คนไทยช่วยด้วย 'ม. 69' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

คนไทยช่วยด้วย 'ม. 69' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

เมื่อ สส.ผ่านร่าง ม. 69 ให้ทำประมงอวนตาถี่จับในเวลากลางคืนได้ หาก 'วุฒิสภา' เห็นชอบ ก็ไม่ต่างจากเอา 'อวนมุ้ง' ไปกวาดจับปลาทุกชนิดให้หมดไปจากทะเลไทย

สถานการณ์ทรัพยากร สัตว์น้ำ ใน ทะเลไทย กำลังมาถึงจุดวิกฤติอีกครั้ง เมื่อสภาผู้แทนได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง ให้ทำประมงอวนตาถี่ขนาด 3 -6 มิลลิเมตร (ตามุ้ง) แบบล้อมจับได้ในเวลากลางคืน

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ วุฒิสภา ซึ่งถ้าผ่าน ก็หมายความว่า ทะเลไทย จะไม่มีอะไรเหลือ ?

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือให้ทบทวนการผ่านกฎหมายประมง มาตรา 69 ต่อประธานวุฒิสภา มงคล สุระสัจจะ ผ่าน ธนกร ถาวรชินโชติ ประธานอนุคณะกรรมาธิการด้านการประมงฯ เพื่อขอให้สมาชิกวุฒิสภาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568

เรื่อง ขอให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาทบทวนมาตรา 69 ในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ด้วย สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567

โดยมีมติเห็นชอบให้แก้ไขมาตรา 69 ของพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ทำให้เกิดผลสำคัญคือ เปิดให้ทำประมงอวนตาถี่ด้วยวิธีล้อมจับในเวลากลางคืนได้ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรของประเทศ

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

การอนุญาตให้ใช้อวนตาถี่ขนาด 3 - 6 มิลลิเมตร (ตามุ้ง) ทำการประมงแบบ ล้อมจับ ในเวลากลางคืนประกอบ แสงไฟล่อ ในระยะห่างจากชายฝั่ง 12 ไมล์ทะเล ที่ทางวิชาการสำรวจพบลูกปลาวัยอ่อนอย่างน้อย 65 วงศ์ ถือเป็นการเปิดให้ทำได้ตามกฎหมายเป็นครั้งแรก

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

.

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

กว่า 50 ปีที่ผ่านมา วิธีการทำประมงด้วยการ ตีวงล้อมจับ ด้วยอวนประเภทนี้ถูกห้ามมาตลอด เพราะการใช้ แสงไฟล่อ แล้ว ล้อมจับ ด้วยอวนตาถี่ความยาว 1,000 - 2,000 เมตร จะจับเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนในสัดส่วนสูง ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจนับแสนล้านบาทต่อปี เป็นอุตสาหกรรมประมงที่มุ่งตักตวงผลผลิต ตัดวงจรชีวิตห่วงโซ่อาหาร ในพื้นที่แหล่งกำเนิดสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด

สมาคมฯ ขอให้ วุฒิสภา มีแนวทางอยู่บนหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สนับสนุนกฎหมายที่เอารัดเอาเปรียบ โดยทบทวนแก้ไข มาตรา 69 กลับเป็นแบบเดิม เพื่อความสมดุลและยั่งยืน ต่อไป

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย

  • ทรัพยากรในทะเลไทย กำลังจะหมดไป

วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ให้สัมภาษณ์กับ กรุงเทพธุรกิจ ว่า วันนี้มายื่นหนังสือถึงวุฒิสภา

"กฎหมายประมงที่เราเป็นห่วงคือ มาตรา 69 ที่ให้เทคโนโลยีอวนล้อมจับในเวลากลางคืนได้ มันผ่านชั้น สส.มาแล้ว เหลือแต่ชั้นกลั่นกรองกฎหมายของ วุฒิสภา วันนี้เรามายื่นข้อมูล ขอวิงวอน ให้วุฒิสมาชิกช่วยทบทวน มาตรา 69 ใหม่ อยากให้กลับไปแบบเดิม คือห้ามเทคโนโลยีอวนล้อมจับหรือใช้อวนตาถี่ขนาดเล็กจับในเวลากลางคืน เป็นมาตรฐานที่ประเทศไทยได้กำหนดไว้มา 40-50 ปีแล้ว

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

ถ้ามีอุตสาหกรรมที่เขาอยากจะจับปลากะตัก ก็สามารถใช้เทคโนโลยีอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงคือ อวนช้อน อวนครอบ อวนยก และ การล่อไฟ เขาก็ทำได้อยู่แล้วในปัจจุบัน 

ปลากะตัก ปลาขนาดเล็ก เป็นปลาชนิดพันธุ์ที่เขาจับได้สูงสุดในประเทศไทย จากเดิมที่เป็น ปลาทู 5-6 ที่ผ่านมานี้ ถ้าคนไทยจะกินปลาทู ต้องนำเข้า 90 เปอร์เซนต์ จากเยเมน, โอมาน, เวียดนาม หรือจากต่างประเทศทั่วโลก

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

อวนมุ้ง ขนาดตาถี่ 2-6 มิลลิเมตร มีช่องที่เล็กมาก 

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

ขนาด ปากกา ยังรอดช่องตาข่ายไม่ได้เลย 

ถ้าเรายังใช้เทคโนโลยีแบบเดิม อวนช้อน อวนครอบ อวนยก โอกาสที่ปลาทูจะกลับมา ก็ไม่มี แล้วถ้าเราเพิ่ม อวนล้อมจับ เข้ามาอีก ก็จะยิ่งแย่กว่าเดิม

ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของ วุฒิสภา อยากให้ทบทวนประเด็นนี้เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ วุฒิสภามีเวลาพิจารณา 2 เดือน ตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาเป็นการเฉพาะ 21 คน เรายังไม่รู้ว่ามีใครบ้าง วันที่ 13 มกรา เราจะมากันอีกครั้ง ที่มีจำนวนมากกว่าเดิม วันนี้เรามา 10 คน มาเป็นทูต พูดคุยเจรจาขอร้อง เป็นความเป็นห่วงของประชาชน

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

เทียบขนาดกับฝ่ามือ 

เราอยากจะบอกสังคมว่า ถ้าเราปล่อยให้เทคโนโลยีพวกนี้ถูกใช้ในประเทศไทยต่อไป คนไทยจะไม่มีโอกาสเข้าถึงอาหารทะเลดี ๆ เพราะมันจะหมดไปเรื่อย ๆ อย่าง ปลาทู เป็นตัวอย่าง มันหมดไปแล้ว ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมากิน โดยไม่รู้ว่าเขาจับมายังไง มีฟอร์มาลีนไหม หรือปนเปื้อนอะไรมาบ้าง

นั่นเพราะ ทรัพยากรที่มีค่าในประเทศเรา ถูกปล่อยให้ปู้ยี่ปู้ยำ กลายเป็นโรงงานปลาป่น อาหารสัตว์ ราคาถูก 5 บาท 10 บาท ธุรกิจแบบนี้มันไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมไทย

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

.

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

ฝากถึงคนรักทะเลทุกคน ไม่ว่าจะไปดำน้ำ ดูปะการัง ดูสัตว์น้ำ ดูวาฬบรูด้า บรูด้ากินอาหาร คำละ 1 ตัน คือปลากะตัก ถ้าเราไปจับมาหมด เขาจะกินอะไร มันก็ป่วยตาย รวมถึงสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่กินปลากะตักเป็นอาหารด้วย

ปลากะตัก เป็นฐานของปิรามิดในห่วงโซ่อาหาร ตัวเล็กสุดเป็นโปรตีนให้กับสัตว์น้ำชนิดอื่น ที่เล็กกว่านี้จะเป็นแพลงก์ตอน มีคุณค่าทางโปรตีนน้อย แต่ปลากะตักสามารถเป็นอาหารให้กับปลาตัวใหญ่ได้

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

ตอนนี้ฐานปิรามิดต่ำสุดของเราถูกทำลายไป ตัวที่ลำดับขั้นสูงกว่าขึ้นไป ก็เลยหากินยาก เช่น ปลาทู, ปลาอินทรีย์ ปลาอื่น ๆ ทุกอย่าง ลดลงหมด จาก 2 ล้านตัน เหลือ 1 ล้านเศษ ๆ ลดลงไปครึ่งหนึ่ง

แล้วถ้าเพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาอีก จะเหลืออะไร เราต้องการเสียงจากประชาชน เสียงจากผู้บริโภค ช่วยกันส่งเสียงออกมา ให้ผู้แทนทั้งหลายได้เปลี่ยนใจ สังคมต้องช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้"

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

  • ร่าง พ.ร.บ. ที่พิจารณาให้ผ่านอย่างรวดเร็วในช่วงปลายปี ?

มีข้อสังเกตว่า ร่างพระราชบัญญัติการประมงฉบับนี้ เข้าสภาวันที่ 25  ธันวาคม 2567 วันคริสต์มาสพอดี ขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะเป็นเทศกาลส่งท้ายปี ที่หลายคนมีหลายสิ่งที่ต้องทำ

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

  • ทะเลไม่ได้มีแค่ปลากะตัก...

นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำชื่อดัง โพสต์ในเฟซบุ๊ก Nat Sumanatemeya Fanpage ว่า นึกไม่ถึงจริง ๆ ว่าผมจะต้องมา Post เรื่องนี้ในวันคริสต์มาส... ผมลุกขึ้นมานั่งค้นหา Footage ที่ถ่ายมาจากท้องทะเลไทยในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา...

เนื่องจากรัฐบาลเสนอแก้ไข พรก. การประมงฉบับปี 2558 มาตรา 69 จากเดิม ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่าสองจุดห้าเซนติเมตรทำการประมงในเวลากลางคืน มาเป็น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนล้อมจับ ที่มีช่องตาอวนเล็กกว่าสองจุดห้าเซนติเมตรทําการประมง ในเขตสิบสองไมล์ทะเลนับจากแนวทะเลชายฝั่งในเวลากลางคืน เว้นแต่ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

ฉลามวาฬเมื่อเห็นแสงไฟก็ออกมาหาแพลงก์ตอนกิน (ที่เกาะมัลดีฟ) Cr. Nat Sumanatemeya

จากคำว่าห้าม กลายมาเป็นถ้าหากเกินเขตสิบสองไมล์ทะเลจากแนวชายฝั่ง ในเวลากลางคืน สามารถทำได้

แล้วมันสำคัญอย่างไร ทำไมต้องเป็นเวลากลางคืน ?

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

.

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

ช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่สรรพสัตว์ใต้ท้องทะเล Zoo Plankton ตัวอ่อนของสัตว์น้ำจะขึ้นมาจากความลึก Vertical Migration เป็นการอพยพของชีวิตที่มีจำนวนมากมายมหาศาลมากที่สุดในโลกในช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก และจะกลับลงไปในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ขึ้นมาไล่จับ Phytoplankton แพลงก์ตอนพืชใกล้ผิวน้ำกินเป็นอาหาร...

มนุษย์ก็ใช้แสงไฟล่อให้แพลงก์ตอนพืชมารวมกัน ปลาเล็กก็ตามมากินแพลงก์ตอน ปลาที่ใหญ่กว่าก็ตามเข้ามาตามห่วงโซ่อาหารในทะเล

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

.

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

เมื่ออุตสาหกรรมประมงเติบโตขึ้นใช้ไดนาโมมาปั่นไฟ ใช้อวนปากใหญ่ยาวหลายร้อยเมตร...บวกกับอวนตาถี่ที่เรียกว่า อวนมุ้ง จับเอาทุกสิ่งที่ว่ายอยู่ในน้ำขึ้นมา จะพบลูกปลาตัวยังไม่เต็มวัย สูญเสียไปจากการทำการประมงในรูปแบบนี้ มันคือการตัดวงจรขยายพันธุ์ปลาในธรรมชาติ และทำลายล้างอย่างแท้จริง

ไม่เพียงเฉพาะนักดำน้ำ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฏหมายฉบับนี้ นักตกปลา ชาวประมงพื้นบ้านก็ได้รับผลกระทบไปด้วย... เรื่องนี้ยอมไม่ได้จริง ๆ ครับ... นักตกปลาในบ้านเรามีเป็นล้านคน แค่ทุกคนออกมาส่งเสียงว่า เราไม่ยอมรับกฏหมายข้อนี้ เพราะมันส่งผลกระทบกับเราโดยตรง แสดงให้เห็นถึงสิทธิของเรา ในฐานะพลเมืองที่เสียภาษีให้กับประเทศนี้"

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล .

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

"ชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้มาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่มาเพื่อผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม และความยั่งยืนของระบบนิเวศทางทะเล"

ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ และบอกว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2567 กรณี มาตรา 69 อนุญาตให้ใช้อวนตาถี่ 3 มิลลิเมตรล้อมจับสัตว์น้ำในเวลากลางคืนได้เป็นครั้งแรกในระบบกฎหมายไทย

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

จะนำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศทางทะเล กระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนมากที่เลี้ยงดูตัวอ่อนสืบเผ่าพันธุ์ มีผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน-พาณิชย์ทุกประเภท ลุกลามไปยังกลุ่มนันทนาการทางทะเล การดำน้ำ ธุรกิจการนำเที่ยว ตกปลา และกระทบต่ออาหารของคนไทยทุกคน 

การเอา อวนมุ้ง ไปจับสัตว์น้ำในเวลากลางคืน โดยปั่นไฟล่อ จับปลาตัวเล็กวัยอ่อนที่ยังไม่ได้เติบโต... นี่ไม่ใช่การทำประมงยั่งยืน

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

การทบทวนมาตรา 69 เป็นความหวังของทะเลไทย เป็นความหวังของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การออกกฎหมายในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่สังคมไม่ได้จับตา เป็นการลักหลับ

วันที่ 13 มกราคม เราจะเคลื่อนไหว ติดตาม สื่อสาร ไปยังวุฒิสภาให้ทบทวนมาตรา 69 ว่าจะอยู่บนผลประโยชน์ของชาติ ประชาชนที่แท้จริง ปกป้องทรัพยากรทางทะเลเพื่อคนทั้งประเทศหรือไม่"

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

  • ทรัพยากรในทะเลไทย เป็นของคนไทย ทุกคนต้องช่วยกัน

ผศ.ดร. สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โพสต์ในเฟซบุ๊ก Somporn Chuai-Aree วันที่ 31 ธันวาคม 2024 ว่า ทะเลไทย วิกฤตพอหรือยังครับ?

"เห็นข้อมูลกราฟการบริโภคปลาทูของคนไทย ประมาณปีละ 2-3 แสนตันต่อปี ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ ปลาทูที่บริโภคส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า แล้วปลาทูกินอะไร คำตอบคือแพลงก์ตอนและสัตว์ทะเลขนาดเล็ก แล้วถ้าปลาเล็กถูกจับมากขึ้นด้วยอวนตาถี่ มันก็แปลว่า อาหารของปลาทูลดลง ปลาทูจะลดลงด้วย นั่นคือเราต้องนำเข้าปลาทูมากขึ้นนั่นเอง

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

จากกราฟพบว่าจับปลาทูได้ลดลง และปลากะตักจับได้เพิ่มขึ้น นี่ถ้าได้ข้อมูลย้อนหลังสัก 30-40 ปี อาจจะเห็นเลยว่ากฏหมายต่าง ๆ ส่งผลต่อปริมาณเหล่านี้ร่วมกันอย่างไร

การจับปลาได้ลดลง มันเกิดจากปัจจัยอะไร น่าจะเป็นโจทย์ให้สถาบันการศึกษาของไทยและกระทรวงต่าง ๆ ได้ขบคิด เพราะนี้คือโจทย์ร่วมของคนไทยทุกคน

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

ประเทศไทยเคยอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีต แต่หากเรากำหนดแนวทางการจับ กับการเกิดตามธรรมชาติ ขาดสมดุล วันหนึ่งจะไม่เหลือครับ...

ทุกคนควรมีสำนึกต่อการคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะเปิดช่องต่าง ๆ ต่อความเสี่ยงของทรัพยากรในทะเลไทย รวมถึงผู้ประกอบการก็ต้องมองเห็นอนาคตของอาชีพตนเองเช่นกัน

คนไทยช่วยด้วย \'ม. 69\' ให้ ‘อวนมุ้ง’ จับ ‘ปลา’ ในทะเล

Cr. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย

ทะเลไทยไม่ใช่เป็นของนักการเมือง นายทุน หรือชาวประมงเท่านั้น แต่เป็นของทุกคน คนที่คิดว่าตนเองไม่เกี่ยวข้อง ลองศึกษากันบ้างครับ ก่อนจะเสียหาย หรือหายนะ จนขาดแคลนโปรตีนครับ"