23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

งานคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 'โอทอป' 'เครื่องดื่มแอลกอฮอล์' ระดับประเทศ ปี 2567 เน้นที่ ‘รัม’ ซึ่งทำจากอ้อย ได้ข้อสรุปว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ มี 23 ราย ยังมี 4 ดาว, 3, 2, และ 1 ดาว

ผมได้รับเชิญเป็น 1 ในกรรมการคัดเลือก ผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) ประเภท เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระดับประเทศหรือ โอทอป โปรดักท์ แชมเปี้ยน  (OTOP PRODUCT CHAMPION) เมื่อปลายเดือนกันยายน ที่เมืองทองธานี

โดยเน้นที่ รัม (Rum) ซึ่งทำจากอ้อยหรือผลิตภัณฑ์จากอ้อย ที่หลายฝ่ายมองว่ามีศักยภาพสูง

แบรนด์ที่ได้ 5 ดาวโอทอป มีจำนวน 23 ราย เทียบกับครั้งที่แล้วซึ่งมีเพียง 7 ราย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะครั้งที่แล้วมีผู้ส่งเข้ามาคัดเลือกน้อย ผลพวงจากโควิด-19 หลังจากโรคร้ายผ่านไปชาวบ้านและผู้ผลิตก็กลับมาทำต่อ จึงมีผู้ส่งเข้ามาคัดเลือกมากขึ้น

ยังมี 4 ดาว 36 ราย, 3 ดาว 50 ราย, 2 ดาว 29 ราย และ 1 ดาว 9 ราย ซึ่งจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันจัดงานโปรดักท์โอทอปตอนปลายปี 

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้      กรรมการ 4 คน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ได้ 1-5 ดาวเหล่านี้ รวมถึง ผลิตภัณฑ์ OTOP อื่น ๆ หลังจากมีการสรุปผลต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว จะจัดแสดงและจัดจำหน่าย เป็นงานใหญ่น่าจะประมาณปลายปีนี้

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พวกนี้คณะกรรมการให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยกับผู้ดื่มหรือผู้บริโภคอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทใช้สารตกแต่งทั้งกลิ่นและรส ซึ่งนอกจากจะผิดไปจากวัตถุประสงค์ของโอทอปที่เน้นความเป็นธรรมชาติแล้ว ยังอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

เช่นเรื่องกระบวนการผลิต ฯลฯ ผู้ผลิตไม่สามารถโกหกหรือลับลวงพรางกับกรรมการได้ อย่างน้อยก็มีกรรมการและเจ้าหน้าจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเปรียบเหมือนแม่งานใหญ่ในการดูแลเรื่องสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้ามาดูแลอย่างเข้มงวด เขารู้หมดว่าหมักอย่างไร กลั่นอย่างไร ใส่อะไรหรือเติมแต่งอะไรลงไปบ้าง เป็นไปตามกฎกติกาของโอทอปหรือไม่ บางคนอาจบอกว่าไม่ได้ใส่อะไร แต่ไม่สามารถหลอกเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้     เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานาชนิด

ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ที่ส่งมาให้กรรมการชิม เป็นตัวอย่างที่ทำถูกกฏทุกอย่างหรือเกือบทุกอย่าง แต่ผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาดจริง ๆ เป็นอีกอย่างหนึ่ง โดยอ้างว่าตลาดหรือผู้บริโภคชอบแบบนี้

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    สุราแช่ตกแต่งกลิ่น

ผลิตภัณฑ์ที่หายไปจากการชิมคัดเลือกระดับประเทศคือ อุ และ สาโท ซึ่งนับว่าน่าเสียดายมาก โดยเฉพาะ “อุ” เมื่อก่อนมีเป็น 10-20 เจ้า ครั้งนี้ไม่มีเลย ขณะที่ สาโท มีอยู่เจ้าเดียว จากยุคแรก ๆ เคยมี 20-30 ราย เรื่องนี้นับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่งสำหรับภูมิปัญญาของคนไทย

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    เจ้านี้เคยได้ 5 ดาวครั้งก่อน

เรื่องของ สาโท มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า ปัจจุบันเป็นสาโทที่ตกแต่งกลิ่นและรสเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแบบ ดั้งเดิม แทบจะหาได้ยากมาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่บอกว่าเพราะตลาดนิยมแบบตกแต่งกลิ่นและรสชาติ ซึ่งคณะกรรมการก็ได้เสนอไปว่า ครั้งหน้าควรแยกเป็น สาโทดั้งเดิม กับ สาโทตกแต่งกลิ่นและรสชาติ เพื่อไม่ให้เป็นการได้เปรียบ-เสียเปรียบกัน

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้     สาโท

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

   ฉลากที่ผิดเพี้ยน

อีกอย่างหนึ่งซึ่งแทบจะไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของโอทอปก็คือ การใช้ วัตถุดิบในท้องถิ่น อันจะเป็นการส่งเสริมชุมชน อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของชุมชน ฯลฯ เช่น ทำสาโทหรือสุรากลั่นด้วยข้าวเหนียวจากอำเภอ ก. ซึ่งข้าวเหนียวคุณภาพดีมาก มีเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่น เป็นการสนับสนุนเกษตรกรในอำเภอ ก.แต่ปัจจุบันพบว่ามีการนำวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นมาใช้ เป็นต้น

