‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

‘ทุเรียน’ ผลไม้หน้าร้อนสีเหลืองทอง จุดเปลี่ยนชีวิตนักธุรกิจสายท่องเที่ยว ในวันที่โรคโควิดระบาด ทำให้ 'ขจรพงศ์ ชูปัญญานนท์' ค้นพบอาชีพใหม่ ปลูกทุกเรียนปลอดภัย ในวิถี ‘เกษตรอินทรีย์’ ภายใต้ชื่อ ‘สวนนิรามิสสุข’

ขจรพงศ์ ชูปัญญานนท์ หนุ่มนักธุรกิจผู้หลงใหลในการท่องโลก เริ่มต้นจากการเป็นผู้นำเที่ยวการเดินป่า และ ท่องเที่ยว ทั้งในไทยและต่างประเทศ จนกระทั่งหันมาจับเส้นทางท่องเที่ยวมัลดีฟส์อย่างจริงจัง ด้วยเสน่ห์ของเกาะสวรรค์ที่ไม่ว่าใครได้สัมผัสย่อมหลงรัก แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ที่พลิกผันให้ทุกสิ่งต้องหยุดชะงัก ทำให้เขาต้องกลับไปกักตัวใน สวนผลไม้ บ้านเกิดของแม่ที่ จังหวัดตราด และนั่นอาจเป็นโชคชะตาที่นำพาให้เขาค้นพบเส้นทางอาชีพใหม่ในฐานะ เกษตรกร ซึ่งเขาไม่เพียงมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงด้วยการปลูก ทุเรียนและผลไม้อินทรีย์ แต่ยังเปิดใจเรียนรู้และค้นหานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิต ปลอดภัย   

โควิด-19 จุดเปลี่ยนแนวคิด พลิกชีวิตสู่ความยั่งยืน

ขจรพงศ์ ชูปัญญานนท์ เล่าว่า พื้นเพคุณแม่เป็นคน จังหวัดตราด พี่น้องฝั่งคุณแม่ทั้งหมดทำ สวนทุเรียน ซึ่งในช่วงการระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ต้องกลับมากักตัวอยู่ที่บ้านสวน เป็นโอกาสให้เราได้เห็นวิถีชีวิตชาวสวน  และรู้สึกว่าเป็นอาชีพที่ดี มีความยั่งยืนในเรื่องปัจจัย 4

“ผมมองว่าสิ่งที่ทำให้เรามั่นคงได้ คือ ปัจจัย 4 ก็เลยลองเปิดใจดู ตัดสินใจมองหาพื้นที่เพื่อลองทำ สวนทุเรียน ในแบบของเรา กระทั่งมาเจอสวนแปลงนี้ที่ จังหวัดตราด เขาประกาศขาย ซึ่งเจ้าของเดิมปลูกทุเรียนอยู่แล้ว พื้นที่ที่ซื้อทั้งหมดรวม 50 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 30 ไร่ เป็น ทุเรียน 10 ไร่ และ มังคุด กับ ลองกอง รวม 20 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งสวนของเรามีชื่อว่า สวนนิรามิสสุข

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ การปลูกทุเรียน ให้สำเร็จคุ้มทุนในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนถือว่าเป็นเรื่องยากแล้ว แต่ ขจรพงศ์ กลับเลือกโจทย์ที่ท้าทายยิ่งกว่าคือการปลูก ทุเรียนอินทรีย์

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’ ‘ขจรพงศ์ ชูปัญญานนท์’ ผู้เปลี่ยนชีวิต จาก ธุรกิจท่องเที่ยว สู่ เกษตรอินทรีย์

 “เจ้าของสวนเดิมปลูกทุเรียนอยู่แล้ว แต่ปลูกแบบเคมี แต่เราเลือกปรับสู่ วิถีเกษตรอินทรีย์ เพราะจะได้อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ปลอดโปร่ง อยากใช้เวลาอยู่กับสวนได้นานๆ เริ่มต้นเราไม่ได้มีความรู้ในการปลูกทุเรียนเลย ช่วงแรกก็อาศัยความรู้พื้นฐานจากญาติพี่น้องและเพื่อนที่ทำมาก่อน แต่ส่วนใหญ่เขาปลูกเคมี

เราก็ต้องออกไปหาความรู้การทำ เกษตรอินทรีย์ เพิ่มเติม เข้าไปขอเรียนรู้จากปราชญ์ในพื้นที่ ใช้การเดินเข้าไปหา ขอเข้าไปดูสวน แล้วก็ค้นคว้าหาข้อมูลจากยูทูป ศึกษาองค์ความรู้งานวิจัยจากหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในสวนเรา ก็ทดลองทำทุกอย่าง ทั้งน้ำหมักชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ การทำปุ๋ยหลากหลายชนิด ตอนหลังมาเจอเกษตรธรรมชาติก็ค่อยๆ ปรับ กระทั่งสุดท้ายเหลือแค่ใส่ปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน”

ไม่ใช่แค่ทุเรียน แต่ต้องเป็น ‘ทุเรียนปลอดภัย’ 

สวนนิรามิสสุข ไม่ได้เพียงมีแนวคิดการทำ เกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างแหล่งอาหารที่มั่นคงและพื้นที่ปลอดภัยให้ชาวสวนเท่านั้น แต่เขามุ่งหวังผลิต ทุเรียนปลอดภัย ที่ผ่านการบ่มเพาะด้วยความใส่ใจ ร่วมกับการใช้นวัตกรรม ถุงห่อทุเรียน Magik Growth ผลงานการวิจัยโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

ทุเรียนเกษตรอินทรีย์ 

ขจรพงศ์ เล่าว่า การทำเกษตรอินทรีย์มีปัญหาหนักที่ต้องเจอ คือ โรคและแมลง ซึ่งปัญหาที่เราพบ คือ หนอนเจาะทุเรียน โดยปีล่าสุดมีผลผลิต ทุเรียน เสียหายมากกว่า 50% สมมติมีทุเรียน 1,000 กว่าลูก โดนหนอนเจาะไปแล้ว 600-700 ลูก ทุเรียนที่หนอนเจาะส่งขายไม่ได้ ต้องปรับเปลี่ยนมาแกะเนื้อทุเรียนไปแปรรูป เช่น ทุเรียนกวน ทำให้มูลค่าการขายลดลง สร้างความเสียหายอย่างมาก ที่ผ่านมาพยายามหาวิธีแก้ปัญหาทั้งการใช้สารชีวภัณฑ์ สมุนไพร รวมถึงองค์ความรู้ต่างๆ ในการป้องกันแต่ยังไม่เห็นผลเด่นชัด กระทั่งเจอนวัตกรรม ถุงห่อทุเรียน Magik Growth ที่อาจเป็นทางออก 

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

“ช่วงปีแรกทดลองใช้บางส่วนประมาณ 30 ต้น แต่ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่พอใจมาก เพราะถุงห่อช่วยป้องกันหนอนเจาะทุเรียนแทบ 100% ทำให้เราตัดสินใจใช้ถุงห่อทุเรียนทุกต้นทั้งสวนต่อเนื่องมาถึง 3 รอบการผลิต ที่สำคัญคือนวัตกรรมถุงห่อทุเรียนไม่ได้มีดีแค่ป้องกันแมลง แต่ช่วยยกระดับคุณภาพทุเรียนด้วย ผู้บริโภคและแม่ค้าที่รับทุเรียนไปขายบอกว่า ทุเรียนของเราคุณภาพดี ผิวสวย มีปริมาณเนื้อทุเรียนเยอะ เม็ดเล็ก เปลือกบาง เวลาผ่าลูกทุเรียนเห็นเนื้อแล้ว ลูกค้าชอบมาก”

เห็นเป็นเพียงถุงแดงๆ ที่ดูไม่พิเศษอะไร แต่ความจริงแล้วถุงห่อทุเรียน Magik Growth ผ่านการวิจัยและพัฒนาให้มีสมบัติพิเศษต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผลทุเรียน

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

‘ถุงห่อทุเรียน Magik Growth’ ทางออกจากจากรบกวนของหนอนและแมลง 

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’ “ถุงห่อใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปแบบนอนวูฟเวน ทําให้ถุงมีรูพรุน ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ส่วนตัวถุงห่อที่มีสีแดง เพราะมีการวิจัยแล้วว่าช่วยคัดกรองคลื่นแสงที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาผลในทุเรียน ลดปริมาณเส้นใย และปริมาณไฟเบอร์ในเนื้อทุเรียน ดังนั้นถุงห่อทุเรียน Magik Growth ตอบโจทย์การปลูกทุเรียนอินทรีย์ได้มาก ทั้งสร้างความแตกต่าง เพิ่มคุณภาพผลผลิต และเป็นเกราะป้องกันปัญหาโรคและแมลงได้ 100% ที่สำคัญคือการห่อทุเรียนทำให้รู้สึกว่าได้ดูแลทุเรียนทุกลูกจริงๆ เพราะเราตั้งใจปลูก ทุเรียนปลอดภัย

