‘ข้าวแช่’ และ ‘อาหารหน้าร้อน’ ที่ ‘เดอะ ระวีกัลยา ไดนิ่ง’
‘ข้าวแช่’ และ ‘อาหารหน้าร้อน’ ที่ ‘เดอะระวีกัลยา ไดนิ่ง’ ประกอบด้วย ‘ม้าฮ่อ’ และ ‘ขนมจีนซาวน้ำ’ ซึ่ง ‘ข้าวแช่ระวีกัลยา’ คัดเลือกพันธุ์ข้าวสารที่ดีที่สุด นำไปซาวล้างถึง 7 ครั้งให้สะอาดบริสุทธิ์ ก่อนหุง อบด้วยควันเทียน แล้วแช่น้ำลอยดอกมะลิปลอดสารพิษ
ข้าวแช่ และ อาหารหน้าร้อน ที่ ห้องอาหาร ‘เดอะระวีกัลยา ไดนิ่ง’ The Raweekanlaya Dining ประกอบไปด้วย ม้าฮ่อ และ ขนมจีนซาวน้ำ ซึ่งเมนูนี้อยู่ในสำรับไทยในหน้าร้อนของครัวไทยภาคกลางมาช้านาน
ห้องอาหารแห่งนี้ รังสรรค์สูตรขึ้นด้วยวัตถุดิบเครื่องปรุงที่ประกอบไปด้วย ขิง กุ้งแห้งป่น กระเทียม สับปะรด น้ำปลา น น้ำตาลทราย พริก มะนาว แจงลอน และน้ำกะทิ เมื่อทานรวมกับขนมจีน
จะกลายเป็นรสชาติอาหารที่พิเศษ มีความสมดุลทางโภชนาการ กลมกล่อม สดชื่นสบายท้อง โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนจัด สูตรขนมจีนซาวน้ำเก่าแก่อยู่ใน ตำรับสายเยาวภา
ขนมจีนซาวน้ำ ตำรับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพียงแต่มีข้อแตกต่างจากขนมจีนซาวน้ำทั่วไปคือ
ใช้เส้นพาสตาแทนขนมจีน ส่วนแจงลอน ใช้เนื้อไก่สับปั้นก้อนแทนเนื้อปลาขูด ส่วนเครื่องปรุงอื่นๆ นั้นเหมือนกันในส่วนของ ห้องอาหาร The Raweekanlaya Dining นั้นได้รังสรรค์สูตรโดยให้ความใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร
โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคจนถึงการปรุงแต่งในแบบฉบับโฮมเมด อาทิเช่นน้ำกะทิคั้นสด สับปะรดที่สุกพอดี ไม่กัดลิ้น ไม่เปรี้ยวจนเกินไป น้ำตาลไม่ฟอกขาว ขิงอ่อนซอย (ให้รสชาติกลมกล่อมละมุนลิ้นไม่เผ็ดร้อนจนเกินไป) หรือ แจงลอนที่ทำจากเนื้อปลากรายสดขูดผสมกับสามเกลอในสูตรเฉพาะที่ลงตัวเมื่อทานรวมกัน
ภาพโดย: กอบภัค พรหมเลขา
ส่วน ‘ข้าวแช่’ เป็น อาหารหน้าร้อน ที่มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญ ชาวมอญถือเอาข้าวแช่เป็นอาหาร วันสำคัญในประเพณี วันสงกรานต์ โดยในวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปี หรือวันมหาสงกรานต์จะต้องจัดข้าวแช่ครบชุดไปถวายพระ และถวายแด่เทพีสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเมื่อชาวมอญอพยพเข้ามายังประเทศไทย
'ข้าวแช่' ผ่านกรรมวิธีการหุง ขัด จนเมล็ดข้าวใส เวลาใส่น้ำลงไปไม่ขุ่น
ไชโป้ผัดหวาน
ประเพณีข้าวแช่ในวันสงกรานต์จึงตามติดชาวมอญมายังประเทศไทยด้วย ทำให้ชาวไทยเริ่มรู้จักข้าวแช่ตั้งแต่นั้นเป็ นต้นมา ข้าวแช่ที่คุ้นเคยกันดี ก็คือ ข้าวแช่เสวย อาหารชาววังที่ถูกจัดถวายให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดเมนูข้าวแช่เสวยมาก แต่ในช่วงนั้นข้าวแช่ยังเป็ นอาหารชาววังที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักกันนัก แต่ไม่นานนักข้าวแช่ชาววังก็เป็ นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสังคมทุกชนชั้นจวบจนถึงปัจจุบัน
หมูเค็มฝอย
ขั้นตอนในการทำข้าวแช่ สูตรชาววังที่ห้องอาหารเดอะระวีกัลยาไดนิ่ง The Raweekanlaya Dining เริ่มจากคัดเลือกพันธุ์ข้าวสารที่ดีที่สุด นำไปซาวล้างถึง 7 ครั้งให้สะอาดบริสุทธิ์ ก่อนหุง อบด้วยควันเทียน แล้วแช่น้ำลอยดอกมะลิปลอดสารพิษ เพื่อให้มีกลิ่นหอมชื่นใจ (ในสมัยโบราณไม่มีตู้เย็น ดังนั้น น้ำลอยดอกมะลิ จะใส่ไว้ในหม้อดิน แล้วค่อยตักมาใช้ หรือไม่ก็จัดข้าวแช่ใส่สำรับกระเบื้องเคลือบ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ)
ลูกกะปิ กับหอมแดงสอดไส้
พริกหยวกสอดไส้
ส่วนกับข้าวที่ทานเคียงกับข้าวแช่ ได้แก่ ลูกกะปิ ทอด พริกหยวกสอดไส้(กุ้งและไก่ผัด) หมูเค็มฝอย หัวหอมแดงไทยสอดไส้นึ่ง หัวผักกาดเค็มผัดหวาน และเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่ ก็คือผักสดแกะสลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระชาย แนม แตงกวา มะม่วงเขียวเสวย ต้นหอม หรือพริกชี้ฟ้าสด ที่นำมาประดับอย่างสวยงาม และทานคู่กันนั่นเอง
'ม้าฮ่อ' อาหารว่างหน้าร้อน
อีกหนึ่งเมนูคลายร้อนเป็นของว่างยามบ่าย นั่นก็คือ ‘ม้าฮ่อ’ นิยมทำในเทศกาลงานบุญโดยเฉพาะชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ แต่เดิม อาหารชนิดนี้เป็นขนมเคียงกินแกล้มผลไม้ที่รสเปรี้ยวจัดเช่นสับปะรด
โดยทางร้านได้คัดสรรสายพันธุ์เฉพาะ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ และโรยด้วยไส้คล้ายกับสาคูไส้หมู ไส้ที่ว่านี้เปรียบเสมือนพริกเกลือในปัจจุบัน ที่เอาไว้ทานกับผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งเป็นศิลปะการสร้างสรรค์อาหารอย่างหนึ่ง ทำให้ทานผลไม้รสเปรี้ยวได้ในปริมาณมาก รสชาติอร่อยขึ้น
บรรยากาศภายในห้องอาหาร
ห้องอาหาร ‘เดอะระวีกัลยา ไดนิ่ง’ The Raweekanlaya Dining อยู่ที่ 'โรงแรม เดอะ ระวีกัลยา กรุงเทพ'
ด้านหน้าห้องอาหาร
The Raweekanlaya Bangkok Wellness Cuisine Resort เลขที่ 10,16,16/1,164-172 เทเวศร์ ซอย 2 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
T: +66 (0) 2 628 5999
E-mail: [email protected] www.raweekanlaya.com
'ขนมจีนซาวน้ำ' 'ตำรับสายเยาวภา'
'ไอศกรีมกะทิสด' เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงต่างๆ
'ไอศกรีมชาไทย' ที่ ห้องอาหาร 'The Raweekanlaya Dining'