ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

มารู้จักระบบการทำงานและเข้าใจ ‘สมอง’ ของเราให้มากขึ้น โดย ‘หมอตุ๊ด’ นพ.อุเทน บุญอรณะ นักเขียนนิยายที่ถูกนำไปผลิตเป็นซีรีส์มากมายหลายเรื่อง

"การเขียน 97% เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วใช้ศิลปศาสตร์ (วิธีการเล่า) มาประกอบ ตัวหนังสือดำ ๆ กับกระดาษขาว ๆ พอตามอง จะเกิดกระบวนการรับภาพ เกิดเป็นภาพในสมอง"

หมอตุ๊ด หรือ หมอแพท หรือ นายแพทย์อุเทน บุญอรณะ สาขาระบบประสาทและสมอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงาน Book Talk How to Read to Be... โดยมี นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ร้านสวนเงินมีมา ถนนเฟื่องนคร วันที่ 7 กันยายน 2567

หมอแพท เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนนิยายเรื่อง Wake Up ชะนี! ตื่นเถอะค่ะ! ชะนีขา ที่ GMM TV นำไปสร้างเป็นซีรีส์ชื่อว่า Wake Up ชะนี The Series

เริ่มต้นงานเขียนจากความอยากถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ลงในเพจเฟสบุ๊คชื่อว่า หมอตุ๊ด

มีผลงานนิยายแนว neuro-psychi-thriller มากมาย ได้แก่ กว่าเจ้จะเป็นหมอ 1-2, Wake up ชะนี, The our story, เป็นผู้ใหญ่ใครว่าไม่เจ็บ, แรง บัน ได จาร์ย, คือเธอในหัวใจ, คำที่มิได้เอ่ย, เผยใจรัก, เรื่องรักนาย My Ride, My imaginary boyfriend, I love you to die, เจ็ดวันก่อนวาเลนไทน์ เรื่อง I love/kill you, ใครในกระจก

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ทุกอย่างเริ่มต้นที่ Story

เวลาเราอ่านอะไรแล้วรู้สึกชอบ นั่นเพราะสมองมันทำงานกับบางสิ่งที่อยู่ภายในของเรา หมอแพทว่าอย่างนั้น

"มีการวิจัยจากคำถามว่า คนเรามีศูนย์ประมวล story หรือเปล่า ด้วยการเอาคนมาฟังเรื่องราวที่เล่าใน 3 แบบ คือ อ่าน, ดูนิทานภาพ, ดูละครใบ้ แล้วเอาคนมาสแกนสมองด้วย MRI พบว่า ในสมองจะมีส่วนหนึ่งทำงาน เชื่อมระหว่างสิ่งแวดล้อมภายนอกกับตัวตนภายใน

แล้วยังค้นพบว่าสมองมนุษย์จะเริ่มรับรู้ว่านี่คือ Story ก็ต่อเมื่อมี ตัวละคร เกิดขึ้นมา

ทำไมเวลาเราดูภาพยนตร์บางเรื่องแล้วนั่งร้องไห้เสียใจมากมาย ทั้งที่เป็นเรื่องแต่ง นักแสดงก็ไม่ได้ตายจริง นั่นเพราะ Story ดี ๆ ทำอะไรบางอย่างกับสมอง

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

เมื่อเราได้รับชม Story ดี ๆ สมองจะหลั่งออกซิโตซินออกมา เมื่อลองเอาเรื่องเดิมมาเล่าใน 11 โครงสร้างให้คนฟัง ก็พบว่า มีเพียง 3 โครงสร้างเท่านั้น ที่เล่าแล้วคนจะอินมาก คือ

Three Act ของอริสโตเติล, Freytag’s Pyramid ของเฟรย์แท็ก และ A Hero’s Journey ของโจเซฟ แคมป์เบลล์ โครงสร้างที่คนอินมากที่สุดคืออันที่สาม A Hero’s Journey

คนเรามักจดจำสิ่งที่เป็น Story หรือเป็นประธาน-กริยา-กรรม ได้มากกว่าตัวอักษร 

มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกว่า ภาษา โดยเฉพาะ Story เป็นสื่อที่ดีที่สุดในการพาไปสู่ความทรงจำ มนุษย์ไม่เคยด่ากันด้วยดาต้า เรารู้สึกได้ด้วยสตอรี่ เราจดจำได้ด้วยสตอรี่"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • โรคแปลก ๆ ทางสมอง ที่มีอยู่จริง

หมอแพทเล่าว่า นิยายของตัวเองที่ชื่อว่า ใครในกระจก เป็นเรื่องของเด็กอายุ 17 ปี เป็นโรคทางสมองที่จำอะไรไม่ค่อยได้ต้องจดทุกอย่างลงในสมุด อยู่กับพ่อสองคน

"วันหนึ่งส่องกระจกแล้วเห็นผีชายแก่อยู่ด้านหลังเอามือแตะอยู่ที่บ่า ทำให้เขากลัว พ่อก็พาไปแอดมิทแผนกจิตเวชที่รพ.แต่รักษายังไงก็ไม่หาย แสดงว่าสิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ภาพหลอนแต่เป็นสิ่งที่ตามมาหลอกหลอนจากอดีตที่เขาลืม ต่อมาเขาเจอหลักฐานว่าพ่อเขาเสียชีวิตไปนานแล้ว แล้วคนที่เข้าใจว่าเป็นพ่อไม่ใช่พ่อ แล้วผีชายแก่เป็นใคร โรคแบบนี้มีอยู่จริง (จะได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ทาง VIU ในเดือนกุมภาพันธ์)

มีเคสหนึ่ง แม่ตื่นมาแล้วพบว่าลูกสาวหายไป เก็บข้าวของเสื้อผ้ารูปถ่ายออกไปหมดเลย แม่ไปตามที่รร. ไม่อยู่ที่รร. คุณครูบอกว่าเราไม่เคยมีเด็กชื่อนี้ แม่มาดูในเฟสบุ๊ค รูปถ่ายใส่กรอบไว้ในบ้าน รูปลูกสาวหายไปแต่รูปแม่ยังอยู่ แม่เริ่มกลัว ไปหาพ่อแม่ตัวเอง คุณตาคุณยายบอกว่าลูกเคยแต่งงาน เคยหย่า แต่ไม่เคยมีลูก ผู้หญิงคนนี้ก็ไม่เชื่อ เป็นคดีความวุ่นวายมาก สุดท้ายมาจบที่หมอสูติ สแกนมดลูก แล้วชี้ขาดว่า มดลูกนี้ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาก่อน

เคสนี้เป็น False Memory Syndrome มีความทรงจำเทียมเกิดขึ้น เกิดจากความฝันกับความทรงจำสลับที่กัน ทำให้เข้าใจว่ามีลูก จริง ๆ แล้วเป็นแค่ความฝันในหนึ่งคืนเท่านั้น"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • นักเขียนไทย ที่ชาวต่างชาติรู้จักมากกว่าคนไทย

หมอแพทตัดพ้อว่า เรื่องที่เขียน ในไทยไม่ได้ผล เพราะมีตัวละครเป็นชาย-ชาย ร้านหนังสือก็จัดให้ไปอยู่ในกลุ่มนิยายวาย

"เรื่อง ใครในกระจก อ่านแล้วรู้สึกเป็นทริลเลอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหมวดนั้น ไปอยู่หมวดนิยายวาย เมื่อสาววายมาอ่านแล้วไม่มีฉากสวีท ก็ไม่เสียเวลาอ่าน 

เรื่องที่เขียนขายได้ในต่างประเทศเพราะแปลเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเรื่อง แฟนผมไม่มีตัวตน แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วขายใน Amazon สำนักพิมพ์คาโดกาว่าที่ญี่ปุ่นก็ติดต่อมาขอซื้อลิขสิทธิ์ไปแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น พอคาโดกาว่าไต้หวันเห็นก็ซื้อลิขสิทธิ์ไปแปลเป็นภาษาจีน

ส่วนเรื่อง ใครในกระจก ก็ทำกับสำนักพิมพ์เอแมกซ์ ประเทศเวียดนาม, สำนักพิมพ์เพียวนี่ ประเทศอิตาลี และ Penguin Random House"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • จะทำยังไง ให้คนไทยอ่านนิยายของนักเขียนไทย 