ใช้ธรรมชาติรังสรรค์ สร้างรสชาติแสนพิเศษ

จุดเด่นของ ทุเรียนอินทรีย์ สวนนิรามิสสุขไม่เพียงปราศจากสารเคมี และมีนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มคุณภาพผลทุเรียนแล้ว สวนแห่งนี้ยังเลือกใช้ วิถีตามธรรมชาติ ในการสร้างรสชาติทุเรียนที่แตกต่าง

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

ดอกทุเรียนบานสะพรั่ง 

ขจรพงศ์ เล่าว่า สวนของเราไม่ใช้วิธีการปัดดอกทุเรียน แต่เลือกใช้วิถีทางธรรมชาติ ให้แมลงเป็นผู้ผสมเกสร และลดสิ่งที่จะเข้าไปแทรกแซงการเจริญเติบโตของทุเรียนให้น้อยที่สุด เพราะเราอยากขายรสชาติที่แท้จริง ความเป็นดั้งเดิมของผลไม้ ดังนั้นรสชาติความอร่อย หรือความพิเศษของทุเรียนแต่ละลูก ธรรมชาติเป็นผู้รังสรรค์

“เมื่อก่อนที่สวนจะมี ทุเรียนพันธุ์พวงมณี ทุเรียนกระดุม บางทีแมลงไปเกาะเกสรต้นทุเรียนพันธุ์กระดุมแล้วมาเกาะเกสรของต้นทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนลูกนั้นอาจมีการผสมเพิ่มบางอย่าง รสชาติอาจจะมีความพิเศษมากขึ้น ผมอยากให้กระบวนการเหล่านี้ยังคงอยู่ ดังนั้นแต่ละปีทุเรียนก็มีความพิเศษที่แตกต่างกันไป” 

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’

นอกจากปล่อยแมลงในสวนให้รับหน้าที่หลักในการผสมเกสรแล้ว ขจรพงศ์ ยังเรียนรู้และทดลองนำ ชันโรง มาเป็นผู้ช่วยผสมเกสรดอกทุเรียนที่บานสะพรั่ง     

“ตอนแรกไม่รู้จักชันโรงเลย ก็ศึกษาไปเรื่อยๆ พบว่าการเลี้ยงชันโรงมีประโยชน์มาก น้ำผึ้งของชันโรงมีคุณค่ากว่าน้ำผึ้งทั่วไป ก็เลยลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของชันโรงบ้านเรา ขอเดินทางไปดูของจริงว่าเขาทำยังไง พี่ๆ ก็ให้ความรู้และดูแลอย่างดี ได้ทั้งความรู้ ได้เพื่อนที่ดีมากๆ เยอะเลย ตอนนี้ก็นำมาทดลองเลี้ยงในสวน เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตตามธรรมชาติ”    

‘ทุเรียน’ เปลี่ยนชีวิต จาก ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ สู่ ‘เกษตรอินทรีย์’         

ทุกวันนี้ สวนนิรามิสสุข ยังต่อยอดขยายผลการปลูกผลไม้อื่นๆ  ทั้งมังคุด ลองกอง เสาวรส มะม่วง และชมพู่ รวมทั้งยังเริ่มทดลองปลูกข้าว และผักสวนครัวต่างๆ เพื่อสร้างแหล่งอาหารที่มั่นคง แม้วันนี้เส้นทางอาชีพเกษตรกรจะแตกต่างจากการทำธุรกิจท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งหนึ่งที่เขาค้นพบว่าต้องมีไม่ว่าอาชีพไหน นั่นคือ ความอยากรู้อยากเห็น

“ความอยากรู้ อยากเห็น ผมว่าสิ่งนี้สำคัญมาก เพราะเมื่อไหร่ที่เราอยากรู้ก็จะไปต่อได้ เป็นแรงผลักดันที่ทำให้รู้สึกสนุกในการลงมือทำ เหมือนได้ทดลองไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างเป็นแพทเทิร์นเดิม วนอยู่แบบเดิม ผมคิดแบบนั้น และที่สำคัญคือเราต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ด้วย เพราะจะเป็นกุญแจที่เปลี่ยนความท้าทายให้กลายเป็นความมั่นคงในอนาคต” ขจรพงศ์ กล่าวทิ้งทาย