‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

คนส่วนใหญ่รู้จักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น คือ ‘สาเก’ และ ‘เบียร์’ ที่จริงแล้วอุตสาหกรรมการผลิต ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ก็ก้าวล้ำหน้าไม่แพ้ ‘ไวน์ยุโรป’ ไวน์จากอเมริกาและออสเตรเลีย โดยเฉพาะ ‘เกรซ ไวน์’ จากเขต 'ยามานาชิ'

การผลิตไวน์สมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มเมื่อราว 140 ปีที่แล้ว แหล่งปลูกองุ่นที่สำคัญมี 2 เขตใหญ่ ๆ คือ ยามานาชิ (Yamanashi) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโตเกียวไป 100 กม. และ นากาโนะ (Nagano) ถัดจากยามานาชิไปทางตะวันตก โดยเขตยามานาชิใหญ่กว่าและมีไร่องุ่นประมาณ 100 แห่งจากไร่องุ่นในญี่ปุ่นทั้งหมดประมาณ 200 แห่ง ทั้ง 2 เขตยังมีเขตย่อยอีกหลายเขต

จังหวัด Yamanashi ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่ง ไวน์ญี่ปุ่น เป็นแหล่งผลิตไวน์อันดับ 1 ของแดนอาทิตย์อุทัย รองลงมาคือนากาโนะ ประมาณ 40% ของตลาดไวน์ทั้งหมดในญี่ปุ่นผลิตจากที่นี่

โดยเฉพาะไวน์ญี่ปุ่นพรีเมียม เกรซ ไวน์

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย     เกรซ ไวน์ ไวเนอรี (Cr.koshuvalley.com)

ไวน์ที่มีชื่อเสียงของที่นี่คือ โคชุไวน์ (甲州 ワイン) ที่ผลิตจากองุ่นพันธุ์โคชุ (Koshu) องุ่นพันธุ์ขึ้นชื่อของเขตนี้ เป็นไวน์ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับในระดับสากล

ปัจจุบัน ยามานาชิ เป็นพื้นที่จีไอ (GI = Geographical Indications) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์

ไวน์ ในภาษาญี่ปุ่นเขียนเป็นตัวคาตาคานะคือ ワイン ขณะที่ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นสายพันธุ์ญี่ปุ่นเอง ที่ปลูกในประเทศทั้งหมดทางการญี่ปุ่นนำระบบการระบุชื่ออย่างเป็นทางการด้วยคำว่า นิฮอนไวน์ (Nihon Wine) ไวน์ญี่ปุ่น จะเขียนว่า 日本ワイン

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย    เขตผลิตไวน์ยามานาชิ

ญี่ปุ่นสามารถผสมพันธุ์องุ่นเป็นของตนเอง เช่น องุ่นพันธุ์ยามา โซวีญยอง (Yama Sauvignon) ใช้องุ่นพื้นเมืองที่ปลูกบนภูเขากับกาแบร์เนต์ โซวีญยอง ขณะที่ องุ่นโชโยชิ (Shoyoshi) ผสมจากองุ่นพื้นเมืองยามาบุโด (Yamabudo) กับองุ่นกาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Cabernet Sauvignon)

โดยบริษัท คัตสุนุมา ไวเนอรี (Katsunuma Winery) สามารถทำไวน์จากองุ่นพันธุ์โชโยชิได้ดี และอีกหลายยี่ห้อผลิตไวน์จากองุ่นพื้นเมืองโคชุ (Koshu) ซึ่งเป็นองุ่นที่มาจากยุโรปสู่ญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 1,200 ปีที่แล้ว แต่เริ่มทำไวน์เมื่อ 140 ปีที่ผ่านมา

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย      เกรซ ไวน์

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ไวน์ญี่ปุ่น ชาโต เมอร์เชียน (Chateau Mercian) สร้างชื่อเสียงให้ญี่ปุ่น โดยรุ่น คิเกียวกาฮารา แมร์โลต์ (Kikyogahara Merlot) เป็นไวน์คุณภาพระดับโลก ส่งไปขายที่อเมริกาในราคาสูง และรุ่น โจโนฮิรา กาแบร์เนต์ โซวีญยอง (Jonohira Cabernet Sauvignon) ส่วน ไวน์ขาว รุ่น โฮกุชิน ชาร์โดเนย์ 2002 (Hokushin Chardonnay) คุณภาพสู้กับ ไวน์ยุโรป ได้อย่างไม่อาย

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

   ชาโต เมอร์เชียน (Cr.japan-guide.com)

ขณะที่ฝรั่งเศสมี ไวน์โบโฌเลส์ นูโว ญี่ปุ่นก็มีเหมือนกัน โดยเกษตรกรและประชาชนใน ยามานาชิ ได้นำไวน์ใหม่ที่ผลิตในท้องถิ่นออกสู่ตลาดพร้อมเฉลิมฉลองภายใต้ชื่อ ยามานาชิ นูโว ไวน์ เฟสติวัล (Yamanashi Nouveau Wine Festival) ผลิตจาก องุ่นโคชุ ที่ปลูกในจังหวัดยามานาชิ ออกสู่ตลาดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

พร้อมกับโบโฌเลส์ นูโว ของฝรั่งเศส แต่ละปีมีไวน์ประมาณ 50- 60 ชนิด จากผู้ผลิตไวน์ในท้องถิ่นประมาณ 35- 40 รายให้ชิม

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    เกรซ โคชุ 2011

ที่ผ่านมาคนญี่ปุ่นคลั่งไคล้โบโฌเลส์ นูโว ของฝรั่งเศสมาก และเป็นชาติแรกที่จะได้ชิมไวน์ชนิดนี้ เพราะประเทศญี่ปุ่นจะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นเป็นชาติแรก มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายทั้งดื่มและอาบ

ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตโบโฌเลส์ นูโว ถึงกับใช้เครื่องบินลำใหญ่ขนไวน์โบโฌเลส์ นูโวตรงมายังญี่ปุ่นทุกปี เงินทองรั่วไหลออกนอกประเทศ อย่ากระนั้นเลยญี่ปุ่นทำเองเสียเลย

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย     องุ่นโคชุ (Cr.japanwines.global.com)

อย่างไรก็ตามที่ต้องพูดถึงคือ องุ่นโคชุ (Koshu) เป็นองุ่นเปลือกสีชมพูใช้ทำไวน์ขาวคล้ายเกวืร์ซทรามิเนอร์ ปลูกครั้งแรกเมื่อ 1,000 กว่าปีมาแล้ว บริเวณคอเคซัส (Caucasus) ใน Asia Minor ก่อนจะเข้ามาญี่ปุ่นพร้อมพุทธศาสนา ตามเส้นทางสายไหมทางประเทศจีน และเป็นองุ่นพื้นเมืองหรือ Table Grape ของญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นเริ่มผลิตไวน์ในปี 1874 ปัจจุบันไม่เพียงแต่เป็นองุ่นพันธุ์หลักเท่านั้น แต่ยังเป็นองุ่นสำคัญที่สุดของดินแดนอาทิตย์อุทัยด้วย

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    องุ่นในญี่ปุ่น (Cr.japan-guide.com)

โคชุ เป็นองุ่นเปลือกสีชมพู เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อหวาน และแอสิดต่ำ จากการตรวจพิสูจน์ของมหาวิทยาลัย University of California UC Davis พบว่าอยู่ในสายพันธุ์ Vitis Vinifera เช่นเดียวพันธุ์ดัง ๆ ในยุโรป ปัจจุบันในญี่ปุ่นปลูกองุ่นพันธุ์นี้ประมาณ 480 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 6 ไร่ 1 งาน)

เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว มีผู้นำเข้า ไวน์ญี่ปุ่น รายหนึ่งเข้ามาขายในประเทศไทย พอคอไวน์ไทยเริ่มจะคุ้นเคยก็หายไปพักใหญ่ไม่การนำเข้า ประกอบกับการระบาดของโควิด ทำให้หลายอย่างหยุดชะงักไป หลังโรคร้ายผ่านไปไวน์ญี่ปุ่นเจ้านี้ก็นำเข้ามาอีกครั้งโดยผู้นำเข้ารายใหญ่

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

   เกรซ กรีส์ เดอ โคชุ ยามานาชิ 2022 

ไวน์ที่ว่านั้นคือ เกรซ ไวน์ (Grace Wine) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไวน์ระดับคุณภาพของญี่ปุ่น และมีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า Chuo Budoshu ก่อตั้งในปี 1923 ที่คัตซึนุมา (Katsunuma) แหล่งกำเนิดของ ไวน์ญี่ปุ่น ปัจจุบันกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไวน์ของประเทศ

ตอนที่มาเปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 7-8 ปีก่อนนั้น ไวน์เมกเกอร์ของ เกรซ ไวน์ ก็เดินทางมาด้วย เธอชื่อ อายานะ มิซาวะ (Ayana Misawa) เป็นลูกสาวของ ชิเกกาซุ มิซาวะ (Shigekazu Misawa) ผู้บุกเบิกในการปลูกองุ่นโคชุในญี่ปุ่น เธอเดินทางไปเรียนการทำไวน์ถึง 3 ประเทศ

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    เกรซ คูเว มิซาวะ 2021

ครั้งแรก Institute of Enology and Viticulture ใน Yamanishi ต่อมาไปเรียนการปรุงไวน์ที่มหาวิทยาลัยบอร์กโดซ์ (University of Bordeaux) ตักศิลาแห่งการปรุงไวน์ในฝรั่งเศส ตามด้วยมหาวิทยาลัยสเตลเลนบอสช์ (Stellenbosch University) ในแอฟริกาใต้

หลังจากนั้นไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในไร่องุ่นหลายแห่ง เช่น เคป พอยต์ วินเยิร์ด (Cape Point Vineyards) ในเซาธ์แอฟริกา, กาเตนา ซาปาตา (Catena Zapata) ในเมนโดซา อาร์เจนตินา, เอร์ราซาริซ (Errazuriz) ในชิลี, เมาท์ฟอร์ด ในนิวซีแลนด์, มาร์กาเรต ริเวอร์ ในออสเตรเลีย และเบอร์กันดีในฝรั่งเศส เป็นต้น

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    เกรซ คูเว มิซาวะ รูจ 2017

ปัจจุบันเธอรับหน้าที่ต่อจากพ่อ และผลิตไวน์ด้วยความรักธรรมชาติให้มากที่สุด พยายามไม่ใช้สารเคมี

คนญี่ปุ่นทำอะไรทำจริง โดยเฉพาะด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ใช่วิถีชีวิตของตนเอง แต่คนญี่ปุ่นสามารถทำจนสามารถเอาชนะต้นตำรับได้ นอกจากไวน์แล้วก็มีวิสกี้ ผมชิมซิงเกิ้ลมอลต์ของญี่ปุ่นมาหลายยี่ห้อ และหลายยี่ห้อได้คะแนนสูงกว่าซิงเกิ้ลมอลต์จากสก็อตแลนด์

อิมพอร์ตเตอร์ที่กล้าหาญชาญชัยนำเข้า เกรซ ไวน์ มาให้คนไทยได้ลิ้มรสในครั้งนี้คือ บริษัท บีสโพค ไฟน์ ไวน์ จำกัด (BE:SPOKE Fine Wine Co, Ltd.) ซึ่งบริษัทนี้มีไฟน์ไวน์ และบูติกไวน์จากหลายประเทศ

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

   เกรซ โคชุ โตริอิบิระ วินเยิร์ด ไพรเวท รีเสิร์ฟ 2022 

สำหรับเกรซ ไวน์ ที่นำเข้ามามีไวน์ขาวและไวน์แดงรวม 8 รุ่น ดังนี้

ไวน์ขาว 5 รุ่น

1   เกรซ กรีส์ เดอ โคชุ ยามานาชิ 2022 (Grace Gris de Koshu Yamanashi 2022)

2   เกรซ โคชุ ยามานาชิ 2022 (Grace Koshu Yamanshi 2022)

3   เกรซ โคชุ โตริอิบิระ วินเยิร์ด ไพรเวท รีเสิร์ฟ 2022 (Grace Koshu Toriibira Vineyard Private Reserve 2022)

4   เกรซ โคชุ มิซาวะ 2021 (Grace Koshu Misawa Vineyard 2021)

5   เกรซ คูเว มิซาวะ 2021 (Grace Cuvee Misawa Blanc 2021)

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

   เกรซ โคชุ มิซาวะ 2021

ไวน์แดง 3 รุ่น

1   เกรซ ยามานาชิ เดอ เกรซ 2022 (Grace Yamanashi de Grace 2022)

2   เกรซ อาเคโนะ 2022 (Grace Akeno 2022)

3   เกรซ คูเว มิซาวะ รูจ 2017 (Grace Cuvee Misawa Rouge 2017)

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    เกรซ โคชุ ยามานาชิ 2022

มีอยู่ 1 รุ่น ผมชอบที่สุดชอบตั้งแต่ได้ชิมครั้งแรกเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว คือ เกรซ โคชุ ยามานาชิ 2022 (Grace Koshu Yamanashi 2022) สีเหลืองทองอ่อน ๆ แกมเขียวนิด ๆ สดใส หอมกลิ่นผลไม้ แอปเปิ้ล แพร์ ส้มโอ เลมอน ซีทรัส มิเนอรัล ไอโอดีน สาหร่ายทะเล

ที่โดดเด่นมากคือไวท์เปปเปอร์ ดอกไม้ และหินชนวน ซึ่งไวน์ของเกรซดูเหมือนจะมี 3 อย่างนี้ทุกรุ่น นอกนั้นยังมีสไปซี เฮิร์บสด ๆ ตะไคร้ ใบมะกรูด แอสิดสดชื่น จบด้วยผลไม้และดอกไม้ ตัวนี้จับคู่กับชาซิมิและเทมปุระที่มีซอสเค็มปะแล่ม ๆ ได้ยอดเยี่ยมมาก

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย

    เกรซ โคชุ อาเคโนะ 2021

ก่อนหน้านั้น เกรซ โคชุ วินเทจ 2011 (Grace Koshu 2011) เคยไปเปิดตัวในลอนดอน ได้รับการชื่นชมจากผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์และอาหารอย่างมากว่า เหมาะอย่างยิ่งกับอาหารญี่ปุ่น

นอกจากนั้นยังได้รับเสียงชื่นชมมากจาก Masters of Wines หลายคน ขณะที่ Jamie Goode เขียนไว้ใน Financial Times เป็นต้น เกียรติประวัติเยอะกว่าไวน์ยุโรปบางตัวเสียอีก

ในส่วนอื่นของภูมิภาคโลก นักชิมไวน์ระดับโลกอีกหลายยังเขียนถึงไวน์ตัวนี้ เช่น ในหนังสือ The World Atlas of Wine โดย Hugh Johnson และ Jancis Robinson พิมพ์ครั้งที่ 5 รวมทั้ง Robert Parker ในอเมริกา

‘เกรซ ไวน์’ พรีเมียม ‘ไวน์ญี่ปุ่น’ ที่สู้ยุโรปได้สบาย   ยามานาชิ โคชุ เฟสทิวัล

ขณะที่ Grace Koshu Kayagatake วินเทจ 2010 เคยได้รับเหรียญเงิน Decanter World Wine Awards 2011 (DWWA 2011) นับเป็นรางวัลครั้งแรกของโคชุในระดับนานาชาติ

อย่างที่บอกว่าไวน์บางรุ่นอาจจะหมด ทางที่ดีคือสอบถามจากผู้นำเข้า BE:SPOKE Fine Wine Co, Ltd. โทร.087 0701554