ที่มาสติกเกอร์ใหม่ โฉมใหม่กรุงเทพ จุดเช็คอินยอดฮิต บนคานรางรถไฟฟ้า
เปิดที่มาสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า จุดทางเชื่อมเหนือ Sky Walk แยกปทุมวัน โฉมใหม่กรุงเทพมหานคร "จุดเช็คอินยอดฮิต" ย้ำอัตลักษณ์ความสุขของผู้คน หลังติดนานกว่า 20 ปี จนซีดจางไม่สวยงาม
ชวนคนกรุงเทพ มาทำความรู้จักที่มาสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า จุดทางเชื่อมเหนือ Sky Walk แยกปทุมวัน โฉมใหม่กรุงเทพมหานคร "จุดเช็คอินยอดฮิต" ย้ำอัตลักษณ์ความสุขของผู้คน หลังติดนานกว่า 20 ปี จนซีดจางไม่สวยงาม
กรุงเทพมหานคร ได้ทำการติดสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า จุดบริเวณทางเชื่อมเหนือ Sky Walk แยกปทุมวัน เนื่องจากสติกเกอร์เดิม ซึ่งติดอยู่มานานกว่า 20 ปี มีสภาพซีดจาง ข้อความลบเลือน ไม่สวยงาม
โดยสติกเกอร์ใหม่ที่นำมาติด สะท้อนอัตลักษณ์ กทม. และเตรียมต้อนรับการเข้าสู่งานเทศกาล Pride Month
โดย กทม. เป็นจุดหมายปลายทางที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกที่หลั่งไหลเข้ามาร่วมงานในช่วงเดือนมิถุนายนนี้
ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเช็กอินอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกว่าได้มาเยือนกรุงเทพมหานคร สำหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็ยังคง นิยมถ่ายรูปกับป้ายเก่าที่ซีดจากมากกว่า
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ยังได้แจ้งถึงการออกแบบดีไซน์อัตลักษณ์ กทม. ผ่านสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า ผ่านเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร ระบุว่า แปลงโฉมคานรางรถไฟฟ้า ผ่านดีไซน์อัตลักษณ์ กทม. ที่สะท้อนถึงความสุขของผู้คน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า
“ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีผลกับชีวิต แต่ก็เป็นรายละเอียดของเมือง ดังนั้น หากใครว่างหรือผ่านไปสามารถไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกไว้ได้”
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการติดสติกเกอร์ใหม่จุดแรกที่คานรางรถไฟฟ้าแยกปทุมวัน โดยดำเนินการติดในช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนที่ผ่านมา ซึ่งติดเสร็จแล้ว 1 ฝั่ง ส่วนอีกฝั่งจะติดในค่ำคืนนี้
สติกเกอร์ใหม่สะท้อนอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
- มีที่มาจากตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร
- นำ “วัชระ” อาวุธประจำกายของพระอินทร์ที่ใช้ปกป้องคุ้มครองกรุงเทพมหานคร มาครอบตัด (crop) ภาพ ให้เป็นลวดลายที่มีความเป็นนามธรรม
- โทนสีของกราฟิก ใช้ระบบสีรองซึ่งสะท้อนถึงความสุขของผู้คนและการผสมผสานระหว่างสิ่งใหม่กับวัฒนธรรมเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร ส่วนระบบสีหลักจะเป็นสีเขียวมรกตซึ่งเป็นสีที่ถูกนำมาใช้งานมากที่สุดในงานกราฟิกส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร
อ้างอิง-ภาพ : ธิติ วรรณมณฑา (Thiti Wannamontha) , NationPhoto , กรุงเทพมหานคร
เปรียบเทียบของเก่า
(ภาพเก่า กรุงเทพ ชีวืตดีๆ ที่ลงตัว / ก.ค. 2566)