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ฉลากแบบชาวบ้าน

เรื่อง วัตถุดิบ ผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตทั้ง สุราแช่ และ สุรากลั่น ระบุว่าเป็นผลไม้ต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วมีผลไม้ชนิดนั้นน้อยมากหรือไม่มีเลย ใช้วิธีซื้อหัวน้ำหวานกลิ่นผลไม้นั้นมาผสมหรือตกแต่งกลิ่น

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

   ฉลากแบบศิลปิน

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์อินทผลัม

นอกจากนั้นครั้งนี้พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก อินทผลัม ค่อนข้างมาก ซึ่ง ไม่เหมาะที่จะนำมาทำทั้งสุราแช่และสุรากลั่น  สอบถามได้ความว่า ชาวบ้านถูกนายทุนหลอกขายพันธุ์อินทผลัม เมื่อผลผลิตตกต่ำหรือล้นตลาด ชาวบ้านก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็เลยนำมาทำสุรา เป็นต้น

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

   บรรจุภัณฑ์สวยงาม

สิ่งที่สำคัญที่สุดของผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิดคือ คุณภาพของวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ เพราะจะนำมาสู่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์กระชายดำยังหลงเหลืออยู่

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

     หนึ่งปัญหาของไวน์ผลไม้ไทยคือเรื่องสี

การจะได้มาซึ่ง คุณภาพ ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีความความเข้าใจที่ถูกต้องรวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วย ที่ผ่านมาผู้ผลิตหลายรายบอกว่า เคยไปขอคำปรึกษาและความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ จากภาครัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีบุคลากรมีความรู้ แต่ไม่ค่อยได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควรหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือเลย

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

   ไวน์ลูกจันทน์เทศ

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

  ไวน์น้ำอ้อย

ที่น่าสลดใจไปกว่านั้น บางพื้นที่เมื่อมีหน่วยงานรัฐที่มีเทคโนโลยีและความรู้ที่ถูกต้องทั้งการหมัก การกลั่น ฯลฯ จะเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ทำ สุราเถื่อน ซึ่งทั้งผิดกฎหมาย ทั้งไม่ได้คุณภาพ เป็นอันตรายต่อผู้ดื่ม ให้เป็นสุราที่ถูกกฎหมาย มีคุณภาพ และมีศักยภาพในการจัดจำหน่าย ฯลฯ

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์บ๊วย

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์มะเม่า

แต่กลับมีหน่วยงานรัฐอีกหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ปราบปรามเหล้าเถื่อนและเก็บภาษีโดยตรง บอกว่าอย่าเข้าไปในพื้นที่เลย เพราะชาวบ้านทำเหล้าเถื่อนกัน มันอันตราย สุดท้ายก็ต้องถอยออกมา ให้ทำเหล้าเถื่อนกันต่อไป โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ทำอะไร

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์มะยม

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    ไวน์หม่อน

เรื่องพัฒนาคุณภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มีเจ้าหน้าที่ด้านนี้โดยตรง พร้อมให้การสนับสนุนอยู่เสมอและตลอดมา หลายพื้นที่ชาวบ้านหรือผู้ผลิตรับไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    สุรากลั่นข้าวหอม

ในขณะเดียวกันก็มีผู้ไม่พร้อมหรือไม่ยอมรับจำนวนมาก ด้วยเหตุผลว่าทำแบบเดิมก็ขายได้อยู่แล้ว ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม สุดท้ายก็ขายได้เฉพาะในชุมชน ในอำเภอ ในจังหวัด ไม่สามารถก้าวสู่ระดับประเทศหรือส่งออกได้

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้     สุรากลั่นจากเชียงราย

บรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขวด ในรูปทรงต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญและไม่ใช่จะออกแบบตามใจชอบ เพราะมีข้อกฎหมายบังคับอยู่ด้วยว่าจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ครั้งนี้ได้เห็นการออกแบบขวดและฉลากที่ค่อนข้างทันสมัยหรือเป็นอินเตอร์หลายราย แต่ก็ยังมี บางรายที่แฝงด้วยเจตนาบางอย่างให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่ควบคุมจากต้นทางบกพร่องหรือหละหลวม ปล่อยให้เข้ามาถึงรอบสุดท้าย

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้

    สุรากลั่นจากหนองคาย

ถ้าถามว่า สุราแช่ (อุ กระแช่ สาโท ไวน์ผลไม้) กับ สุรากลั่น (สุราขาว) ณ เวลานี้อะไรจะมีอนาคตมากว่ากัน คงต้องเป็นสุรากลั่น พราะสุราแช่มีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะศักยภาพของวัตถุดิบ เช่น ไวน์ผลไม้ ทำกันมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว ก็ยังไม่ไปถึงไหน เพราะเทคโนโลยีการหมักของชาวบ้านไม่ดีเท่าที่ควร ทำออกมาแล้วกลิ่น สี รสชาติ ไม่นิ่ง อายุการเก็บก็สั้น เป็นต้น

23 แบรนด์ ‘สุราแช่’+’สุรากลั่น’ ได้ ‘5 ดาวโอทอป’ ปีนี้      การทำรัมในบาร์บาโดส (Cr.visitbarbados.org)

ขณะที่ สุรากลั่น ไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว เพียงแต่ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มเข้าไปเท่านั้น อีกไม่นานเราจะเห็นสุรากลั่นประเภทรัม วอดก้า จิน ฯลฯ มากมาย

สุดท้ายจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยคือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกฏหมายที่เป็นอุปสรรค ถึงตอนนี้จะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็คลายโซ่ตรวนลงได้บ้าง