หนทางเติบโตเหล้าเบียร์ :ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงขาย ร่างพ.ร.บ.ใหม่'ห้ามดื่ม'?

หนทางเติบโตเหล้าเบียร์ :ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงขาย ร่างพ.ร.บ.ใหม่'ห้ามดื่ม'?

ร่างพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ ห้ามดื่มเหล้าเบียร์นอกเวลาจำหน่าย แม้ยังไม่ผ่านเป็นกฎหมาย ก็สร้างความมึนงง โดยก่อนหน้านี้ห้ามโฆษณา และการกำหนดช่วงเวลาจำหน่าย

การดื่มเหล้าเบียร์เป็นที่ทราบกันดีว่า ดื่มมากไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงต้องมีมาตรการหลายอย่างควบคุม แต่หลายมาตรการก็กีดกันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่มีความพอเหมาะพอดี ยกตัวอย่างการโฆษณาให้เป็นที่รู้จัก การกำหนดช่วงเวลาจำหน่ายสุรา ส่วนการกำหนดอายุคนซื้อก็เป็นเรื่องเหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีกรณี สุราชุมชนหรือสุราพื้นบ้าน ที่ผลิตจากพืชผลทางการเกษตร ถูกจำกัดทั้งเรื่องพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี 2560 ถ้าจะผลิตปริมาณมาก ทุนจดทะเบียนต้องสูง ทำให้ธุรกิจนี้จำกัดอยู่ที่นายทุนไม่ถึง 10 ราย

น่าเสียดายโอกาสของเกษตรกรไทยในการขายพืชผลทางการเกษตรเพื่อทำผลิตภัณฑ์สาโท ยิน จิน อุ กระแช่ สาเก สุราแช่ สุรากลั่น ฯลฯ มีอยู่น้อยมาก ทั้งๆ ที่ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาทต่อปี 

หนทางเติบโตเหล้าเบียร์ :ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงขาย ร่างพ.ร.บ.ใหม่\'ห้ามดื่ม\'?

ล่าสุด พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พูดถึงเหล้าชุมชนหลายแบรนด์ในรายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ทางช่องยูทูบ ก็มีศรีสุวรรณ จรรยา ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องการโฆษณาสุรา

ถ้าอย่างนั้นลองดูสิว่า ธุรกิจเหล้าเบียร์เมืองไทย นอกจากเรื่องภาษีและทุนขนาดใหญ่ อุปสรรคการเติบโตยังมีอีกหลายเรื่อง อาทิ ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงเวลาขาย และล่าสุดสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ เนื่องจากลิดรอนสิทธิเสรีภาพการดื่มเหล้าเบียร์ของผู้บริโภค

ห้ามโฆษณาเหล้าเบียร์

ในอดีตผลิตภัณฑ์เหล้าเบียร์มีเสรีเต็มที่ในการโฆษณาผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ รายการทีวี บิลบอร์ด  ฯลฯ กระทั่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ยุคพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกเป็นกฎหมายมาตรา 32 

 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักชวนใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อมการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม

โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าเป็นการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกจากต่างประเทศกฎหมายอนุโลมยกเว้นให้ (เป็นการถ่ายสดเข้ามาจากต่างประเทศ หากมีการบันทึกเทปไว้แล้วมีการถ่ายทอดอีกครั้ง ต้องดำเนินการห้ามโฆษณาตามมาตราดังกล่าว)

“โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด

 “ข้อความ” หมายความว่า การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้

“การสื่อสารการตลาด” หมายความว่า การกระทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขาย การแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษและการตลาดแบบตรง

ส่วนบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน มาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากระวางโทษตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

หนทางเติบโตเหล้าเบียร์ :ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงขาย ร่างพ.ร.บ.ใหม่\'ห้ามดื่ม\'?

จำกัดช่วงเวลาจำหน่ายแอลกอฮอล์

  • ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากเวลา 11.00 -14.00 น. และ 17.00-24.00 น. ยกเว้นการขายในบางกรณี อาทิ การขายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ ,การขายในสถานบริการซึ่งเป็นไปตามก่าหนดเวลาเปิดปิดของสถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ฯลฯ
  • ห้ามขายให้บุคคลดังต่อไปนี้คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
  • ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ ฯลฯ 

ร่างพ.ร.บ.ใหม่ ห้ามดื่มเหล้าเบียร์นอกเวลาจำหน่าย

ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ที่เสนอโดยภาครัฐ เสนอให้กำหนดเวลาห้ามบริโภคตามสถานที่ต่าง ๆ โดยปกติให้ขายในช่วงเวลา 11.00 -14.00 น. และ 17.00-24.00 น.  

หมายความว่าหลังเที่ยงคืน แม้จะเช็คบิลแล้ว ไม่อาจดื่มในร้านได้ถือว่าเป็นความผิด ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนสามารถดื่มได้ 

หนทางเติบโตเหล้าเบียร์ :ห้ามโฆษณา จำกัดช่วงขาย ร่างพ.ร.บ.ใหม่\'ห้ามดื่ม\'?

นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปตรวจสอบ เรียกดูบัตรประชาชน ยึดอายัด เรียกให้เข้าปากคำได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือจะตรวจสอบต้องมีตำรวจไปด้วย

ทางสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มและแอลกอฮอล์ไทย จึงออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและบริหาร รวมถึงธุรกิจโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สถานบันเทิงนอกจากกรณีเสนอให้กำหนดเวลา

ว่ากันว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นการลิดรอนและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ผู้บริโภค ที่มีตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึงธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม