'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

‘ศิลปะบนนาข้าวแมวกอดปลา’ ที่เชียงราย อวดคนทั้งโลกได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 ธค.66 ฝีมือธันยพงศ์ วิศวกรที่เป็นชาวนาวันหยุด ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่สนใจของสำนักข่าวต่างประเทศ

“ถ้าพูดถึงงานศิลปะบนแปลงนา ที่นี่ไม่ได้ใหญ่ที่สุด แต่มีความหลากหลายทางชีวภาพและสายพันธุ์ มีรายละเอียดซับซ้อนที่สุด น่าจะเป็นอันดับต้นๆของประเทศ” ดิว-ธันยพงศ์ ใจคำ  ผู้สร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา เจ้าของเกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย เล่า และวันที่ 30 ธันวาคม 2566 เปิดตัวอย่างเป็นทางการและตอนนี้เรื่องนาข้าวไทยดังไปทั่วโลก

ความซับซ้อนที่เขาพูดถึง...จึงมีที่มาที่ไป มีส่วนผสมทั้งศิลปะ การเกษตร เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ส่วนการออกแบบศิลปะยกให้ นักปราชญ์ อุทธโยธา ศิลปินชาวเชียงราย

ส่วนธันยพงศ์ เชี่ยวชาญทั้งการเกษตรและเทคโนโลยี เป็นผู้วางเฉดสีข้าวบนผืนนา ฯลฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาการเกษตร และในอนาคตอยากผลักดันให้เกษตรกรไทยร่ำรวยเฉกเช่นเกษตรกรญี่ปุ่น

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

เป็นทั้งวิศวกรและชาวนาวันหยุด

ปัจจุบันธันยพงศ์ ทำงานประจำเป็นผู้จัดการแผนก บริษัทยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเลือกที่จะเป็นชาวนาวันหยุด มีผืนนา 16 ไร่ เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม ใน จ.เชียงราย ทำการเกษตรมานานกว่า 10 ปี โดยช่วงสองปีหลังจัดวางพื้นที่แบบโคก หนอง นา เพื่อการท่องเที่ยว

เมื่อถามว่า ทำไมไม่ลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำการเกษตรเต็มตัว...

ธันยพงศ์ บอกว่า ทุกความฝันต้องใช้เงิน ร่ำเรียนมาทางด้านวิศกรรมยานยนต์ ก็ชื่นชอบด้านนี้ ส่วนการเกษตรไม่จำเป็นต้องทำตลอดเวลา

“การเป็นชาวนาวันหยุดสำหรับผมมีขีดจำกัดมากกว่าคนอื่น ผมต้องเดินทางจากอยุธยากลับบ้านมาจัดการผืนนาที่เชียงราย ถ้ามีใจรัก...เชียงรายก็แค่ปากซอย”

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี ดิว-ธันยพงศ์ ใจคำ  ผู้สร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา เจ้าของเกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

เมื่อเลือกทำทั้งสองอย่าง ธันยพงศ์จึงต้องใช้พลังมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า และในวันหยุดมักจะไปเรียนรู้เรื่องเกษตรจากผู้รู้ทั่วประเทศ

“ปี 2014 ผมไปเรียนการเกษตรเรื่องข้าวกับอาจารย์เดชา ศิริภัทร ที่มูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี ได้เรียนรู้เรื่องข้าวที่เป็นของสูง มีพระแม่โพสพคอยคุ้มครอง ผมอยากทำให้ข้าวมีต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง จึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วย ต่อไปเกษตรกรหรือคนรุ่นใหม่ที่สนใจทำนาจะไม่เหนื่อยเหมือนสมัยก่อน

ผมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีญี่ปุ่นมาใช้หลายตัวและได้ผล ซื้อรถเกี่ยวข้าวมือสอง เครื่องอบข้าวและสีข้าว มาประยุกต์ใช้ ในอนาคตคงครบวงจร นอกจากนี้ยังใช้โดรนบันทึกภาพมุมสูงท้องนา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ"

ถ้าจะทำการเกษตรโดยใช้แรงน้อยที่สุด ได้ผลผลิตเยอะที่สุด ธันยพงศ์ บอกว่า ผืนนาหนึ่งไร่สามารถสร้างผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1.2-1.5 ตัน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

“เราต้องทำเรื่องความมั่นคงทางอาหารให้สำเร็จก่อน ผมยังไม่คิดเรื่องการขาย ผมควบคุมทุกขั้นตอนในการทำนาด้วยตัวเอง แต่ไม่ได้ทำด้วยตัวเองทั้งหมด บอกวิธีการให้ญาติๆ พี่ๆ ทำ”

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

‘แมวกอดปลา’ ศิลปะบนนาข้าว

เมื่อคิดจะพัฒนาข้าวสรรพสีในผืนนาตัวเอง ธันยพงศ์ สมัครเข้าร่วมโครงการสร้างศิลปะบนผืนนา ด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม และได้รับการคัดเลือก จนเป็นที่มาของแมวกอดปลา ศิลปะบนผืนนา

 "ผมได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของภาคเหนือ จึงกลับมาคิดต่อว่า จะออกแบบยังไงให้ข้าวสรรพสีมีความโดดเด่นด้านงานศิลปะมากที่สุด ก็เลยเริ่มทำเรื่องนี้

หลังจากได้คอนเซ็ปต์ ก็ให้ศิลปินออกแบบรูปแมวกอดปลา ตั้งใจใช้พันธุ์ข้าวทั้งหมด 7 เฉดสี มีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม ขาว ฯลฯ บนผืนนา 5 ไร่ ซึ่งปีนี้มีการจัดกิจกรรมไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 จึงร่วมมือกับศิลปินเสนอผลงานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงาน

ก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวมาดูเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ ถ้ามาแล้ว ก็ไม่ได้ปฎิเสธ จากเดิมข้าวต้นเล็กๆ สีเขียว ตอนนี้(ปลายเดือนธันวาคม ปี66 ) ข้าวสรรพสีที่เราปลูกไว้ เฉดสีข้าวสวยมาก เติบโตตามลักษณะเด่นสายพันธุ์ข้าว "

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

กว่าธันยพงศ์ จะทำงานชิ้นนี้ออกมาได้ ต้องคิดและวางแผนอยู่หลายเดือน รวมถึงขอความร่วมมือทั้งคนปลูก คนเพาะเมล็ดพันธุ์ ศิลปินและวิศวกร ทั้งหมดใช้งบประมาณส่วนตัว

“แม้สเกลจะสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ แต่น่าจะมีที่นี่ที่เดียวในเมืองไทยที่รายละเอียดจัดเต็ม ใช้ข้าวแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกและเพาะเมล็ดในช่วงเวลาต่างกัน จึงมีความซับซ้อน ต้องมีการคำนวณอย่างดี เพื่อทำให้ข้าวทั้ง 7 เฉดสีมีสีสันสวยงามในวันที่ 30 ธันวาคม ความยากก่อนหน้านี้ ก็เรื่องการปรับปรุงฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์ เพื่อให้ลงตัวกับสิ่งที่เราคำนวณ โดยเฉพาะตัวแมว 5 ไร่ คนปลูกหมุนเวียน 30 คนต่อวัน ใช้เวลากว่า10 วัน นี่ยังไม่รวมการจัดการอื่นๆ อีก เช่น การจัดการเรื่อง น้ำ หญ้า แมลง ซึ่งการจัดการแบบอินทรีย์มีต้นทุนสูงมาก"

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

ศิลปะข้าวสรรพสีบนผืนนา

ส่วนอีกเรื่องที่ยาก ก็คือ การเชื่อมโยงระหว่างศิลปินผู้ออกแบบและวิศวกร เพื่อให้งานออกมาในรูปแบบที่ลงตัวที่สุด ธันยพงศ์ ต้องเอาภาพที่ออกแบบมาซ้อนกับระบบจีพีเอส เพื่อวางตำแหน่งให้ตรงกับระบบสัญญาณดาวเทียม จากนั้นค่อยๆ วางสเกลบนพื้นที่จริง ทั้งหมดนี้ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่เกิดจากจินตนาการและการประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างลงตัว

“ช่วงแรกๆ ยังไม่ค่อยเห็นเฉดสีข้าวในนามากนัก ส่วนช่วงที่สอง ข้าวจะให้สีตามคุณลักษณะของพันธุ์ข้าว ส่วนช่วงออกรวง จะเห็นข้าวสีม่วงดำตัดด้วยเมล็ดสีขาว และช่วงใกล้ๆ เก็บเกี่ยว จะเห็นเป็นสีฟางข้าว หญ้าแห้งๆ สีซีดๆ หรือสีเข้มมีความสวยงามอีกแบบ”

ถ้าถามว่า ศิลปะบนนาข้าว ช่วงไหนสวยที่สุด...

