ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566

งานประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่มีขึ้นปีละครั้ง ระยะเวลาเพียง 2 เดือน ประกาศกำหนดการแล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ถึง 21 มีนาคม พ.ศ. 2566

งานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ‘เขาคิชฌกูฏ’ เป็นงานที่พุทธศาสนิกชนรอคอย เพราะจะได้ไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาทบนภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ในปีนี้ พ.ศ. 2566 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ถึง 21 มีนาคม 2566

  • ประวัติความเป็นมา

หลวงพ่อเขียน ขันธสโร หรือ พระครูธรรมสรคุณ เจ้าอาวาสวัดกระทิง เจ้าคณะอำเภอมะขาม กล่าวไว้ว่า

เมื่อ พ.ศ. 2397 นายติ่งและคณะได้ขึ้นไปบนเขาเพื่อหาไม้กฤษณา, ไม้กะลำพัก ได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้างใหญ่ พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ และพบหินแผ่นหนึ่ง ที่มีรอยรูปก้นหอย

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ต่อมานายติ่งได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

วันรุ่งขึ้นมีเทศกาลปิดรอยพระพุทธบาทจำลอง จึงได้ไปซื้อทองปิดทองรอยพระพุทธบาท แล้วพูดว่า เช่นนี้ทางบ้านผมก็มีเหมือนกัน

เจ้าอาวาสวัดพลับ (หลวงพ่อเพชร) จึงให้นายติ่งพาคณะขึ้นไปพิสูจน์ พบรอยพระพุทธบาทที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้ร้อยกว่าคนบนยอดเขาสูงสุด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร

ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาท มีหินกลมก้อนใหญ่มาก ตั้งขึ้นมา อย่างไม่น่าจะตั้งอยู่ได้ มหัศจรรย์มาก

มองดูคล้ายลอยอยู่เฉย ๆ เคยมีคนเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วก็หลุดออกมาได้

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

  • รอยพระพุทธบาท 'เขาคิชฌกูฏ'

ในกรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย จะมีเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อเขียน ขันธสโร หรือ พระครูธรรมสรคุณ ผู้พัฒนาพระบาทพลวงมาตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2515

เสนอให้ใช้ชื่อว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง) เพราะเมืองไทย ศาสนาพุทธเจริญกว่าเมืองไหน ๆ จึงใช้ชื่อนี้ระลึกถึงพระบรมศาสดา

พุทธศาสนิกที่มากราบไหว้สักการะรอยพระพุทธบาทก็เปรียบเสมือนได้กราบสักการะพระพุทธเจ้านั่นเอง

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

  • พิธีบวงสรวงเปิดนมัสการพระบาทพลวง

ทุก ๆ ปีก่อนจะเริ่มเทศกาลนมัสการพระบาทพลวง จังหวัดจันทบุรี จะมีพิธีกรรมบวงสรวง ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 2

ในปีนี้พิธีบวงสรวง ‘ปิดป่า-เปิดเขา’ ตรงกับวันที่ 20 มกราคม 2566

มีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี เริ่มต้นด้วยชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่บนเขาพระบาทมาเป็นสักขีพยานรับเครื่องสังเวย

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566

Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ขอให้ช่วยปกป้องอภิบาลรักษาผู้ที่มานมัสการให้พ้นจากอันตราย และช่วยดลจิตผู้คิดไม่ดี ผู้กระทำชั่วให้ไม่อยากขึ้นไป

และเมื่อเปิดนมัสการไปได้ 2 เดือน ก็จะมีพิธีปิดพระบาท

ในปีนี้พิธีบวงสรวง ‘เปิดป่า-ปิดเขา’ ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม 2566

มีการบวงสรวงเหมือนพิธีเปิด แต่กล่าวขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และคืนป่าให้กับสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณพระบาท

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

  • การเดินทางขึ้นไปนมัสการ ประจำปี 2565

มี 2 วิธี คือ

1.ขึ้นรถ

1) คิวรถวัดกะทิง

2) คิวรถวัดพลวง

2.เดินเท้า

1) เดินทางหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ คก.1 (พระบาทพลวง)

2) เดินทางบ้านแกลง

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

เปิดจองในแอปพลิเคชั่น KCKQue ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2565

-จะขึ้นรถ หรือเดินเท้าขึ้นเขา 

-เลือกวันที่และช่วงเวลาที่จะมา

-กรอกรายละเอียดผู้จองและจำนวนคนที่มา

เมื่อมาถึงพื้นที่ ให้แสดงหลักฐานการจองคิวต่อเจ้าหน้าที่ 

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่น KCKQue สามารถ Walk in มาได้ตามปกติ

แต่คนจองผ่านแอปพลิเคชั่นจะได้สิทธิ์ก่อน ในรูปแบบ 75 ต่อ 25

ประเพณีขึ้นเขา ‘คิชฌกูฏ’ นมัสการรอยพระพุทธบาท เริ่ม 22 มกราคม 2566 Cr. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ใน 1 วัน จะแบ่งเวลาเป็น 4 ช่วง

1) ช่วงเวลา 00.00 - 06.00 น.

2) ช่วงเวลา 06.00 - 12.00 น.

3) ช่วงเวลา 12.00 - 18.00 น.

4) ช่วงเวลา 18.00 - 24.00 น.

กำหนดคนจำนวนต่อช่วงเวลา การจอง 4,500 คน Walk in 1,500 คน 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี โทร. 039 609 672

.................................

อ้างอิง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี, เขาคิชฌกูฎ-พระบาทพลวง จันทบุรี, อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี