เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน

เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน

สสส. และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกผ่านทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน ส่วนใหญ่กลุ่ม Gen Y เสียหายมากที่สุด จากการซื้อสินค้าออนไลน์และหลอกให้ลงทุน

ปัญหาภัยคุกคามออนไลน์ไม่ใช่เรื่องที่สังคมไทยมองข้ามอีกต่อไป หากจำเป็นต้องเร่งหามาตรการรับมือ หลังพบคนไทยกว่า 36 ล้านคน เคยมีประสบการณ์ถูกหลอกลวงทางออนไลน์ในปีที่ผ่านมา

ล่าสุดมีข้อมูลจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ หัวหน้าโครงการศึกษาสถานการณ์ภัยคุกคามทางออนไลน์ กล่าวว่า จากการสำรวจสถานการณ์การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ของประชากรไทยอายุ 15 - 79 ปี ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม 2566 รวม 6,973 ตัวอย่าง จาก 24 จังหวัด พบว่าคนไทยกว่า 36 ล้านคนถูกหลอกลวงออนไลน์ในรอบปี 2566 ในจำนวนนี้เกินครึ่งหรือประมาณ 18.37 ล้านคน ตกเป็นผู้เสียหาย โดยคน gen Y เป็นกลุ่มถูกหลอกที่มีจำนวนผู้เสียหายมากที่สุดและมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด 

"ประเภทการหลอกลวงที่พบจำนวนผู้เสียหายและมูลค่าความเสียหายมากที่สุดอยู่ในกลุ่มซื้อสินค้าออนไลน์และหลอกให้ลงทุน ลำดับถัดมาคือหลอกรับสมัครงาน / ให้ทำงานออนไลน์ / ทำภารกิจออนไลน์ หลอกว่ามีพัสดุตกค้าง หลอกเป็นคนรู้จักโดยปลอมหรือแฮกบัญชีหรือหลอกว่าคนรู้จักกำลังมีปัญหา หลอกให้กู้ / แอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมาย หลอกเรียกเก็บเงิน / อ้างว่าค้างจ่ายค่าบริการต่างๆ หลอกให้รักออนไลน์ ด้านอัตราการตกเป็นผู้เสียหายคือในคนถูกหลอก 100 คน หลอกสำเร็จ - ตกเป็นผู้เสียหายกี่คน พบว่าการหลอกลวงทำงานต่างประเทศโดยให้โอนเงินค่าประกันหรือค่าดำเนินการพบอัตราการตกเป็นผู้เสียหายมากที่สุด 35.6% มีมูลค่าความเสียหายต่อคนมากที่สุด 31,714 บาท ปี 2566 ความเสียหายจากการถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์มีมูลค่าประมาณ 49,845 ล้านบาท เฉลี่ย 2,660.94 บาท / คน" รศ.ดร.นวลน้อย กล่าว

เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน

รศ.ดร.นวลน้อย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ผู้เสียหายยังได้รับผลกระทบด้านอื่นๆ ตามมา ทั้งปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กลัวถูกคนใกล้ชิดกล่าวโทษจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาขาดความเชื่อมั่นต่อการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ เช่น ไม่กล้ารับเบอร์แปลก / เบอร์ที่ไม่รู้จัก / ไม่มีในรายชื่อ เลี่ยงการใช้แอปฯ ที่มีการให้กรอกข้อมูลส่วนตัว กังวลในการซื้อสินค้าออนไลน์ / ซื้อสินค้าออนไลน์น้อยลง และอื่นๆ ที่สำคัญคือปัญหาสุขภาพจิต ตั้งแต่การโทษตัวเองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 61.3%

"หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลายเป็นคนที่หวาดกลัวต่อการดำรงชีวิต 43.9% รู้สึกสิ้นหวังและไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไป 22.6% พบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยเยียวยาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 13.5%" รศ.ดร.นวลน้อย กล่าว

วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวว่า โลกออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ เช่น อาชญากรรมออนไลน์ การหลอกลวงผ่านออนไลน์ ถือเป็นภัยคุกคามสำคัญ สสส. จึงเริ่มผลักดัน สานพลังการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมแก้ไขปัญหา โดยสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย การออกแบบวิธีการรับมือกับภัยคุกคามออนไลน์ สร้างความรู้เท่าทันสถานการณ์ และส่งเสริมการปราบปรามที่เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

"สังคมมองภาพผู้เสียหายว่า โลภ หลง และไม่ระวัง ถือเป็นการซ้ำเติม ผู้เสียหายมักโทษตัวเอง กลัวถูกคนใกล้ชิดตำหนิ กล่าวโทษ ทำให้ไม่กล้าบอกครอบครัว หรือคนรอบข้าง กลายเป็นความเครียด หวาดกลัว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน" วิเชษฐ์ กล่าว

เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน

เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน เผยผลสำรวจปี 66 คนไทย 36 ล้านคน เคยถูกหลอกลวงทางออนไลน์ สูญเสียถึง 5 หมื่นล้าน