‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร

การ ‘ออกกำลังกาย’ ทำให้ ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้น ช่วยย่อยสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อบวกกับการกิน ‘โปรไบโอติก’ ช่วยให้ลำไส้แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ชะลอวัย และจิตใจที่แข็งแกร่ง

ระบบย่อยอาหาร เป็นระบบที่รวมอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับอาหาร โดยแปรรูปให้เป็นสารอาหารที่จำเป็น และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย

รวมถึงการกำจัดเอากากอาหารที่ร่างกายไม่ใช้ออกจากร่างกาย ข้อมูลจาก American Society of Gastrointestinal Endoscopy (ASGE) ระบุว่าระบบทั้งหมดนี้มีความยาวประมาณ 30 ฟุต (9 เมตร)

งานวิจัย พบความเชื่อมโยงระหว่างการออกกำลังกายกับระบบการย่อยอาหาร ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพได้ด้วยอาหารที่มี โปรไบโอติก เมื่อระบบย่อยอาหารดี ทำให้ลำไส้แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ชะลอวัย รวมถึงสร้างเสริมให้จิตใจแข็งแกร่ง

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร  ขนมปังโฮลวีตมีเส้นใยช่วยระบบย่อยอาหาร (Cr.image by mdjaff on Freepik)

อาหารไม่ดีส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร : อาหารอเมริกันส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูปสูง ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และไฟเบอร์ต่ำ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาหารประเภทนี้ช่วยลดแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในระบบ ทำให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ยากขึ้น และเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย

ส่งผลให้เกิดการผลิตสารอักเสบในลำไส้ ไม่เพียงเท่านั้นยังทำให้เกิดการอักเสบตามระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะขัดขวางสมรรถภาพทางกีฬาและการฟื้นตัว

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร      (Cr.jcomb on Freepik)

ออกกำลังกายเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหารอย่างไร : งานวิจัยบ่งชี้ว่า การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ไม่ดีในร่างกาย ช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร (Digestive system) ดีขึ้น ช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้ดีขึ้น

ปัจจุบัน นักกีฬาเริ่มมองหาอาหารคุณภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร เมื่อระบบย่อยอาหารดีก็จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการเล่นกีฬาได้ดีขึ้น

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร      สลัดถั่วชิคพีเป็นอาหารของโปรไบโอติก (Cr.Freepik.com)

ระบบย่อยอาหารที่ดีเพิ่มประสิทธิภาพให้นักกีฬา ดังนี้

1   ลดการอักเสบ : การอักเสบเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายชนิด การศึกษาพบว่า การปรับสมดุลไมโครไบโอม (Microbiome - จุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายและอยู่บนผิว) ช่วยลดการอักเสบของระบบ ซึ่งช่วยบรรเทาทั้งระยะสั้นและลดความเสี่ยงในระยะยาว

คำแนะนำคือ กินอาหารที่มีโปรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยลดการอักเสบ และพรีไบโอติก แหล่งอาหารของโปรไบโอติก

 

 

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร      โยเกิร์ต กล้วย แอปเปิ้ล ถั่ว ช่วยระบบย่อยอาหาร (Cr.Freepik.com)

2   ช่วยเพิ่มระดับพลังงาน : การผสมผสานของแบคทีเรียที่เป็นมิตรในไมโครไบโอมอาจช่วยเพิ่มระดับพลังงานได้ อันเป็นวิธีทางชีวเคมีในร่างกายในการจัดเก็บและขนส่งพลังงาน ถ้าในลำไส้มีโปรไบโอติกเพียงพอจะส่งผลต่อระบบเผาผลาญ และช่วยให้นักกีฬาลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นไปยังเซลล์ร่างกาย

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร    โอ๊ตมีลวันละมื้อช่วยให้ลำไส้แข็งแรง (Cr.wallpapers.com)

3   ปรับปรุงความแข็งแกร่งทางจิตใจ : นักกีฬาและโค้ชมักให้เหตุผลว่า ผลงานที่แย่ในการแข่งขันเกิดจากการคิดมากเกินไป งานค้นคว้ายุคใหม่บอกว่า เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้พูดคุยกับสมองผ่านเส้นประสาทเวกัส ซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เช่น การย่อยอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจ

การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่า ลำไส้อาจส่งผลต่อความคิดและสมาธิ ในบางกรณีเมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล แสดงว่ามีส่วนทำให้เกิดอาการป่วยทางจิต เชื่อมโยงต่อความรู้สึกวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร     กิมจิ มีโปรไบโอติก (Cr.Portuguese Gravity on Unsplash)

4   ช่วยการนอนหลับดีขึ้น : ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ มีส่วนสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ และการรับรู้ที่ลดลง เนื่องจากระบบย่อยอาหารควบคุมระดับการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น คอร์ติซอล เซโรโทนิน และกาบา ซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับ และการสร้างเมลาโทนิน ฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อวงจรการนอนหลับ และการตื่นที่ดีต่อสุขภาพ

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร    โยเกิร์ตดีต่อลำไส้ (Cr.pexels.com)

5   ระบบป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระดีขึ้น : นักกีฬาต้องการระบบภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อให้พวกเขาสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้อยู่ในจุดสูงสุดของเกม ประมาณ 70-80% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นในลำไส้ ดังนั้นความสมดุลในไมโครไบโอมจึงเป็นระบบที่ทรงพลังที่ร่างกายใช้สำหรับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระเพื่อให้มีสุขภาพดี

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร      แก่นตะวันหรือเยรูซาเล็ม อาร์ติโช้ค ให้เส้นใยสูง (Cr.agaliving.com)

แม้ไม่ได้เป็นนักกีฬาแต่หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะได้ผลลัพธ์เสมือนนักกีฬา สุขภาพโดยรวมดีขึ้น พร้อมจิตใจที่แข็งแกร่ง

ดังคำกล่าวว่า “สุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ลำไส้”

โปรไบโอติกและพรีไบโอติก : ระบบการย่อยอาหารที่ดี ต้องมีตัวช่วยคือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือโปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ ลดการอักเสบและอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ท้องเสีย ท้องอืด แน่นท้อง ป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยในการดูดซึมอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกัน

การมีโปรไบโอติกเพียงพอในลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ แหล่งอาหารที่มีโปรไบโอติก ได้แก่ อาหารผ่านกระบวนการหมัก เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโซะ คอมบูชา ขิงดอง

พรีไบโอติก (Prebiotics) เป็นอาหารของโปรไบโอติก ช่วยให้โปรไบโอติกแข็งแรง

‘ออกกำลังกาย’+‘โปรไบโอติก’ ช่วย ‘ระบบย่อยอาหาร’ ดีขึ้นอย่างไร    ออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น (Cr.jcomb on Freepik)

แหล่งอาหารที่มีพรีไบโอติก ได้แก่ น้ำนมแม่ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง กล้วย แอปเปิ้ล หอมหัวแดง กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วชิคพี ถั่วแดง พิสตาชิโอ้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ แก่นตะวัน

อ้างอิง : Herba Life Thailand, health2click.com, theptarin.com