‘สุขภาพดี’ ด้วยหลักง่าย ๆ 3 อย่าง กินดี ออกกำลังกาย มีเพื่อน
ทุกคนล้วนมุ่งหวังมี ‘สุขภาพดี’ ใครรู้ตัวว่าพฤติกรรมแย่ หรือโทษไปที่ไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ยังมีเวลากลับตัวทัน ด้วยหลักง่าย ๆ 3 อย่าง คือ กินดี ออกกำลังกาย และมีเพื่อน
สุขภาพดี หมายถึงร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตต้องดีด้วย เหมือนเรื่องง่ายแต่หลายคนทำไม่ได้ แล้วโทษไปที่วิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ดังนั้นถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลักง่าย ๆ 3 อย่าง คือ กินอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และมีเพื่อน มีสังคมที่ดี เป็นพลังจากคอมมูนิตี้
หลักการง่าย ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ 3 อย่างที่ช่วยให้กายใจแข็งแรง ไม่ใช่วิธีที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก ถ้าคิดจะทำก็ลงมือเลย
จากผลสำรวจเรื่องสุขภาพของ เฮอร์บาไลฟ์เอเชียแปซิฟิก ที่จัดทำเมื่อเดือนเมษายน 2566 พบว่า การแพร่ระบาดของโควิดที่ยาวนาน ส่งผลให้ผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเมินลำดับความสำคัญในวิถีชีวิตตัวเองใหม่ โดย
- 77% หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
- เกือบ 7 ใน 10 คน มีการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญด้านสุขภาพ
- เป้าหมายด้านสุขภาพอันดับแรกคือมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น 51%
- การเพิ่มภูมิคุ้มกัน 46%
- การนอนหลับที่ดี 46%
- ปรับนิสัยกินเพื่อสุขภาพ 42%
- สุขภาพจิตที่ดีขึ้น 40%
ผลการสำรวจ ลำดับความสำคัญด้านสุขภาพ พบอีกว่า
46% ของคนอายุน้อยให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้น เทียบกับคนอายุมากกว่าที่ 34% ในขณะที่ 50% ของคน Gen X และ Baby Boomers ให้ความสำคัญกับการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมากกว่าคนรุ่น Gen Z และคนรุ่น Millennials ที่ให้ความสำคัญอยู่ที่ 42%
กินดี จุดเริ่มต้นสุขภาพดี (Cr.gardenlyhome.com)
ดร. Luigi Gratton รองประธานฝ่ายการฝึกอบรมด้านโภชนาการ เฮอร์บาไลฟ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจะบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพข้างต้นได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อน แค่มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 อย่าง คือ
การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
การออกกำลังกายเป็นประจำ
และการได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อน
1 กินดี เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ในแต่ละวัน ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสม รวมถึงของเหลวเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
ออกกำลังกายเป็นประจำ (Cr.freepik.com)
โดยปริมาณปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวัน 30% ต้องมาจากพืชหรือโปรตีนไร้มันจากสัตว์ อีก 40% มาจากคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น ธัญพืช ถั่ว ผักและผลไม้
ส่วนไขมัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสม ควรเลือกไขมันดี เช่น ไขมันจากปลา ถั่ว น้ำมันมะกอก อโวคาโด ฯลฯ และไม่ควรบริโภคเกิน 30% ของปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน
แอปเปิ้ลเขียว ผลไม้ที่กินได้ทุกวัน (Cr.eatthismuch.com)
และที่ขาดไม่ได้คือ วิตามินและแร่ธาตุ จากผักผลไม้ หรืออาหารเสริมเพื่อชดเชยกรณีได้รับในปริมาณไม่เพียงพอ
ผลไม้ 12 อย่าง ที่แนะนำให้กินทุกสัปดาห์ : ผลไม้ให้สารแอนตี้ออกซิแดนท์ มีหลากหลาย หวานมาก หวานน้อย กินหมุนเวียนกัน ได้แก่ กล้วย อโวคาโด แอปเปิ้ลเขียว ส้ม ลูกพรุน แบล็คเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ มะเขือเทศ แตงโม มะละกอ ฝรั่ง
ผลไม้มีวิตามินซี, เอ, เค, อี แร่ธาตุสำคัญเช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม ชนิดสีแดงมีไลโคปีน ชนิดสีม่วงมีแอนโธไซยานิน และเส้นใย ช่วยระบบการย่อยและทำให้ลำไส้แข็งแรง
ออกกำลังกายต้องวางแผน
2 ออกกำลังกายเป็นประจำ สุขภาพดีขึ้นแน่ และยังเป็นวิธีที่ดีในการต่อสู้กับความเครียด
วิธีการ : วางแผน, กำหนดเป้าหมายที่สมจริง, เลือกกิจกรรมที่สนุกสนาน จะช่วยให้มีแรงบันดาลใจ และอยากทำแผนที่กำหนดไว้
ปกติควรออกกำลังกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ควรปรับตารางเวลาออกกำลังกายให้เหมาะกับเป้าหมายของตัวเอง เพราะความยืดหยุ่นและไม่ยึดติดตามตารางมากไปจะทำให้การออกกำลังกายปราศจากความเครียดและสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ โดยให้เลือกกิจกรรมจากความชอบของตัวเอง
มีเพื่อน เป็นพลังจากคอมมูนิตี้
3 พลังจากคอมมูนิตี้ มีเพื่อน มีสังคม
จากผลสำรวจของ เฮอร์บาไลฟ์ เฮลธ์ ไพรออริตี้ พบว่า ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับความท้าทายหลักที่ขัดขวางไม่ให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพคือ การไม่มีเวลา 45% และการขาดแรงจูงใจ 39%
เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กว่า 84% ตระหนักถึงความสำคัญของการมีกลุ่มหรือคอมมูนิตี้ที่จะช่วยสนับสนุนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี แน่นอนว่าแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจะทำให้เรารู้สึกไม่เดียวดาย
และการมีเพื่อนที่มีเป้าหมายคล้ายกันจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังใจไปด้วยกัน แรงสนับสนุนทางสังคมยังช่วยกระตุ้นความรับผิดชอบ และเป็นพลังสำคัญที่ทำให้ไม่ย่อท้อแม้ต้องเผชิญกับความล้มเหลว
อ้างอิง : เฮอร์บาไลฟ์, eatingwell.com