ประกาศรางวัล ‘ศรีบูรพา’ ปี 66 ‘ชัชรินทร์-ทองแถม’
การประกาศรางวัล 'ศรีบูรพา' ประจำปี จัดขึ้นใน 'วันนักเขียน' ของทุกปี ปีนี้ได้แก่ 'ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์' และ 'ทองแถม นาถจำนง'
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดงาน ‘วันนักเขียน’ 5 พฤษภาคม 2566 ในช่วงเช้ามีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่นักเขียนผู้ล่วงลับ ณ สมาคมนักเขียนฯ ย่านบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
ในช่วงเย็นมีการจัดงานเชิดชูนักเขียน ชื่อว่า ‘มิตรน้ำหมึก ผนึกสัมพันธ์ 66’ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ หลักสี่
ก่อนเข้าสู่พิธีการประกาศรางวัล 'ศรีบูรพา' ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประธานคณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา กล่าวว่า
"รางวัลนี้ก่อตั้งโดย รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) เมื่อปีพ.ศ.2531 เพื่อต้องการให้ชื่อ 'ศรีบูรพา' ยังคงอยู่ในสังคมไทย
Cr. Kanok Shokjaratkul
ผู้จะได้รับรางวัลนี้มีหลักการว่าต้องทำงานในแนวทางเดียวกับศรีบูรพา คือเป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ แล้วก็ทำงานมายาวนาน 30 ปี และยังมีชีวิตอยู่
ในปีนี้ตรงกับ 118 ปี ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) และ 100 ปี รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ผู้ที่ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี 2566 ได้แก่ ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ และ ทองแถม นาถจำนง"
ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ส่งตัวแทนมารับรางวัล เนื่องจากป่วยไข้ไม่สามารถมาร่วมงานได้
ทองแถม นาถจำนง กับรางวัลศรีบูรพา Cr. Kanok Shokjaratkul
- คำประกาศเชิดชูเกียรติ
ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ หรือ ท่านขุนน้อย หรือ นายพรานผี เป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ ผู้ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อส่วนรวมและมนุษยธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว
เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2499 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี...เริ่มเป็นนักหนังสือพิมพ์ปี 2517...ทำงานวรรณกรรมสร้างสรรค์ ทั้งกวีนิพนธ์และเรื่องสั้น ตัวตนและผลงานปรากฎเด่นใน 3 ข้อคือ
1.เป็นนักคิดเพื่อสร้างความคิดให้สังคม... 2.เป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มั่นคงในอุดมการณ์... 3.เป็นนักเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมเพื่อความเข้าใจมนุษย์ชาติ...
Cr. Kanok Shokjaratkul
ทองแถม นาถจำนง นามปากกา ‘โชติช่วง นาดอน’ เป็นบรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้มีความรอบรู้วรรณกรรมไทย-จีน
เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2498 ที่บ้านสวนย่านวัดบวรมงคล ฝั่งธนบุรี... เริ่มเขียนและแปลงานกวีนิพนธ์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่ปี 2527... เป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารหลายเล่ม... ตัวตนและผลงานปรากฎเด่นใน 3 ข้อคือ
1.มีความเชี่ยวชาญในความเป็นบรรรณาธิการ... 2.เป็นนักวิชาการวัฒนธรรม มีความรอบรู้ลึกซึ้งในเรื่องไทย-จีน... 3. เป็นกวี สามารถเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน...
Cr. Kanok Shokjaratkul
ต่อด้วยกิจกรรม Dinner Talk หัวข้อ ‘สุวัฒน์ วรดิลก : ภราดรภาพในวงวรรณกรรม’ โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง, นทธี ศศิวิมล ดำเนินรายการโดย จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
บรรยากาศภายในงาน มีนักเขียน กวี ศิลปิน มาร่วมงานมากมาย อาทิ กฤษณา อโศกสิน, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ปองพล อดิเรกสาร, ศรีดาวเรือง, สิริมา อภิจาริน, บูรพา อารัมภีร,
จากซ้าย พงศกร, กิ่งฉัตร, กฤษณา อโศกสิน, ปิยะพร ศักดิ์เกษม Cr. Kanok Shokjaratkul
เจน สงสมพันธุ์, วสันต์ สิทธิเขตต์, จรัญ หอมเทียนทอง, กนกวลี-นิเวศน์ กันไทยราษฏร์, ปะการัง, วีรพร นิติประภา, ประชาคม ลุนาชัย, ปิยะพร ศักดิ์เกษม, กิ่งฉัตร, พงศกร จินดาวัฒนะ, กุดจี่, ไพโรจน์ สังวริบุตร ฯลฯ
Cr. Kanok Shokjaratkul
บนเวที มีการแสดงพิณแก้ว โดย วีระพงศ์ ทวีศักดิ์, โหมโรงตีระนาด โดย ขุนอิน (ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า) และวงดนตรีพื้นบ้าน'หมาเก้าหาง'
ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงเพลงขลุ่ยคลอเพลงลูกทุ่งจากคู่ชีวิต ขวัญข้าว ธิดารินทร์, แซกโซโฟน โดย เทวัญ ทรัพย์แสนยากร, แอกคอร์เดียน โดย ประสาร มฤคพิทักษ์