เขาบอกว่า สวยคนละแบบ วันที่ 30 ธันวาคมเป็นต้นไป ต้นข้าวแต่ละสายพันธุ์จะมีสีชัดเจนขึ้น ตัวแมวที่เราวางไว้ พื้นจะเป็นสีขาว ไหล่เป็นสีชมพู หางเป็นสีม่วงดำ เป็นเวลาสองสัปดาห์ หลังจากนั้นต้นข้าวจะตั้งท้องในเดือนกุมภาพันธ์ ปี2567

"ผมพยายามเอางานศิลปะและการปลูกข้าวที่หลายคนมองว่า ไม่สามารถเข้ากันได้ มาทำเรื่องนี้ แต่มันมีร่องรอยความสำเร็จ ในวันเปิดตัว นักวิชาการจะมาอธิบายให้ฟังมากกว่านี้

ส่วนอุปกรณ์บางตัวที่เชื่อมต่อกับสัญญาณดาวเทียมราคาสูงมาก ต้องเช่ามาใช้งานนี้ ถ้าซื้อราคาแพงมาก งานนี้มีสเกลที่ละเอียดต้องใช้ทรัพยากรคนเยอะมาก

ผมลงทุนไปหลักแสนแล้ว เพราะมีความชอบส่วนตัวและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม และศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว (NRCT) ให้การสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ "

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

ผืนนาแห่งรัก‘เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม’

ย้อนมาเรื่องชื่อเกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม มาจากการเชื่อมร้อยด้วยความรักจากคุณตา คุณยาย เจ้าของที่ดินถึงรุ่นหลาน

“ที่ดินแปลงนี้จากรุ่นคุณตาคุณยาย ผ่านมาถึงคุณแม่และมาถึงผม ทุกแปลงเชื่อมโยงกันด้วยความผูกพันและความรัก ผมจำได้ว่า ตอนผมอยู่อยุธยาเจอน้ำท่วม มีเงินมากมายแค่ไหน ก็ไม่สามารถซื้อข้าวได้ ทำให้ผมคิดว่า สักวันต้องปลูกข้าว มีพื้นที่ของตัวเอง หากเกิดวิกฤติ เราก็รอด มีข้าวเก็บไว้กิน

ส่วนอีกเรื่องที่ทำให้ผมคิดคือ ทำไมรายได้มนุษย์ทำงานในญี่ปุ่น ยังเป็นรองเกษตรกร แต่ในเมืองไทยกลับกัน ทำไมเกษตรกรบ้านเราตกอับ ในยุคหนึ่งราคาข้าวถูกมาก แต่ต้นทุนมหาศาล จะทำยังไงให้ต้นทุนการผลิตข้าวต่ำ มีความสำเร็จที่เกษตรกรชาวญี่ปุ่นทำไว้แล้ว

ผมได้ลองทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเกษตรกรทั่วไป 50 เปอร์เซ็นต์ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี คิดตั้งแต่กระบวนการเพาะเมล็ด ใช้เมล็ดพันธุ์ให้น้อยที่สุด ได้ต้นกล้าสมบูรณ์ที่สุด 

ผมตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอนาคตชาวนาอย่างผมจะสามารถร่ำรวยได้เหมือนชาวนาญี่ปุ่น และผมไม่จำเป็นต้องออกจากงาน ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันได้ ผมมองว่า การวางแผนสำคัญมาก งานพวกนี้มีรูปแบบชัดเจน ถ้าเราทำให้เป็นสูตรสำเร็จได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ช่วงแรกๆ อาจใช้เงินทุนและแรงเยอะ "

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี

\'ศิลปะบนนาข้าว แมวกอดปลา’ที่เชียงราย : เรื่องเล่าความมหัศจรรย์ข้าวหลากสี .................

ดูรายละเอียด งานศิลปะบนนาข้าว ได้ที่เฟซบุ๊ก ศิลปะบนนาข้าว เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม