ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’

‘กอส์เซต์’ (Gosset) เป็นหนึ่งในผู้ผลิต ‘ตำนานแชมเปญ’ เพราะทำมากว่า 500 ปี สืบทอดถึงทายาทรุ่นที่ 16 จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’

แชมเปญ ในสำเนียงอังกฤษ-อเมริกัน หรือ ชอมปาญ (Champagne) ในภาษาฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องว่าเป็น ราชินีของเครื่องดื่มทั้งมวล

ที่น่าสนใจคือ แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย เช่น ซีฟู้ดที่มีน้ำจิ้มรสเผ็ด ส้มตำ ยำต่าง ๆ ได้ดี เดือนกุมภาพันธ์ ใคร ๆ ก็ฉลอง เดือนแห่งความรัก แชมเปญมักอยู่ในโอกาสเฉลิมฉลอง นำมาจับคู่กับอาหารไทยก็เข้ากัน

โดยเฉพาะจับคู่กับ ตำนานแชมเปญ กอส์เซต์ ช่วยเพิ่มความพิเศษให้กับ วันแห่งความรัก ยิ่งขึ้น

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     ไร่องุ่นของแชมเปญกอส์เซต์

คำว่า Champagne มาจากภาษาละตินว่า กัมปาเนีย (Campania) แปลว่าทุ่ง หรือดินแดนแห่งหินปูน เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ปลูกอะไรไม่ได้ ขณะเดียวกันที่นี่ยังเป็นสมรภูมิสงครามแทบทุกครั้ง เพราะอยู่ใกล้ปารีส แต่กลับมีเพียงองุ่นเท่านั้นที่สามารถหลั่งรากฝังลึก ทำให้ผู้คนมีชีวิตรอดอยู่ได้

แคว้นแชมเปญ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปารีสประมาณ 90 ไมล์ เคยผลิตไวน์ขาว ไวน์แดง มากว่า 2,000 ปี เพิ่งมาผลิตแชมเปญในปี 1668 โดยผลิตจากองุ่น 3 พันธุ์หลัก คือองุ่นเขียวชาร์โดห์เนย์ (Chardonnay) และองุ่นแดงอีก 2 พันธุ์คือ ปิโนต์ นัวร์ (Pinot Noir) และปิโนต์ เมอนิเยร์ (Pinot Meunier)

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’    เซลลาร์เก็บแชมเปญที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน

ฟองของแชมเปญ เป็นฟองที่เกิดตามธรรมชาติของกระบวนการหมักบ่ม และเป็นฟองที่ดื่มแล้วไม่อืดเหมือนฟองจากน้ำอัดลม และเป็นเครื่องชี้วัดอย่างหนึ่งที่บอกได้ว่าแชมเปญนั้นดีหรือไม่ดี ?

ถ้าฟองเล็กละเอียดอ่อนเท่าไข่กบไข่เขียด เมื่อเทลงแก้วแล้วฟองคงอยู่นาน แสดงว่าเป็นของดีมีราคา แต่ถ้าฟองโตและเทลงแก้วปุ๊บหายวูบไปทันทีแสดงว่าเป็นแชมเปญคุณภาพด้อย

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     เซลลาร์ของกอส์เซต์แชมเปญ 

คำว่า Champagne ได้รับการคุ้มครองโดยกฏหมายกรุงมาดริด 1891 (Treaty of Madrid 1891) เกี่ยวกับการผลิตสปาร์คกลิ้งไวน์ในเขตผลิตที่กำหนด (Appellation d'Origine Contrôlée) กฏหมายนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดย (Treaty of Versailles) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับ กฎหมายดังกล่าวโดยระบุว่าคำว่า Champagne ต้องผลิตในแคว้น (Champagne region) เท่านั้น จึงจะใช้คำว่า Champagne ระบุในฉลากได้ นอกเหนือจากนั้นไม่สามารถใช้ได้

กอส์เซต์ (Gosset) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตตำนานแชมเปญเพราะทำแชมเปญมากว่า 500 ปี สืบทอดมาถึงทายาทรุ่นที่ 16

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     ห้องหมักแชมเปญกอส์เซต์

เรื่องราวของกอส์เซต์ เริ่มจุดประกายในปี 1584 จากปิแอร์ กอส์เซต์ (Pierre Gosset) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเทศมนตรีแห่งเมืองแอ (Aÿ) ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ผลิตสติลล์ไวน์ (Still Wine) ด้วย โดยใช้องุ่นจากไร่ของเขาเองผลิตไวน์แดงเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญไวน์ของเขานำมาเสิร์ฟบนโต๊ะอาหารของกษัตย์แห่งฝรั่งเศสด้วย

ศตวรรษที่ 18 กาลเวลาเปลี่ยนไป ไวน์ที่ผลิตภายในเมือง Aÿ ส่วนมากได้ผันตัวมาผลิตไวน์ฟอง (Sparkling Wine) รวมทั้ง กอส์เซต์

ปัจจุบัน แชมเปญกอส์เซต์ ยังบรรจุขวดทรงโบราณที่นิยมใช้กันมากในช่วงที่ศตวรรษที่ 18 โดยในปี 1760 ฌอง กอส์เซต์ (Jean Gosset) ทายาทคนต่อมาได้ตัดสินใจเลือกใช้ขวดดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยไม่รู้ว่าจะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของแชมเปญกอส์เซต์ตราบจนทุกวันนี้

ปี 1994 กอส์เซต์ ขายให้กับกลุ่มบริษัทเฮรโนด์ คอนโตร (Renaud-Cointreau) ซึ่งเป็นเจ้าของคอนญัคฟราแปง (Cognac Frapin) ด้วย

ปี 2005 Gosset ผลิตแชมเปญครบ 1 ล้านขวด

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     แชมเปญ เครื่องดื่มพิเศษฉลองวันแห่งความรัก (Cr.winalist.com)

ปี 2009 ครบรอบวันเกิด 425 ปี ของ Gosset และซื้อที่ในเมืองเออแปร์เนย์ (Epernay) 2 แล้วสร้างเป็นเซลลาร์ใต้ดินความยาว 1.7 กิโลเมตร ภายในบรรจุแชมเปญ 2.5 ล้านขวดพร้อมน้ำคูเวอีก 26,000 เฮกโตลิตร

ปัจจุบันกอส์เซต์ นำทัพโดยฌอง ปิแอร์ คอนโตร (Jean-Pierre Cointreau) ผลิต Gosset ส่งออก 65% ขายกว่า 70 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งนำเข้าโดยบริษัท Ambrose Wine & Spirit จำกัด

Gosset ผลิตแชมเปญจากองุ่น 3 พันธุ์เป็นหลักคือ ปินต์ นัวร์, ชาร์โดเนย์ และปิโนต์ เมอนิเยร์ โดยรุ่นที่สร้างชื่อมายาวนานคือรุ่น Brut Excellence มีรสหวานนิด ๆ นอกจากนั้นยังมีรุ่นวินเทจ prestige cuvée คือ Célebris, Grand Millésime Célebris และ Grand Millésime รวมทั้งรุ่นที่ผลิตเป็นที่ระลึกคือ Quatrième Centenaire เป็นต้น

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     แชมเปญจับคู่กับอาหารไทยเข้ากัน (Cr.picture : lesommelier.com)

แชมเปญกอส์เซต์ เข้ามาเมืองไทยนานแล้ว อาจไม่โด่งดังเหมือนบางยี่ห้อ แต่เป็นที่รู้ในหมู่คนชอบแชมเปญว่านี่คือหนึ่งในแชมเปญคุณภาพจริง ๆ ไม่ได้โด่งดังจากระบบการตลาด

ครั้งล่าสุดที่ผมได้ชิมกอส์เซต์ มากที่สุดคือในงาน Vinexpo 2023 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อกลางปี 2023 ประมาณ 7-8 รุ่น แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันออกไป ท่านใดที่จะหาแชมเปญสำหรับฉลองวันวาเลนไทน์นี้หรือมอบให้กับคนที่คนรัก แนะนำเป็นโรเซ่ (Rose) ซึ่งมีความหอมหวลเป็นพิเศษ ลองดูว่ารุ่นต่าง ๆ ว่ามีความต่างกันอย่างไร

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     กรองด์ รีเสิร์ฟ บรุต

กรองด์ รีเสิร์ฟ บรุต (Grande Réserve Brut) เป็นรุ่นไม่มีวินเทจหรือนอน วินเทจ (Non-Vintage = NV) ทำจากชาร์โดเนย์ 46% ปิโนต์ นัวร์ 39% และปิโนต์ เมอนิเยร์ 15% หลังจากปี 1980 มีการปรับสูตรเป็นปิโนต์ นัวร์ 65% ชาร์โดเนย์ 35% มีทั้งขวดธรรมดา (750 มิลลิลิตร ) แม็กนั่ม (Magnum 1.5 ลิตร) และเฌอโรบูม (Jeroboam 4.5 ลิตร)….เป็นรุ่นที่หอมผลไม้ เชอร์รี สตรอว์เบอร์รี ซีทรัส ดอกส้ม ขนมปังปิ้ง บอดี้หนักแน่น คอมเพล็กซ์ ฟองละเอียด

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     กรองด์ โรเซ่ บรุต นอน-วินเทจ

กรองด์ โรเซ่ บรุต (Grand Rosé Brut) เป็นนอน-วินเทจ (Non-vintage) ส่วนผสมเป็นชาร์โดเนย์ 56% และปิโนต์ นัวร์จากเขตกรองด์ ครู 35% อีก 9% เป็นไวน์แดงจาก Bouzy และ Ambonnay รุ่นนี้ทำทั้งขวดธรรมดา แม็กนั่ม และขนาดครึ่งขวดปรกติ (Half / 375 มิลลิลิตร)....เป็นรุ่นที่หอมผลไม้ แอปเปิ้ลเขียว แพร์ พีช เลมอน ดอกไม้ ดอกกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ ดอกส้ม

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’

    กรองด์ มิลเลซีม บรุต

กรองด์ มิลเลซีม บรุต (Grand Millésime Brut) เป็นรุ่นที่มีวินเทจ เดิมเบลนด์จากชาร์โดเนย์ 56% และปิโนต์ นัวร์ 44% เป็นองุ่นจากไร่ในเขตกรองด์ ครู และเปรอะมิเยร์ ครู (Premier Cru) หลังจากปี 1980 มีการปรับสูตรเป็นปิโนต์ นัวร์ 60% ชาร์โดเนย์ 40%....เป็นรุ่นคอแชมเปญบอกว่าต้องไม่พลาดในการชิม หอมผลไม้ เชอร์รี สตรอว์เบอร์รี เรดเบอร์รี พีช มิเนอรัล ดอกไม้ ยีสต์หอมกรุ่น พรายฟองละเอียดยิบพลิ้ว คอมเพล็กซ์ สมบูรณ์แบบ

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     กรองด์ บลอง เดอ บลองส์ บรุต

กรองด์ บลอง เดอ บลองส์ บรุต (Grand Blanc de Blancs Brut) เป็นรุ่นไม่มีวินเทจ  (Non-vintage) ทำทั้งขวดธรรมดาและแม็กนั่ม....เป็นรุ่นที่หอมผลไม้ แพร์ พีช แอปเปิ้ลเขียว ซีทรัส ดอกส้ม ดอกกล้วยไม้ เฮิร์บเขียว ๆ สด ๆ  

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’    เซอเลอบรีส์ โรเซ่ 2008

เซอเลอบรีส์ โรเซ่ เอ็กซ์ตรา บรุต (Celebris Rosé Extra Brut) เป็นรุ่นมีวินเทจ เป็นหนึ่งในรุ่นสุดยอดของกอส์เซต์โดยเฉพาะโรเซ่ ทำจากชาร์โดเนย์ 72% ปิโนต์ นัวร์ 28% ตามรูปจะเห็นเป็นวินเทจ 2008 ซึ่งชิมแล้วไม่อยากหยุด

หอมกลิ่นผลไม้ ราสพ์เบอร์รี เรดเคอร์แรนท์ เกรพฟรุต เมลอน สตรอว์เบอร์รี เลมอน มิเนอรัล ขนมปังปิ้ง น้ำผึ้ง ครีมมี สไปซีเปปเปอร์ คอมเพล็กซ์ด้วยประการทั้งปวง

ตำนานแชมเปญ 500 ปี ‘กอส์เซต์’ เมื่อ ‘แชมเปญจับคู่กับอาหารไทย’     กอส์เซต์แชมเปญเฮาส์

ทั้งหมดทั้งมวลนั้นคือส่วนเศษเสี้ยวหนึ่งของ ตำนานแชมเปญ กอส์เซต์ สอบถามเพิ่มเติมจากผู้นำเข้า บริษัท แอมโบรส ไวน์ แอนด์ สปิริต จำกัด (Ambrose Wine & Spirits Co., LTD) โทร.02 7198260