ประเพณี'ถือศีลกินผัก'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?  

ประเพณี'ถือศีลกินผัก'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ถ้าไม่เคยไป อาจคิดว่าคล้ายๆ ที่อื่น ทว่ามีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร จึงอยากชวนเที่ยวงานประจำปี 2567

สำหรับคนที่ไม่เคยไปเที่ยวงานประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต อาจคิดว่า ไม่ต่างจากที่อื่น และอยากให้ลองไปเที่ยวสักครั้งในชีวิต

ประเพณีถือศีลกินผักของภูเก็ตจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร มีประวัติความเป็นมา ซึ่งนำเข้ามาจากคณะงิ้วเมืองจีน และต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น มีพิธีปฏิบัติหลากหลายรูปแบบ  

การผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้เมืองภูเก็ตกลายเป็นเมืองเทศกาลระดับโลก มีประเพณีต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาทิ ประเพณีลอยเรือ งานแข่งขันเรือใบ เทศกาลอาหารทะเล ลอยกระทง เทศกาลผ้อต่อ และไฮไลท์สำคัญของทุกปีที่หลายคนรอคอยนั้นก็คือ “ประเพณีถือศีลกินผักประจำปี 2567” จัดขึ้นวันที่ 3 - 11 ตุลาคม 2567

ประเพณี\'ถือศีลกินผัก\'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

  • ภูเก็ต เมืองหลากหลายวัฒนธรรม

ภูเก็ตได้รับประกาศจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นบัญชี “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ 2561 ด้านการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล” สะท้อนเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตได้เป็นอย่างดี 

เนื่องจากปัจจัยทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ประกอบสร้างภาพจำเมืองภูเก็ต ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย ไม่ว่าพุทธ มลายูแบบมุสลิม รวมถึงวิถีชีวิตอาหารการกินที่น่าสนใจ

รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน หนึ่งในเอกลักษณ์ของภูเก็ต ซึ่งผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมจีน มาเลเซีย และอิทธิพลทางยุโรปจากโปรตุเกส ดัตช์และอังกฤษ ตามย่านเมืองเก่า

ประเพณี\'ถือศีลกินผัก\'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมของชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตมากขึ้น ณ ช่วงที่ทางการส่งเสริมให้ทำเหมืองแร่ ดีบุกชาวจีนฮกเกี้ยน จึงถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเมืองภูเก็ตรุ่งเรือง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมืองภูเก็ตจึงกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ และไฮไลท์สำหรับเดือนตุลาคมปีนี้ ก็คือ “ประเพณีถือศีลกินผัก”

  • ประเพณีถือศีลกินผัก

ประเพณีถือศีลกินผัก ช่วงแห่งการรักษากายใจให้บริสุทธิ์ ผ่านพิธีกรรมและความศรัทธา เป็นประเพณีความเชื่อ ที่ถูกถ่ายทอดมาจากชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกปี โดยมีวิถีปฏิบัติทั่วไปคืองดเว้น การบริโภคเนื้อสัตว์ งดสิ่งอบายมุข และการถือศีลเป็นเวลา 9 วัน 9 คืนโดยมีพิธีปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้

ประเพณี\'ถือศีลกินผัก\'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

  • ขบวนแห่และสักการะเทพเจ้า 

ผู้ศรัทธาจะเข้าร่วมขบวนแห่และสักการะเทพเจ้าที่ศาลเจ้าต่างๆ โดยมี “ม้าทรง” ซึ่งเชื่อว่าในขณะพิธีนั้นมีเทพเจ้าประทับร่างอยู่ โดยมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการทรมานร่างกาย ด้วยการทิ่มแทง ของแหลมคมเข้าที่แก้มหรือส่วนอื่นๆ, การเดินบนถ่านไฟ, ไต่บันไดมีด ฯลฯ 

ทั้งหมดเป็นความเชื่อเกี่ยวกับ การปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่อาจส่งผลต่อผู้คนหรือชุมชน และเชื่อว่าผู้ที่ประกอบพิธีกรรมนี้ ได้รับเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ไว้แทนคนทั้งเมืองแล้ว สิ่งนี้นับว่าเป็นจุดเด่นที่ไม่ค่อยพบเห็นได้จากที่อื่นของโลก

ประเพณี\'ถือศีลกินผัก\'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

  • ศาลเจ้าในท้องถิ่น 

ศาลเจ้า หรือ อ๊าม ที่ภูเก็ตมีบทบาทสำคัญในการจัดงานเทศกาล โดยเฉพาะศาลเจ้าเก่าแก่ หลายแห่ง เช่น ศาลเจ้ากะทู้ ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย และศาลเจ้าบางเหนียว และศาลเจ้าอื่น ๆ

โดยศาลเจ้าแต่ละแห่งนั้น มีประวัติศาสตร์และความสำคัญต่อชุมชนชาวจีนในภูเก็ตมายาวนาน และถึงแม้ใจความสำคัญของการประกอบ พิธีกรรมจะไปในทำนองเดียวกัน แต่รายละเอียดในประเพณี ของแต่ละศาลเจ้านั้นมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นสีสันแห่งการประกอบพิธี และเป็นมนต์เสน่ห์ของเทศกาลถือศีลกินผักในภูเก็ต

ประเพณี\'ถือศีลกินผัก\'จ.ภูเก็ต : ทำไมโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น?     

  • อาหารเจแบบภูเก็ต

นอกจากอาหารเจที่พบได้โดยทั่วไป อาหารเจในภูเก็ตยังมีการผสมผสาน วัฒนธรรม การกินแบบจีนฮกเกี้ยน อาหารไทย และอาหารท้องถิ่นมลายู เช่น ห่อหมกเจ หลนเต้าเจี้ยวเจ โอวต้าวเจ หมี่หุ้นแกงปูเจ โลบะเจ แกงไตปลาเจ แกงเหลืองเจ ผัดสะตอเจ ยำส้มโอเจ ฯลฯ ทำให้ตลาดอาหารเจ ในภูเก็ตมีความหลากหลายกว่าที่อื่น ๆ

เช่นนั้นแล้ว ประเพณีถือศีลกินผักของภูเก็ต จึงไม่ใช่แค่การยึดถือปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามข้อห้ามในเทศกาลเจ หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านเทศกาลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนที่ใดในโลก

ใครที่อยากใช้โอกาสเทศกาลถือศีลกินเจในปีนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการชำระจิตใจ เพิ่มพลังงานดีให้กับร่างกาย พร้อมสัมผัสกับประสบการณ์และวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ขอให้ปักหมุด “ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต” วันที่ 3 – 11 ตุลาคม 2567 นี้  ไว้ได้เลย