หมอแพทบอกว่า ถ้าเราเขียนนิยายแล้วไม่มีคนอ่าน แปลว่า มีเดียที่เราใช้ไม่ได้นำสตอรี่ไปสู่สมองของคนอ่าน

"ในโลกนี้มีคนใช้ภาษาไทยอยู่ 70 ล้านคน ใน 70 ล้านคนนั้นมีคนที่อ่านหนังสือกี่คน ซึ่งถ้าเราแปลเป็นภาษาอังกฤษ เราจะใช้อีก Matrix หนึ่ง คือทั้งโลก

ภาษาไทยอยู่ในลำดับที่ 27 ที่มีคนใช้ทั้งโลก ภาษาอังกฤษเป็นอันดับหนึ่งภาษาจีนเป็นอันดับสองที่มีคนใช้ทั้งโลก เราก็จะขยายฐานคนอ่านได้

อย่าเพิ่งบอกว่าคนไม่ชอบนิยายเรา ให้ถามตัวเราก่อนว่าเราเลือกใช้มีเดียอะไร

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ Cr. ร้านสวนเงินมีมา

ที่น่าเศร้ามากคือ คาโดกาว่าญี่ปุ่นโปรโมทเล่มนี้ แล้วมีคนถามอัมรินทร์ว่าทำไมไม่ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องนี้มาแปล เธอ คนเขียนชื่อว่า แพททริค รังสิมันต์ คิดว่าเป็นคนอินเดียเหรอ คาโดกาว่าไม่รู้จะตอบยังไง ตอบว่า เป็นนักเขียนในประเทศคุณเองไม่ใช่เหรอ เล่มนี้มียอดพิมพ์ 2 ครั้ง ๆ ละ 30,000 เล่ม

เรายังจำเป็นต้องมีภาษาไทยอยู่ เพราะทำงานกับโปรดักชั่นซีรีส์ในเมืองไทย เรื่องนี้ ปีนี้ พี่ฉอด CHANGE 2561 ซื้อลิขสิทธิ์ไปทำซีรีส์แล้ว

เราเคยเอาเรื่องนี้ไปเสนอสำนักพิมพ์ไทยแห่งหนึ่ง เขาบอกว่า ขอพิจารณาดูก่อน รออยู่ 5 เดือน สำหรับผู้หญิง ถ้าเขาปล่อยให้เรารอ แปลว่าเขาชัดเจนแล้วว่าเราจะได้แค่รอ ไม่มีทางได้รางวัล คนรอจะได้บทเรียน"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • สมองกับหนังสือ

มีงานวิจัยหนึ่งบอกว่า 30 หน้าแรกคือการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อหนังสือเล่มนั้น ถ้าเราไม่สามารถเอา Inside มาใส่ใน 30 หน้าแรก เขาจะไม่ซื้อ หมอแพทว่าอย่างนั้น 

อย่างโปรยว่าเหมือนจะฆ่ากัน แต่ตอนต้นเรื่องรักกันปานจะกลืนกิน มันเกิดอะไรขึ้น ? ทำให้อยากรู้อยากติดตาม สมองมนุษย์ชอบการแก้ไขปัญหา

ถ้าเราเขียนหนังสือไม่ออก เราต้องเปลี่ยนโจทย์จากที่ถามว่าฉันจะเขียนต่อยังไง เป็นฉันจะแก้ปัญหานี้ยังไง ต้องตั้งคำถาม ถ้ามีคำถามแล้ว สมองจะทำงานเพื่อตอบคำถาม

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

วิธีการเล่าเรื่องของนักเขียนแต่ละคนก็เป็นซิกเนเจอร์ของแต่ละคน แล้วมันจะไปทำงานกับตัวตนของคนอ่าน

