‘โคราชจีโอพาร์ค’ KHORAT Geopark จุดหมายใหม่ ของการท่องเที่ยว
แนะนำสถานที่สำคัญ ‘โคราชจีโอพาร์ค’ KHORAT Geopark ที่น่าจะเป็นเป้าหมายใหม่ของนักท่องเที่ยวและเยาวชนทั่วโลกที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับบรรพชีวิน และธรณีวิทยา
โคราชจีโอพาร์ค KHORAT Geopark อุทยานธรณีโคราช เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ
วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก UNESCO
มีมติรับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark) เป็น อุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark)
ส่งผลให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจาก สตูล
เป็นเมืองที่ 4 ของโลก ต่อจากประเทศอิตาลี, เกาหลีใต้ และ จีน ที่มีดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก อยู๋ในจังหวัดเดียวกัน
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
ผศ.ดร. ณัฏฐินี ทองดี ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า นครราชสีมาเป็นจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่มี 3 โลโก้ของยูเนสโกอยู่ในจังหวัดเดียวกัน
"โคราชอุดมสมบูรณ์มาก ไม่ได้เหมาะแค่การอยู่อาศัยเท่านั้น แต่เหมาะกับทรัพยากร สัตว์ป่า และสิ่งมีชีวิตได้อยู่อาศัยด้วย ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์มาถึงปัจจุบัน
Cr. Kanok Shokjaratkul
ดินแดนแห่ง 3 มงกุฎ หรือ The UNESCO Triple Heritage City ประกอบด้วย
1) มรดกโลก (World Heritage) ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช หรือ วังน้ำเขียว
3) โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark)
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
โคราชจีโอพาร์ค ภาษาอังกฤษใช้ได้ทั้ง ko และ kho แต่ราชบัณฑิตฯและข้อมูลวิชาการจะใช้ Kh ในการระบุชื่อพืชพันธุ์, สัตว์, ฟอสซิล
เป็น Cuesta & Fossil Land คือภูเขาด้านหนึ่งสูงชัน อีกด้านลาดเอียง เพราะผืนแผ่นดินยกตัวขึ้น มีดับเบิลเควสต้าซ้อนกันอยู่มากมาย บ่งบอกถึงยุคหินต่าง ๆ ได้
มี ฟอสซิล ไม้กลายเป็นหิน ที่แตกต่างจากที่อื่นคือ สีจากแร่ธาตุเข้าไปแทนเนื้อไม้ ของโคราชคืออัญมณี
ใน 32 อำเภอ เราเจอไม้กลายเป็นหินถึง 20 อำเภอ
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
เอกลักษณ์ของ โคราชจีโอพาร์ค เราใช้ ช้างดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันเหลือแค่ 2 สกุล จากทั้งหมด 55 สายพันธุ์
เจอที่โคราช อ.เฉลิมพระเกียรติ 10 สายพันธุ์ มากที่สุดในโลก มีช้าง 4 งา ช้างงาจอบ ช้างงาเสียม ช้างอะไรต่าง ๆ
ส่วน ไดโนเสาร์ เราเจอสายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 สายพันธุ์
ถ้าขุดทั้งโคราชพื้นที่กว่า 20,000 ตารางกิโลเมตรจะเจอฟอสซิลทั้งหมด
ที่ ไดโนพาร์ค ถ้าเปิดหน้าดินออกมาไม่เกิน 2 เมตร จะเจอกับแผ่นหินขนาดใหญ่ และฟอสซิลไดโนเสาร์ภายใต้แผ่นหินนั้น
ถ้าเราเปิดได้ จะมีนักวิชาการจากทั่วโลกเดินทางมาที่โคราช
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
โคราช สามารถพัฒนาเป็นเมืองแห่งการศึกษาของเยาวชนได้ ตอนนี้มีเยาวชนจากประเทศจีนมาเรียนซัมเมอร์ที่ไทย
ถ้าเราทำกิจกรรมดี ๆ มีแอคทิวิตี้ด้านการท่องเที่ยวที่ดี นี่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะยาว
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
เรายังสามารถเล่าเรื่องราวฟอสซิลเชื่อมโยงถึงกันได้ทั้งหมดทั้งภาคอีสาน
ถึงแม้ว่าเราจะไม่เจอฟอสซิลเยอะเท่าประเทศจีน แต่เรามีสายพันธุ์ใหม่ของโลก เช่น สิรินธรน่าโคราชเอนซิส
เรากำลังผลักดันให้โคราชเป็นเมือง Paleontopolis มหานครแห่งบรรพชีวินเพราะเราเจออุรังอุตัง ลิงไม่มีหาง ที่ใกล้เคียงกับมนุษยที่สุด
Cr. Khorat Geopark อุทยานธรณีโคราช
เราเจอแรดโบราณ, หมูป่า, จระเข้, ไฮยีน่า, เต่าบกยักษ์ ทั่วโคราช นี่คือความรุ่มรวยของทรัพยากรที่เรามี
โคราชจีโอพาร์ค ไม่ได้มีเพียงทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียว แต่เป็นเมืองใหญ่ที่มีทั้งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สามารถต่อยอดเป็นเมืองท่องเที่ยวแห่งใหม่ได้ไม่ยาก"