ยินดีกับ ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

ยินดีกับ ‘ภูพระบาท’ มรดกโลกแห่งใหม่ ของ ‘ประเทศไทย’ เป็น อุทยานประวัติศาสตร์เก่าแก่ ตั้งแต่ ‘สมัยทวารวดี’ ลานหิน และเพิงหิน ที่พบในพื้นที่ เป็นชั้นหินของหมวดหินภูพาน มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส 145-65 ล้านปี

เมื่อ  27 กรกฎาคม พ.ศ.2567   ยูเนสโก  ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์  ภูพระบาท  อ.บ้านผือ  จ.อุดรธานี  ให้เป็น มรดกโลก อีกแห่ง  ถือเป็นมรดกโลกแห่งที่  8 ในไทย ซึ่ง ประเทศไทย ของเรามี แหล่งมรดกโลก มาทั้งหมดแล้ว 7 แห่งก่อนนี้ คือ

1. นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา   ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534

2. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534

3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534

4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1992 หรือ พ.ศ.2535

5. กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.2005 หรือ พ.ศ.2548

6. กลุ่มป่าแก่งกระจาน  ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.2021 หรือ พ.ศ.2564

7. เมืองโบราณศรีเทพ  ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.2023 หรือ พ.ศ.2566

และล่าสุดคือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นี่เอง  มีชื่อเรียกว่า ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี

ในบรรดา มรดกโลก ทั้ง 7 แห่ง ในบ้านเรานี้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ แตกต่างกันออกไป  แต่ดูเหมือนว่า ภูพระบาท นี่แหละ ที่มีส่วนผสมที่ครบทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี  ธรรมชาติ และ ธรณีวิทยา เรียกว่าใครสนใจทางไหน มาที่นี่ก็จะตอบโจทย์ทุกอย่าง

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

บรรยากาศป่าเขา นอกเหนือจากแหล่งโบราณสถาน ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ภูพระบาท ตั้งอยู่บนภูเขาหินทรายเตี้ยๆ  ใน กลุ่มเทือกเขาภูพาน ซึ่งก็จะมีฟอร์มของภูเขาหินทรายแบบเดียวกันคือ อาจจะมีด้านใดด้านหนึ่งลาดขึ้นไป   และจะมีด้านที่เป็นหน้าผาหักตกลงมาเป็นหน้าผาชัน ด้านล่างมีกองหินที่หักกองอยู่   

ซึ่ง ภูพระบาท ก็แบบนี้เลย จะมีส่วนที่ลาดชันขึ้นทางด้าน หอนางอุษา และจะเป็นหน้าผาที่ ผาเสด็จ  ลานหิน และเพิงหินที่พบในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นชั้นหินของหมวดหินภูพาน มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส (145-65 ล้านปี ต่อจากยุคจูแรสซิก เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก) ประกอบด้วย หินทรายชั้นหนา

พื้นที่เป็นป่าเต็งรังสลับกับลานหินทราย หินทรายมีกรวดขนาดใหญ่และปานกลาง ผสมในเนื้อหิน  ตามพื้นจะเป็นกรวดหินขนาดใหญ่  เม็ดตะกอนที่เราเห็นก็เช่น แร่ควอรตซ์สีขาว หินภูเขาไฟ และหินเชิร์ตสีเทาบ้าง เทาดำก็มี  

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย แผนที่แสดงจุดสำคัญต่างๆในอุทยานฯภูพระบาท

บ่งบอกถึงกระแสน้ำที่พัดพาเอากรวดเหล่านี้มาจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีหลายอย่าง เช่น รอยเฉียงระดับ กุมภลักษณ์   ทิศทางที่น้ำไหล  ชั้นของทรายสลับกับเนื้อหินที่สลับกันไปมาปรากฏในเนื้อหิน  บ่งบอกถึงการที่เคยเป็นธารน้ำโบราณมาในอดีต 

ก่อนจะสะสมตัวเป็นหินและถูกยกตัวขึ้นเป็นภูเขาในเวลาต่อมา  รวมทั้งสวนหิน  ที่มีรูปทรงต่างๆ ที่ถูกน้ำ ลม ทำให้แตกหัก และผุกร่อนกลายเป็นรูปร่างต่างๆ  เป็นลานหิน   เพิงหิน เป็นเสาเฉลียง   

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการ

ต่อมามีการใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตในมนุษย์ในยุคแรกๆ  เมื่อสังคมมีพัฒนาการมากขึ้น ก็ดัดแปลงพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ทางความเชื่อทางสังคม   ลานหินทรายที่ปรากฏ ก็มีร่องรอยของน้ำที่กระทำมาชั่วนาตาปี เป็นหมื่นเป็นแสนปี กว่าที่น้ำที่ไหลมาบนลานหินจะกัดเซาะหินทรายจนเป็นร่องน้ำในทิศทางต่างๆ

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย เส้นทางเดินเที่ยวชม

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย หอนางอุษา  เสาเฉลียงที่ถูกดัดแปลง จะเห็นมีใบเสมาปีกไว้โดยรอบ

แต่ความเด่นชัดของ ภูพระบาท  ถึงขนาดบอกว่าเป็นประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี นั้น   ก็นับเป็นความโดดเด่นของพื้นที่จริงๆ เพราะในบริเวณ ‘ภูพระบาท’  จะมีหลายจุดที่มีการปักใบเสมาหินล้อมรอบสถานที่นั้นไว้ 

อย่างเช่น  กู่นางอุษา   ที่เป็นเพิงหินขนาดเล็ก  ก็มีการปักใบเสมา  ล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 (หรือราว1000 ปีมาแล้ว)

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ลานหินที่มีร่องรอยเจาะหินเพื่อนำใบเสมาปักลงไป

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย พระพุทธรูปที่ถูกสลักบนหินทรายบริเวณถ้ำพระ

วัฒนธรรมใบเสมานี้ อย่างที่เรารู้กันมาว่า   เป็นลักษณะโดดเด่นหนึ่งของอารยะธรรมแบบทวารวดี ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16 (ราว พ.ศ.1101 - 1600)ที่ก่อเกิดเริ่มต้นจากการไปมาค้าขายทางเรือและก่อเกิดเริ่มต้นในแผ่นดินสุวรรณภูมิในเมืองท่าติดทะเล ก่อนจะขยายขึ้นไปสู่ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน 

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย กู่นางอุษาที่มีใบเสมาปักล้อมไว้ครบ 8 ทิศ

โดยยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าที่ใดคือศูนย์กลางของอารยธรรมแบบทวารวดี   เป็นเรื่องที่นักวิชาการเขาจะศึกษาค้นคว้ากันต่อไป แต่สำหรับคนเดินทางอย่างเราก็สังเกตจากใบเสมา และธรรมจักรนี่แหละ

เสมา เป็นเครื่องกำหนดพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา แสดงถึงพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์  ปัจจุบันเราก็จะพบว่าเขาปักใบเสมาไว้รอบพระอุโบสถ แต่พื้นที่บนภูพระบาทอย่างที่บอกว่า พบเห็นการปักเสมาหินไว้หลายตำแหน่งในพื้นที่ภูพระบาท แสดงว่าพื้นที่ในภูพระบาทนั้น

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย พระพุทธรูปนั่งเรียงถูกสลักบนหินทรายในบริเวณถ้ำพระ

ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่พุทธศาสนาเข้ามา ในอดีตนับพันปี มีผู้คนอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้แน่นอน ไม่ได้อพยพมาจากไหน(จากกรณีที่บ้านเชียง) ผู้คนก็คงไม่ได้หนาแน่น

การตั้งชุมชนคงอยู่ในที่ราบ ใกล้แหล่งน้ำและพื้นที่เพาะปลูก  บนภูเขานี้จึงน่าจะเป็นพื้นที่พิเศษที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น อาจจะใช้ในหลายพื้นที่  หลายโอกาส เราจึงพบการปักเสมาหินไว้หลายจุดบนภูพระบาท

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ร่องรอยการสกัดลานหินทรายเพื่อการใดสักอย่าง

บนลานหินเราจะพบเห็นการปรับแต่งพื้นที่ ทั้งเจาะ ขุดบนลานหินด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่นสำหรับปักใบเสมาหิน  หรือการจุดเจาะทำเป็นบ่อน้ำ(บ่อน้ำนางอุษา) ลักษณะคล้ายรางน้ำ หรือการแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูป เป็นเทวรูปต่างๆ ในบริเวณ

นอกจากนั้น ตามเพิงหินต่างๆอุทยานฯภูพระบาทยังมีภาพเขียนสีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ปรากฏตามเพิงหินต่างๆ เช่น ใน ถ้ำวัว ถ้ำคน เป็นต้น   ใช้สีแดงเลือดนกเป็นสีหลักในการวาด แต่ก็ปรากฏภาพที่ใช้สีขาวหม่นวาดทับ ซึ่งไม่รู้ว่าวาดขึ้นใหม่หรือเก่า   

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย วัดลูกเขย ก็มีใบเสมาปักกำหนดพื้นที่ 

เพิงหินเหล่านี้  ในยุคหิน อาจจะเคยถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยบ้างในสังคมมนุษย์ยุคนั้น  ครั้นเมื่อศาสนาพุทธเข้ามา พื้นที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการขุดแต่งเพิงหินหลายแห่ง เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรม (หรืออาจอยู่อาศัยด้วย)

สถานที่ต่างๆบนภูพระบาทถูกตั้งชื่อตามตำนานพื้นบ้าน อุษา-บารส  (ซึ่งจะไม่เล่าในที่นี้เพราะจะกินพื้นที่อย่างมาก ท่านผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านได้มากมายหรือเมื่อไปเที่ยวก็จะมีการบอกเล่าเรื่องราวไว้ในศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้วย) เช่น วัดพ่อตา  วัดลูกเขย  หอนางอุษา บ่อน้ำนางอุษา   ฉางข้าวนายพราน คอกม้าท้าวบารส เป็นต้น

          การเดินชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นั้น ถ้าต้องการไกด์นำพาเที่ยวชม ซึ่งเขาจะอธิบาย พาไปดูยังสถานที่ต่างๆ   ก็สามารถติดต่อที่ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว ได้จะทำให้การเดินเที่ยวชมสนุกสนานมากยิ่งขึ้น แต่จะเดินดูเองก็ได้ 

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ภายในวัดลูกเขย

โดยเข้าไปดูเรื่องราวต่างๆ ในศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก่อน แล้วจึงเดินเที่ยวชมตามทางที่กำหนดไว้ ซึ่งเส้นทางจะนำพาเราผ่านยังจุดต่างๆ ขึ้นไปจนถึงผาเสด็จ ซึ่งเป็นขุดชมวิวของภูพระบาท  แต่ละสถานที่ก็จะมีป้ายอธิบายความไว้

      เนื่องจากการเดินเที่ยวบนภูพระบาท แม้ว่าพื้นที่จะเป็นป่าเต็งรังให้ร่มเงา แต่ก็จะมีลานหินสลับกัน  หลายบริเวณจะเจอแดดจังๆ จึงควรแต่งกายให้มิดชิดจากแดด เตรียมร่ม หมวก  มีน้ำดื่มติดตัว และสวมรองเท้าใบจะดีที่สุด  ถ้าเดินในช่วงฤดูฝน จะมีดอกไม้ดินนานาชนิด ขึ้นอยู่ตามชายน้ำ   ถ้าเดินดูอย่างละเอียด   ดูทุกที่ ก็จะใช้เวลาราว 3 ชม.  ทุกจุดจะมีเส้นทางเดิมเชื่อมต่อกันได้ ไม่มีหลงทาง

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย เบี้ย ทำจากหอยทะเลที่ถูกนำมาเป็นสื่อกลางในการซื้อขาย บางครั้งเป็นคำโบราณ เรียกแทนเงิน(เช่นในภาคใต้) พบในวัดลูกเขย

              ดังที่กล่าวมาทั้งหมด ก็จะเห็นว่าภูพระบาทนั้น เป็นมรดกโลกที่ผสมผสานทั้งธรรมชาติ  ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และธรณีวิทยา อยู่ในสถานที่เดียวกัน   การเดินเที่ยวชมที่นี่จึงคุ้มค่ามากกับการไปเที่ยวชม    โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่บรรยากาศจะดีหน่อย แต่ถ้ามาฤดูหนาวและฤดูแล้ง จะร้อนมาก

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย สวนหิน ที่ถูกดัดแปลงเป็นพ้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

      ขอให้ไปเที่ยวชมพูพระบาทกันให้เต็มอิ่ม ร่วมภาคภูมิใจไปกับมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ไปด้วยกันครับ....

(การเดินทาง เริ่มต้นที่อำเภอบ้านผือ อุดรธานี  ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

บ่อน้ำนางอุษา  และร่องน้ำที่ถูกสกัดบนลานหิน

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย บ่อน้ำนางอุษาที่ถูกสกัดหินจนเป็นบ่อน้ำ.

จะมีทางไปภูพระบาทโดยตรง  มีป้ายบอกทางไปชัดเจน ทางลาดยางถึงที่

 -ติดๆกันจะมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯภูหินจอมธาตุ  ซึ่งเดิมเป็นวนอุทยานพระพุทธบาทบัวบก  สามารถไปกางเต็นท์พักแรมได้  มีน้ำตกตาดน้อยในพื้นที่(มีน้ำในฤดูฝน)

 -ใกล้กันก็จะเป็นพระพุทธบาทบัวบก –โนนสาวเอ้-หินดานใหญ่ สามารถไปเที่ยวชมได้

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

ผาเสด็จ จุดชมวิวในเส้นทาง

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย คอกม้าท้าวบารส

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ฉางข้าวนายพราน

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ฐานพระสูง  ร่องรอยการสกัดหินไปใช้ประโยชน์

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย โบสถ์วัดพ่อตา

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย น้ำตกตาดน้อย ที่สามารถไปกางเต๊นท์ได้  

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ถ้ำวัว

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย หญ้าหยาดน้ำค้าง จะสวยงามในช่วงฤดูฝนตามชายน้ำริมลานหิน

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย ภาพเขียนที่ถ้ำคน 

ยินดีกับ   ‘ภูพระบาท’ ...มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย พระพุทธบาทบัวบก