NIA ผนึกกำลังชาว ‘พัทลุง’ ขับเคลื่อน ‘ชุมชนนวัตกรรม’
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ยกระดับพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ที่จังหวัดพัทลุง ให้กลายเป็น ‘ชุมชนนวัตกรรม’ พร้อมเปิดตัวหน่วยขับเคลื่อนสนับสนุน 14 จังหวัด
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมมหาชน) หรือ NIA ผลักดันพื้นที่ภาคใต้สู่ ‘ชุมชนนวัตกรรม’ โดยร่วมกับ จังหวัดพัทลุง, หอการค้าจังหวัดพัทลุง และมหาวิทยาลัยทักษิณ
ลงนามร่วมมือขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมภูมิภาค พร้อมเปิดตัว ‘หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้’ มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้พึ่งพาตนเองได้ด้วยนวัตกรรม
ผลักดันอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้สอดคล้องกับกระแสโลก, พัฒนาคนให้เป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม-สตาร์ทอัพ, ดึงศักยภาพเมืองท่องเที่ยว และสร้างแบรนด์ในพื้นที่
ฉัตรชัย อุสาหะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดพัทลุง มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่ธุรกิจเพื่อสังคม
Cr. Kanok Shokjaratkul
"มีการต่อยอดนวัตกรรม โดยความร่วมมือในหลายภาคส่วน ช่วยยกระดับเศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม ทำให้สินค้าในจังหวัด สามารถแข่งขันในตลาด AEC และตลาดโลกได้
ผู้ประกอบการต้องศึกษาหาข้อมูล, ความรู้, พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์, กระบวนการผลิต รู้จักวิธีบริหารธุรกิจสมัยใหม่ให้มีความยั่งยืน
Cr. Kanok Shokjaratkul
จังหวัดพัทลุงให้ความสำคัญในการส่งเสริมเกษตร, อาหาร, ท่องเที่ยวชุมชน โดยมีแนวคิด ‘เขา ป่า นา เล’ นำจุดเด่นของจังหวัด มาผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และวัฒนธรรม เช่น มโนราห์, หัตถกรรมกระจูด ซอฟท์พาวเวอร์ของพัทลุงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในอนาคต"
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า ภาคใต้ มีสัญญาณด้านการเข้ามาของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
"NIA จึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจ, สังคม, การประกอบอาชีพ ดึงความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่มาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
ผลักดันอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้สอดรับกับกระแสโลก เช่น พลังงานหมุนเวียน, การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต, การค้าดิจิทัล, การเกษตรแม่นยำ, การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ฯลฯ
Cr. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
พัฒนาคนในพื้นที่ให้มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม-สตาร์ทอัพ รังสรรค์ผลิตภัณฑ์, บริการ ลดอัตราการไหลออกของคนในท้องถิ่น ตอบโจทย์กับตลาดแรงงาน
ดึงศักยภาพเมืองท่องเที่ยวสู่ระดับชุมชน นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชื่อมต่อนักท่องเที่ยว, สถานที่ท่องเที่ยว, ให้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กัน
ความร่วมมือในวันนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างนำร่องในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและภาคีนวัตกรรมระหว่างภาคการผลิต, ภาครัฐ, ภาคการศึกษาวิจัย และภาคสังคม
Cr. Kanok Shokjaratkul
โดยมหาวิทยาลัยทักษิณจะเป็นหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมประจำพื้นที่ภาคใต้ที่ ดูแลและสนับสนุนครอบคลุม 11 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง, ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, สงขลา, สตูล, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, พังงา, ระนอง และกระบี่
แบ่งเป็นหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมประจำพื้นที่ 8 หน่วย ได้แก่ ม.พะเยา, ม.นเรศวร, ม.มหาสารคาม, ม.อุบลราชธานี, ม.ธรรมศาสตร์, ม.ทักษิณ. ม.สงขลานครินทร์, ม.ราชภัฏกาญจนบุรี นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ 3 หน่วย ได้แก่ ม.ราชภัฏเชียงใหม่, ม.ราชภัฏสวนสุนันทา และ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน"
Cr. Kanok Shokjaratkul
รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดี ม.ทักษิณ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยทักษิณให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางสังคมและธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ
"สร้างเครือข่ายเชิงสังคม มุ่งส่งเสริมสนับสนุน สาธิตนำร่องผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชน
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ทั่วถึงเท่าเทียมกัน แบ่งปันองค์ความรู้ วิเคราะห์มิติปัญหาในพื้นที่ เชื่อมโยงสร้างเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ ผลักดันเข้าสู่การแข่งขันทางธุรกิจ
Cr. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
สอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัย ที่มีเป้าหมายพัฒนากำลังคน สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาประเทศในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ซึ่งอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้ความร่วมมือกับเครือข่าย ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและภาคเอกชน ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม"