“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์ หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ปัจจุบัน มีคนไทยจำนวนมากนิยมเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ประจำกรุงเทพฯ ได้จัดงานหวังส่งเสริมวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนให้คนไทยได้รู้จัก นำไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม 2 ประเทศ

ในสัปดาห์นี้ ชาวจีนจัดเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่เรียกว่า “จงชิวเจี๋ย” มีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี และยังเป็นสัปดาห์แห่งการท่องเที่ยววัฒนธรรมจีน ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่ชาวจีนต้องการแบ่งปันความสุขให้กับประชาชนไทย

เชว่ เสี่ยวหัว” ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เล่าถึงความสำคัญ “เทศกาลไหว้พระจันทร์” ในแบบฉบับจีนว่า เป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมานานนับพันปี สันนิษฐานเริ่มแรกเป็น "การบูชาพระจันทร์" กล่าวคือโลกของเรามีความเชื่อมโยงทั้ง “พระอาทิตย์และพระจันทร์” ซึ่งปรากฏบนฟากฟ้าสลับกัน

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เมื่อสองพันปีก่อน เทศกาลไหว้พระจันทร์แผ่หลายอย่างมากการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 กลางฤดูใบไม้ร่วงต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งพบว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้รับความนิยมอย่างมาก และประเพณีนี้ได้รับการสืบสานจวบจนถึงปัจจุบัน

ว่ากันว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น และถือประเพณีปฏิบัติมาจนถึงศตวรรษที่ 20 ซึ่งวันนั้นจนถึงวันนี้ก็นานมาก นี่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ส่วนความหมายของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง ผู้คนจะคิดถึงบ้านเกิด คนรัก ครอบครัว ญาติพี่น้อง และรอฤดูกาลเก็บเกี่ยวด้วยใจเป็นสุข ซึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมานี้ ปัจจุบันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าและซ่อนสีสันแห่งความสุขไว้

เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นหนึ่งใน 4 เทศกาลสำคัญๆ ตามประเพณีจีน ซึ่งรัฐบาลจีนกำหนดไว้ในปี 2549 นอกจากนี้ยังมีเทศกาลตรุษจีน เทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลเรือมังกร ขณะเดียวกันยังยกให้เทศกาลนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จากนั้นในปี 2551 เทศกาลไหว้พระจันทร์ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดของประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้อยู่ร่วมกับครอบครัว

การไหว้พระจันทร์ เริ่มต้นในช่วงหัวค่ำที่พระจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า เพื่อให้ทุกคนร่วมอธิษฐานขอพรต่อดวงจันทร์ หลังจากนั้นสมาชิกในครอบครัวทั้งหมดก็มาร่วมวงกินขนมไหว้พระจันทร์ เป็นการส่งต่อมิตรภาพ แสดงความกตัญญู ปรารถนาให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข โดยเหตุผลที่ทำขนมไหว้พระจันทร์เป็นก้อนกลมก็เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ความกลมเกลียว 

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

 

สมัยก่อนคนจีนเชื่อกันว่า วันไหว้พระจันทร์เป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด จะได้ชมดวงจันทร์กลมที่สุดและสว่างที่สุด ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่ดีที่สุด สำหรับพวกเราจะชื่นชมดวงจันทร์ร่วมกัน

ในแต่ละเมือง และมณฑลของจีนมีรูปแบบการเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่แก่นแท้ความสำคัญของวันนี้ยังคงเดิม นั่นคือ ความสมัครสมานสามัคคี กลมเกลียว ปรารถนาให้ชีวิตเราและผู้อื่นดียิ่งๆขึ้น  เช่นการเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ในพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ที่เมืองฮ่องกงและกว่างโจว จะมีการแสดงเชิดสิงโต 

เพราะไม่เพียงแต่เทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีนที่ยังคงวัฒนธรรมดังเดิมมาอย่างยาวนาน แต่เต็มไปด้วยสีสัน เราเห็นว่า ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากนิยมการเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ ทางศูนย์วัฒนธรรมจีนฯ จึงหวังว่า จะได้แนะนำวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนให้กับคนไทย นำไปสู่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม 2 ประเทศ

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ปีนี้ ศูนย์วัฒนธรรมจีนฯ ได้ร่วมกับสำนักงานบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันขงจื้อแห่งจุฬาฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ตรงกับวันที่ 10 กันยายน 2565 เพื่อส่งต่อให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยได้จัดคอนเสิร์ต ไทย-จีนภิรมย์ชมจันทร์ เต็มดวงทั่วหล้า ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ 

ภายในงานจะจัดให้ชมจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เคล้ากับเสียงดนตรี และถ่ายภาพกับดวงจันทร์ยักษ์ ตั้งแต่เวลา 17.00 - 21.00 น. นอกจากนี้ ยังได้จัดนิทรรศการ ภิรมย์จันทร์ สำหรับผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพได้ร่วมชมภาพถ่ายเกี่ยวกับดวงจันทร์จากช่างภาพชาวไทย - จีน ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 7 ต.ค.นี้

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ขณะเดียวกัน ทางศูนย์วัฒนธรรมจีนฯ ได้จัดงานส่งเสริม สัปดาห์การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีนประจำปี 2565 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 15 กันยายน ภายใต้ธีมหลัก 5 หัวข้อ ได้แก่ การบรรเทาความยากจนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ การฟื้นฟูชนบท การก่อสร้างในเมือง วัฒนธรรมแม่น้ฮวงโฮ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางสายไหม ซึ่งเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของศูนย์วัฒนธรรมและสำนักงานการท่องเที่ยว เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อกเวอร์ชันต่างประเทศ 

เพื่อแนะนำเกี่ยวกับการปกป้องและสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนอย่างครอบคลุม บทบาทสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมยุคจีนร่วมสมัย ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในการลดความยากจนแบบจีน การแบ่งปันประสบการณ์จีน ภูมิปัญญาจีน และการแก้ปัญหาของจีนกับโลก

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

จีนพร้อมจะแสดงทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของเสฉวนด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม และสร้างภาพลักษณ์ของ ประเทศจีนที่สวยงาม

 

“จีน-ไทย” ภิรมย์ชมจันทร์  หนุนท่องเที่ยวในแดนมังกร

ผอ.ศูนย์วัฒนธรรมจีนฯ กล่าวว่า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางไปประเทศจีนหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ในงานสัปดาห์การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีนนี้ ยังได้จัดตั้ง หลักสูตรการท่องเที่ยวจีนขึ้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในประเทศจีน ท่านสามารถลงทะเบียนออนไลน์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีนล่าสุด อีกด้วย