเจ้านึ่ง

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     การเตรียมเชื้อ

ปกติชาวญี่ปุ่นจะผลิตสาเกในฤดูหนาว (12 – 13 องศาเซลเซียส) หลังจากหมักแล้วจะมีแอลกอฮอล์ 20 – 21 ดีกรี ก่อนจะบรรจุขวดจึงมีการเจือจางด้วยน้ำให้แอลกอฮอล์ลดเหลือประมาณ 15 – 17 ดีกรี แต่ถ้าทำเป็นอุตสาหกรรมเขาผลิตทั้งปี เพราะมีเครื่องทำความเย็น ปัจจุบันมีการผลิตสาเกแอลกอฮอล์ 5 – 6 ดีกรี เพื่อเอาใจวัยรุ่นยุคใหม่ บางรายใส่กลิ่นผลไม้ บางเจ้าอัดแก๊ส เป็นต้น

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’

    รินสาเกต้องรินให้ล้นแก้ว

สาเกมีหลายระดับ แต่สาเกคุณภาพเยี่ยมจะผลิตจากข้าวพันธุ์ดีที่ชื่อ ชินปะกุ – ไม (Shinpaku – Mai) พร้อมกับน้ำที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิด โดยมีอำเภอทามาโนฮิ การิ (Tamanohi – Gari) แห่งเมืองฟูมิชิเป็นแหล่งน้ำชั้นเยี่ยมและข้าวชั้นเลิศ ประกอบกับดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม คุณภาพของสาเกจากที่นี่จึงเลิศเลอ เปรียบเป็นไวน์อำเภอทามาโนฮิ – การิ ก็คือบอร์กโดซ์ของฝรั่งเศส

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     วิธีเสิร์ฟสาเกอุ่น

ชาวเมืองทามาโนฮิ – การิ จะนำข้าวชินปะกุ – ไม มาขัดสีประมาณ 55% ไปล้างน้ำจนสะอาด นำไปแช่น้ำและนึ่งประมาณ 30 นาที ผ่านกระบวนการทำให้เย็นและหมักให้เป็นเหล้าอีกประมาณ 1 เดือน จะได้สาเกคุณภาพดี ถ้ากลิ่นหอมอบอวลและหวานนิด ๆ เรียกว่า จุนไม ไดชินโจชู (Junmai Daiginjoshu) รองลงไปเรียกว่า จุนไม ชินโจชู (Junmai Ginjoshu), ได จินโชชู (Dai Ginjoshu) และจินโจชู (Ginjoshu)

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     สาเกจับคู่กับปลาดิบก็เข้ากัน

สาเกมี 2 ชนิด สาเกขาวทำจากข้าวเจ้า ลักษณะเป็นข้าวกึ่งข้าวเหนียว เมล็ดสั้น อ้วนจนเกือบกลมรี และสาเกแดงทำจากข้าวแดงที่เรียกว่า Angkak ซึ่งสีแดงมาจากราแดง Monascas Purpurus

ถ้าพูดถึงเรื่องปริมาณแอลกอฮอล์หรือดีกรี สาเกจะมีดีกรีแตกต่างกันออกไป ถ้าเบาที่สุดประมาณ 12%  เรียกว่า Sake Mild ถ้า 14 –15 % เรียกว่า Sake Dry แต่ถ้าขึ้นไปถึง 16 % เรียกว่า Sake Dry Hard

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’      บันทึกการทำสาเกสมัยโบราณ

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการผลิตคือ ธรรมเนียมในการดื่มสาเก คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกับอาหารเบา ๆ อย่าง ปลาดิบ ยำ สลัด และซูชิ เป็นต้น บางยี่ห้อเข้ากับปลาดิบ บางยี่ห้อเข้ากับซูชิ เหมือนกับไวน์และเครื่องแอลกอฮอล์อื่น ๆ ซึ่งต้องศึกษา

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     ฮานามิซาเกะ เทศกาลจิบสาเกชมดอกซากุระ

สาเกสามารถดื่มได้ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานรื่นเริง งานเลี้ยงเฉลิมฉลองแสดงความยินดีต่าง ๆ  แม้กระทั่งงานศพคนญี่ปุ่นเขาก็ยังดื่มกัน

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     สาเกในงานแต่งงาน

ผมเคยเดินทางไปดูเขาทำปลาปักเป้าที่ญี่ปุ่น และมีโอกาสได้ร่วมงานประเพณีการแต่งงานแบบดั้งเดิมของหนุ่มสาวญี่ปุ่นคู่หนึ่ง เจ้าบ่าวรูปหล่อและเจ้าสาวแสนสวยจิ้มลิ้มเหมือนตุ๊กตา ทั้งคู่ต้องจิบสาเกจากชามใบใหญ่ใบเดียวกันรวม 9 ครั้ง เมื่อครบแล้วจะต้องวางชามสาเกบนพื้นพร้อม ๆ กัน เป็นสัญลักษณ์ว่าได้เป็นคู่สมรสกันอย่างสมบูรณ์แล้ว

ขณะเดียวกันก็เชื่อกันว่าจะทำให้ทั้งคู่ครองรักกันจนแก่เฒ่า และไปสวรรค์พร้อม ๆ กัน ไม่มีคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตไปก่อน

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     สาเกประเภทจุนไม จินโกะ

หลังจากงานแต่งนั้นจบลง มือปรุงสาเกชั้นครูคนหนึ่งของญี่ปุ่น ทำสาเกสูตรพิเศษให้ผมดื่ม บอกว่าดื่มแล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะอะไรทำนองนั้น ด้วยการนำสาเกผสมกับไข่แดง แล้วกลั้นอกกลั้นใจดื่ม

บอกว่าแพทย์แผนโบราณของญี่ปุ่น ยกย่องให้สาเกเป็นเมรัยที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดื่มแล้วจะไม่ค่อยเป็นหวัด

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’

    สาเกออร์แกนิค

สาเกสามารถดื่มได้ทั้งเย็นและอุ่น ๆ สาเกเย็นจะเสิร์ฟในคราฟ (Caraf) เป็นเหยือกใสขนาดเล็ก คล้ายคราฟที่เสิร์ฟไวน์ แต่ของสาเกเล็กกว่า ตั้งบนถังน้ำแข็ง ตอนจะดื่มก็รินใส่มาสุ สาเก (Masu Sake) ซึ่งเป็นลังไม้ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดเล็ก จากนั้นโรยเกลือที่มุมมาสุ สาเก เพื่อเพิ่มรสชาติของสาเกให้สุนทรียิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมเสิร์ฟในแก้วใส ๆ ใบเล็ก ๆ

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’    สายการบินของญี่ปุ่น เสิร์ฟสาเกบนเครื่อง

ขณะที่สาเกร้อนหรือสาเกอุ่น รสชาติค่อนข้างนุ่มนวลละมุนละม่อมกว่าประเภทเย็น ที่บางคนบอกว่าแข็งกระด้างไปหน่อย ก่อนจะเสิร์ฟพนักงานจะนำขวดสาเกไปแช่ในน้ำร้อนจนสาเกอุ่น จึงรินใส่คราฟที่ทำจากดินเผา ดื่มด้วยถ้วยเซรามิกขนาดเล็ก กลิ่นของสาเกที่อุ่น ๆ จะผสมกับคราฟดินเผาได้กลิ่นที่ชวนหลงไหลยิ่งนัก

จิบ ‘สาเก’ ชมดอกซากุระ ใน ‘ฮานามิซาเกะ’ และ ‘เทศกาลลูกท้อ’     ฮานามิซาเกะ (Cr.nippon.com)

หลังโควิด-19 สร่างซา ท้องฟ้าเปิด ผู้คนหลั่งไหลไปเที่ยวญี่ปุ่น เมษายนนี้มี เทศกาลดอกซากุระบาน หรือ ฮานามิซาเกะ จิบสาเกชมดอกซากุระบาน...