เวลาที่เราดูซีรีส์เกาหลีแล้วรู้สึกว่านางเอกทำไมมันตัดสินใจบ้งจังวะ ถ้ารักกับพระรองก็จบตั้งแต่ตอนแรกแล้ว ไม่ลากยาวมาถึง 13 ตอน นั่นเพราะเขาจงใจให้สมองของเราทำงาน ติดตามไปเรื่อย ๆ เพื่อดูว่าผู้หญิงคนนี้มันจะทำยังไงต่อ

โลกของหนังสือที่ดี คือโลกที่มีหนังสือหลากหลาย ร้านหนังสือที่ดีคือร้านที่มีคาแรคเตอร์ ถ้าเรามาแล้วพบแต่หนังสือที่เราชอบจะรู้สึกเหมือนพบรัก ที่นี่เขาช่างเลือกหนังสือได้ตรงจริตกับเราจังเลย"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • การอ่าน คือการค้นหาตัวเอง

ถ้าเราไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง อ่านแล้วไม่ค่อยรู้สึกชอบเท่าไร ก็ให้ปิดเลย ไม่ต้องไปเสียดาย ให้ไปหาเล่มใหม่ หมอแพทแนะนำอย่างนั้น

"หนังสือก็เหมือนกับการคบคน อ่านแล้วรู้สึกไม่ค่อยชอบ คนอื่นอาจบอกว่าทนอ่านไปก่อน แต่ถ้าเราไม่เห็นอนาคตตัวเองกับหนังสือเล่มนี้เลย ก็ปิดเลย

เราไม่ควรใช้เวลากับคนที่เรามองไม่เห็นปลายทาง ถ้าเกิดเราคบกับคนนี้แล้วไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นยังไง มนุษย์เราจะตัดสินใจตามบางสิ่งที่มีอยู่ในตัวตนเรา เราจะไม่ตัดสินใจตามเหตุผล"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • สมองทำงานอย่างไร

สมองของเราทำอะไรได้มากมายโดยที่เราไม่รู้ หมอแพทบอก 

"มีงานวิจัยหนึ่ง ถามว่าในหนึ่งวันคุณคิดว่าคุณตัดสินใจเรื่องอาหารกี่ครั้ง ค่าเฉลี่ยคือ 40 ครั้ง แต่พอเอาเครื่องจับสัญญาณไฟฟ้าในสมองมาใช้ พบว่า มนุษย์มีการตัดสินใจเรื่องอาหารวันละ 260 ครั้ง มันมีอีก 220 ครั้งที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราตัดสินใจ

อีกกรณีหนึ่ง ที่เทือกเขาเอเวอเรสต์ ถ้าคุณออกเดินทางตั้งแต่เช้า บ่ายสองยังไม่ถึงยอด ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ไม่ว่าอีกกี่ร้อยเมตรจะถึงยอด คุณต้องเดินทางกลับ เพราะถ้าเดินต่อหลังบ่ายสองโอกาสเสียชีวิต 98% ในปี ค.ศ.1981 ไกด์ไลน์นี้ยังไม่ออกมา มีคนตายบนเทือกเขานี้ 8 คน

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด 

ต่อมา ในปีค.ศ. 2024 ไกด์ทุกคนบอกไกด์ไลน์นี้ เดือนมกรา-มิถุนา มีคนตายถึง 8 คน ทั้ง ๆ ที่รู้ ทำไมเราถึงทำ ?

นั่นเพราะมนุษย์ตัดสินใจด้วยบางสิ่งที่มีอยู่ในตัวตนเอง มากกว่าอารมณ์ความรู้สึก มันเป็นเซ็ทข้อมูลที่อยู่ในสมองเรา ที่เราใช้ประมวลและตัดสินใจ

สมองจะเลือกข้อมูลจากความทรงจำเอามาเป็นค่าเซ็ทหนึ่งเป็นค่ามาตรฐาน เมื่อมีบางสิ่งเข้ามา เราจึงตัดสินใจแบบนี้ เราเป็นคนแบบนี้เพราะเราผ่านเรื่องราวเหล่านั้นมา"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ Cr. หมอตุ๊ด

  • สมองเป็นบ้านของจิตใจ

หมอแพทบอกว่า ทุกความคิด ทุกพฤติกรรม ทุกอารมณ์ ความรู้สึก เกิดขึ้นในสมอง สเตตัส เกิดจากสมองประมวลผล

"หลาย ๆ คนเข้าใจว่าความรักคืออารมณ์ ความรักไม่ใช่อารมณ์ ความรักเป็นเซ็ทของดาต้าสเตตัสของเรากับคน ๆ หนึ่ง

ยกตัวอย่าง บางครั้งเราก็อยากกระโดดไปบีบคอมัน บางครั้งก็อยากจะหอมแก้ม เราไม่สามารถรักและโกรธในเวลาเดียวกันได้

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

ความรัก คือ ร่มใหญ่ ๆ ของเซ็ทข้อมูลที่สมองตั้งค่าเรากับมนุษย์คนนี้

อย่างบางคู่ เธอนอกใจฉัน งั้นเราเลิกกัน ฟังดูสมเหตุสมผล / เราคบกันเพราะเรารักกัน เราควรจะเลิกคบกันเมื่อเราไม่รักกันแล้ว

ถ้าคุณใช้การเลิกกันมาเป็นบทลงโทษในการทำผิดสัญญา ความรักมันยังไม่จบ ดังนั้นคุณจึงยังเวิ่นเว้อต่อ แม้เขาจะยังทำผิดต่อคุณ เพราะสเตตัสมันยังไม่จบ

คนมักเข้าใจว่าความรักไม่มีวันตาย แต่จริง ๆ แล้วทุกอย่างมันตายได้หมด ความรักไม่ว่าจะยาวหรือสั้น มันก็เป็นความรัก

ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นในสมองทั้งนั้น เรารักใครคนหนึ่งก็ด้วยสตอรี่ของเขาที่ทำกับเรา เราเกลียดใครคนหนึ่งก็ด้วยสตอรี่ที่เขาทำกับเรา"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • ถ้าเขาตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงเขาก็ไม่รัก

นี่เป็นคำถามยอดนิยม หมอแพท มีคำตอบว่า

"มีงานวิจัยหนึ่งบอกว่า หนังสือทุกเล่มจะบอกอยู่สองอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสตอรี่อะไรก็ตาม 1.หนังสือทำให้หัวใจเราใกล้กัน (หัวใจคนเขียนกับหัวใจคนอ่าน) 2. ถ้าเรารักตัวเองมากพอ เราจะไม่พาตัวเองไปอยู่ในจุดที่เราสงสารตัวเอง

ถ้าเราไปอยู่ในจุดที่ ทำไมเราถึงมาอยู่ตรงนี้ได้วะ ทำไมเราปล่อยให้ตัวเองเป็นแบบนี้ แปลว่าก่อนหน้านี้เราตัดสินใจโดยไม่ได้ใช้บรรทัดฐานของการรักตัวเอง

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

มีงานวิจัยหนึ่ง เอานักศึกษา 140 คนที่ชอบโค้กเท่านั้น มาดื่มน้ำดำปริศนา แล้วสแกนสมอง ดื่มแล้วฟินมากเลย พอเปิดออกมา 70 คนได้ดื่มโค้ก อีก 70 คนได้ดื่มเป็บซี่ คนที่ชอบโค้กก็...แหมมันช่างตรงกับที่ฉันชอบจริง ๆ ส่วนคนที่ดื่มเป็บซี่ก็...เฮย เป็ปซี่ก็อร่อยเหรอ

จากนั้นไล่คนชอบโค้กได้ดื่มโค้กออกไป เอาคนที่ชอบโค้กได้ดื่มเป็บซี่ 70 คนนั้นมาดื่มเป็บซี่แบบให้รู้ไปเลยว่าดื่มเป็บซี่ แล้วสแกนสมองอีกครั้ง พบว่าสมองส่วนนั้นยังทำงานเหมือนเดิมแปลว่าดื่มแล้วฟิน ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าดื่มน้ำยี่ห้อที่ตัวเองไม่ชอบ

จากนั้นให้ทุกคนมาอยู่รวมกันในห้องประชุมแล้วถามว่า คุณรู้ไหมว่าสมองคุณฟินกับรสชาติของเป็บซี่ต่อให้คุณจะไม่ชอบเป็บซี่ก็ตาม โอกาสหน้าถ้าไปที่ร้านอาหารคุณจะเผื่อใจสั่งเป็บซี่สักครั้งได้ไหม

ทั้งหมดทุกคนตอบว่า ไม่  ยังไงก็จะเลือกโค้ก  นั่นแปลว่า ถ้าตั้งต้นว่าเขาไม่รัก ยังไงเขาก็ไม่รัก"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • เจ็บปวดหัวใจ ก็คือเจ็บจริง ๆ

ความเจ็บในใจไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูดสวยหรู แต่เจ็บจริง ๆ นะ หมอแพทอธิบายว่า

"เวลาผิดหวัง หรือ เสียดาย สมองส่วนรับรู้ความเจ็บจะทำงาน เวลาเจ็บแบบร่างกายโดนตี โดนตบ โดนมีดบาด สมองส่วนนี้ก็ทำงาน

ดังนั้นเวลาเราผิดหวังแล้วบอกว่ามันเจ็บมากเลย มันเจ็บจริง ไม่ใช่แค่คำพูด สมองรับรู้ได้ถึงความเจ็บนั้น

ที่น่าสนใจคือ มีสมองอีกส่วนหนึ่งที่ทำงานร่วมด้วยเป็นเซ็นเตอร์ในการเลือกความทรงจำเอามาสร้างเป็นตัวตน

ตอนที่เรามีความสุข สมองตรงนี้ไม่ทำงาน แต่ตอนที่เราเสียใจ ผิดหวัง ตรงนี้ทำงาน แปลว่า มนุษย์เราจะอัพเกรดตัวเอง เติบโต ผ่านบทเรียนแห่งความเจ็บปวด

มนุษย์เสพความสุข แต่ไม่ได้เติบโตด้วยความสุข มนุษย์เติบโตด้วยความเจ็บปวด"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • สะกดจิต เปลี่ยนความทรงจำ ได้ไหม

เป็นคำถามที่เจอบ่อยมาก หมอแพทตอบ

"ความทรงจำเกิดแล้วเกิดเลย อยู่ในสมอง ไม่เคยหายไป เพียงแต่ว่าเราดึงมันออกมาได้หรือเปล่า แล้วความทรงจำร้าย ๆ ล่ะ เราจะทำยังไง

เราต้อง รีไซเคิล ความเจ็บปวดนั้น ให้เป็นบทเรียน เพื่อเราจะได้ไม่ต้องทำมันซ้ำอีก ถ้าเราไม่ทำซ้ำเราก็จะเจ็บแค่หนึ่งครั้ง

ที่บอกว่าเจ็บแล้วจำ คือคนที่สมองส่วนนี้ทำงาน แต่ถ้าเจ็บแล้วทน แสดงว่าสมองส่วนนี้ไม่ทำงาน คนที่ยอมเจ็บซ้ำ ๆ อาจจะเส้นเลือดสมองตีบหรือเปล่า

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

บางคนเกลียดตัวเอง ไม่ชอบตัวเองที่เป็นแบบนี้ อยากมาสะกดจิตเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะเราปูพื้นสร้างสิ่งต่าง ๆ มาเยอะมากเพื่อเป็นตัวตนของเรา ณ ขณะนี้

เราเปลี่ยนตัวตนเป็นคนใหม่ไม่ได้ แต่ว่าเรา อัพเกรด เพื่อทนอยู่กับตัวเรา ณ ตอนนี้ได้

เซ็ทข้อมูลหรือความคิดที่เรามีอยู่ในสมอง มันมีอยู่ส่วนหนึ่ง ถ้าเราอัพเกรดส่วนอื่นมาเพิ่มปุ๊บ วิธีการคิด กระบวนทัศน์ในการคิด ทัศนคติ จะเปลี่ยนไป

เราคิดว่าเราเป็นคนใหม่ เปล่า เราไม่ได้เป็นคนใหม่ เราเป็นคนเดิมที่อัพเกรดมากขึ้น

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

หลายคนที่มีความทรงจำแย่ ๆ ร้าย ๆ แล้วคาดหวังว่าสักวันมันจะผ่านไป เราจะลืมมัน เป็นไปไม่ได้ เพราะวงจรการลืม มันไม่เคยมี ดังนั้น เราผิดหวังแน่นอน เพราะเราหวังแบบผิด ๆ

เราทำได้แค่ปรับตัวให้อยู่กับมันได้ ถ้าทำได้ เราได้ชีวิตใหม่เลยนะ เราได้วิธีการคิดใหม่ แล้วเราก็ไปต่อได้เลย

แต่ถ้าคิดว่ายังไงก็ไม่ลืม มันจะเป็นบทเรียนที่ป้องกันไม่ให้เรามาพลาดซ้ำอีก ความรู้สึกเจ็บปวดจะมีค่าขึ้นมาทันที เพราะเราจำได้ เราจะไม่ทำซ้ำอีก เราก็จะอยู่กับมันต่อไปได้

เราให้ค่ากับมัน นั่งอยู่ข้าง ๆ เป็นเพื่อนอยู่ในสมองของฉัน ฉันจะไม่กลับไปทำแบบนั้นอีกต่อไป"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. ร้านสวนเงินมีมา

  • การพลัดพรากสูญเสีย  โรคซึมเศร้าจากการเสียคู่ชีวิตไป

จะทำอย่างไรในการดูแลตัวเอง หากต้องสูญเสียคนที่เรารักไป หมอแพทตอบว่า

"ถ้าเขาเสียไปแล้วเราคิดถึงเขา มันคือใบเสร็จที่บอกว่าเราได้ใช้เวลากับหน่วยการลงทุนกับคนนั้นอย่างถูกคนแล้วนะ

เพราะถ้าเราอยู่กับใครสักคนหนึ่ง เขาจากเราไปแล้ว เรารู้สึกว่า...เออ ดีแล้ว ตายไปซะได้ก็ดี จะได้ไม่ต้องอยู่ด้วยกันแล้ว แสดงว่าสิบปีที่อยู่กับเขา มันไม่ดีเลย ไม่ได้บันดาลสุขให้เราเลย

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

แต่ถ้าเขาตายไปแล้วเรายังคิดถึงเขา แสดงว่ามันเป็นสิบปีที่ดีมาก ที่เราได้อยู่กับเขา เหมือนเราซื้อของมาแล้วคุ้ม เราได้ของดี ๆ เกินความคาดหมาย จงให้ค่าและความคิดถึงนั้นเป็นคุณค่าของเวลาที่เธอใช้กับคน ๆ นั้น

ความสูญเสียและคิดถึงคนรักที่จากไป มันเป็นก้อนใหญ่มาก ให้เราแตกมาเป็นพหุย่อย ๆ คือ 2 คิดถึง บวก 1 เสียดาย
1 คิดถึง คือ ใบเสร็จที่บอกความคุ้มค่ากับเวลาที่ใช้กับเขาไป

2 คิดถึง คือ ความสุข คิดถึงตัวเราตอนที่ยังมีเขาอยู่

ถามว่าเราเสียตัวเราไปหรือเปล่า ไม่เสีย เราสามารถกู้ตัวเราแบบที่มีเขาอยู่กลับมาได้

1 เสียดาย คือ เสียดายโอกาสดี ๆ ที่เรายังไม่ได้ทำด้วยกัน ไม่เป็นไร เราไม่ต้องทำครบ 100 ก็ได้ เราทำ 50 ก็ได้ เราทำในฐานะตัวแทนของเขาที่ยังอยู่ในโลกนี้ แล้วไปทำแทนเขา

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • การตายไม่มีอยู่จริง 

การตายคือการย้ายสถานะ จากการมีชีวิตอยู่ข้าง ๆ มาอยู่ในความทรงจำ แต่ถ้าเราลืมเขา นั่นเขาตายจริง หมอแพทว่าอย่างนั้น

"ถ้าเรายังจำเขาได้อยู่ เขาก็แค่เปลี่ยนสเตตัสมาอยู่ในความทรงจำเราเฉย ๆ เขายังอยู่

เวลาพ่อแม่เสียไป หมอแพทจะบอกว่า หนูลองเดินไปส่องกระจกดูสิ หน้าหนูครึ่งหนึ่งก็มาจากพ่อ อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากแม่ ทุกครั้งที่คิดถึงพ่อหรือแม่ที่จากไป จงไปส่องกระจก เพราะ DNA เขาอยู่ในตัวเรา

การสูญเสียแบบนี้ สมองรับรู้ว่าเราอยู่กับเขามา 30-40 ปี เคยมีมาตลอด เมื่อเขาจากไป มันยิ่งกว่าความเศร้า มันคือการขาดชีวิตบางส่วนไป สมองจะรู้สึกเหมือนขาดแขนขาเลย"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ Cr. หมอตุ๊ด

  • ซ้อมตาย เตรียมตัวก่อนการจากไป

คุณหมออยากให้ทุกคนเตรียมพร้อม เวลาเราเดินทางไปเที่ยว โต๊ะที่เรานั่ง ก็จะไม่มีเรานั่งอยู่ งานที่เราเคยทำ ก็จะไม่มีคนทำ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ก็เหมือนกับว่าเธอตายไปแล้ว

"ทุกครั้งที่ไปเที่ยว เราจะมีซองน้ำตาลวางอยู่บนเตียง 3 ใบ คือให้พ่อ, แม่, คนรัก ในนั้นจะมีจดหมายบอกรัก ขอบคุณโน่นนี่นั่น แล้วก็บอกว่ากรมธรรม์อยู่ที่ไหนบ้าง นี่คือกุญแจไขเซฟ รหัสคืออะไร แล้วมีเพื่อนที่เราฝากเฟสบุ๊คไว้ให้ไปลบให้ด้วย ลองถามตัวเองดู ถ้าเราไม่ทำ ตรงนี้จะเป็นยังไง

ปัญหาของมนุษย์ที่บอกว่าไม่มีเวลา นั่นเพราะเธอไม่เคยกำจัด สิ่งที่ไม่ควรทำออกไป ยังคงทำสิ่งที่ไม่ควรทำต่อไปเรื่อย ๆ ถ้ากำจัดออกไปเธอจะมีเวลาอีกเยอะมาก"

ถ้าตั้งต้นว่าไม่รัก ยังไงก็ไม่รัก ‘หมอตุ๊ด’ นักเขียนนิยาย มีคำตอบ

Cr. หมอตุ๊ด

  • ดูแล สมอง อย่างไรดี

หมอแพท มีคำตอบมาฝาก สำหรับคนที่รักสมองของตัวเอง

"สมองจะดีได้ เมื่อได้รับการกระตุ้นเรื่อย ๆ และกระตุ้นที่หลากหลาย ไม่อยู่กับอะไรเดิม ๆ หรือถ้าเป็นอะไรเดิม ๆ ก็ต้องมีทัศนคติอีกแบบหนึ่ง

ง่ายสุดเลย ไปเที่ยวทุกสามเดือน เป็นการ Set Goal ให้สมอง สมองจะมีการพัฒนาตัวเองถ้ามีการตั้งเป้า ทุกสามเดือนฉันจะได้ไปเที่ยว ซึ่งจะไปเที่ยวได้ก็ต้องทำงานเก็บตังค์ศึกษาโน่นนี่

แค่คิดว่าไปเที่ยวแล้วจะทำอะไรดี มันก็เพลิดเพลินมีความสุขแล้ว พาตัวเองไปสู่เรื่องราวใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเห็น เป็นการปลุกสมองหลาย ๆ ส่วน

สรุป 1 พาตัวเองไปเที่ยวทุกสามเดือน 2 เรียนรู้สกิลใหม่ ๆ กระตุ้นเซลสมองให้เคลื่อนไหว ด้วยการทำอะไรที่หลากหลาย

จากการพูดคุยกับคนไข้สูงอายุหลายคน เขามีสิ่งที่อยากจะบอกคือ 1 ฟัน จงรักษาไว้จนกระทั่งแก่ 2 ตา รักษาสายตา 3 เพื่อน และการพบปะ นั่นเพราะ การไม่มีสังคมทำให้สมองเสื่อม 5 %"