สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง คล้ายภูเขาไฟฟูจิ

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ

‘จอมทอง’ บนภูเขานี้เป็นกลุ่มเสาขัว มองเห็นภูเขาทรง Cuesta หลายๆลูก ทั้งภูเขาคอกช้างที่อยู่ติดกับ ‘เขาจอมทอง’ อีกฝั่งของเขื่อนมูลบน ก็เป็นภูเขาทรงมีดอีโต้ และยังมี ‘วัดเขาจอมทอง’ วัดสายธรรมยุติ ที่ พระเทพวิสุทธิมงคล เป็นผู้สร้าง

ก่อนไปถึง จอมทอง

              แม่น้ำมูล...เดินทางเกือบ 700 กิโลเมตร จากจุดกำเนิดในป่าของ อุทยานแห่งชาติทับลาน  (ที่กำลังถูกนายทุนรุกรานพื้นที่ป่า)   ลงไปรวมกันในเขื่อนลำมูลบน ในเขต อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา  เป็นที่พักน้ำแห่งแรกเมื่อออกจากป่า   ก่อนที่จะไหลผ่านเมือง ผ่านชุมชน จนมีแม่น้ำชีมารวม แล้วจึงไหลไปรวมลำโดม ไปถูกกักอีกครั้งที่ใกล้แม่น้ำโขงที่เขื่อนปากมูล 

และไหลบรรจบกับแม่น้ำโขง ตรงหน้าวัดโขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี   นำความชุ่มเย็น ความสมบูรณ์ของพื้นที่ตลอดทั้งลุ่มน้ำเกือบ 70,000 ตารางกิโลเมตร ในดินแดนภาคอีสานตอนกลางคลุมมาจนถึงตอนล่าง   นี่คือความยิ่งใหญ่และสำคัญของ ‘แม่น้ำมูล’

              อีสานตอนล่างคือดินแดนที่ภูเขาเป็น ภูเขาหินทราย มีทั้งในหมวดพระวิหาร หมวดเสาขัว แต่เป็นกลุ่มหินโคราชหมด ย่านครบุรี - เสิงสาง  เรายังเห็นภูเขาซึ่งในทางธรณีเขาเรียกว่า  ภูมิประเทศเควสตา (cuesta topography)

หรือภูเขารูปมีดอีโต้ คือ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวภูเขาที่มีสันเขาแหลมคม ด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันสูง (ฝั่งซ้ายของเขา) ส่วนอีกด้านหนึ่งของฝั่งเขามีความชันต่ำราดลงไป (ฝั่งขวาของเขา)

แต่มีภูเขาลูกหนึ่งที่โดดเด่นเหนือเขื่อนมูลบน รูปทรงสะดุดตามาก  ดูคล้ายกับฝาปิดขนมครก  ได้สัดส่วนทั้งซ้ายและขวา และมีส่วนยอดเป็นพื้นที่นิดเดียว จะว่าคล้ายภูเขาไฟฟูจิ ก็คล้าย  จะว่า คล้ายภูหอ ก็คล้ายเหมือนกัน  ที่นี่คือ เขาจอมทอง

              ภูเขาจอมทอง นี้ผมสอบถามกับ ดร.ประดิษฐ์  นูแล  จากสำนักงานธรณีเขต 2 ขอนแก่น ของกรมทรัพยากรธรณี  ที่ดูแลรับผิดชอบภาคอีสาน   ท่านบอกว่า ภูเขานี้หินทราย บนภูเขานี้เป็นกลุ่มเสาขัว ซึ่งใกล้เคียง  ก็จะเห็นภูเขาทรง Cuesta อยู่หลายลูก   ทั้งภูเขาคอกช้าง ที่อยู่ติดกับเขาจอมทองและอีกฝั่งของเขื่อนมูลบนก็เป็นภูเขาทรงมีดอีโต้เช่นกัน

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ชายหาดจอมทอง

              ภูเขาทรงอีโต้ มันมาอย่างไร  ก่อนอื่นเรารู้อยู่แล้วว่าภูเขาพวกนี้เป็น ภูเขาหินทราย ซึ่งเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่ง ที่สะสมตัวมาจากตะกอนต่างๆมาทับถมกันบนพื้นโลก  หลังจากนั้นก็ถูกแผ่นเปลือกโลกชนกันและยกตัวขึ้นเป็นภูเขา ถ้าเราเห็นมันเอียงลาดไปด้านใดด้านหนึ่ง  

แสดงว่าแรงที่ยกตัวมันยกไม่เท่ากันมันจึงเอียง (ถ้ายกตัวด้วยแรงเท่ากันก็จะเป็นภูเขาหลังแป)หรือบางทีก็มาทรุดเอียงลงทีหลัง 

ทีนี้  ขอบสุดแผ่นของหินตะกอน หรือ หินชั้น  พอยกตัวขึ้น แผ่นหินที่อยู่ปลาบขอบๆ  ก็มักจะหัก หรือแตกกร่อน  ร่วงตกลงมา ส่วนที่ปลายขอบที่หักตก ก็จะเป็นหน้าผาตัดชัน  ซึ่งใต้หน้าผาเรามักจะเห็นหินก้อนใหญ่ๆ  อยู่ด้านล่างรอวันผุสลายต่อไป ยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นชัด

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ บรรยากาศไม่ต่างจากชายทะเล   

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ เวลาที่เราขึ้นภูกระดึง  ช่วงที่เป็นบันไดชันๆ จะเห็นว่ามีก้อนหนทรายขนาดใหญ่ระเกะระกะนั่นแหละคือหินส่วนปลายแผ่นหินทราย ที่มันหักแตกตกลงมา ส่วนบันไดที่พาดขึ้นไปนั่นก็คือพาดส่วนที่เป็นหน้าผานั่นเอง  ฟอร์ม ภูเขาหินทราย มักจะแบบนี้แทบทั้งนั้น

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ รูปทรงของเขาจอมทอง

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ

      ทีนี้มาดูรูปของ เขาจอมทอง ที่เอาให้ดู   จะเห็นว่า ภูเขาจอมทอง นั้น   จะมีส่วนที่เป็นไหล่เขา ค่อยๆลาดลงมา  แล้วพอจะถึงส่วนยอด เราจะเห็นว่ามันเป็นหน้าผาค่อนข้างชัน    แล้วจึงจะเป็นยอดเขา  ก็เหมือนกับที่ผมเล่ามานั่นแหละครับ  

ความน่าสนใจมันอยู่ตรงนี้ครับคือ    ผมไม่เคยขึ้นยอดภูหอ   ที่ว่ามีรูปร่างภูเขาคล้ายกัน    แต่ผมจะขึ้นไปดูบนยอดของภูเขาจอมทอง  จะเป็นอย่างไร   ค่อยๆตามผมมาครับ

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ บรรยากาศในวัดจอมทอง

          ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก วัดเขาจอมทอง แห่งนี้กันก่อน   วัดนี้เป็น วัดสายธรรมยุติ   ที่ พระเทพวิสุทธิมงคล(ศรี มหาวีโร) เป็นผู้ดำริสร้าง ด้วยท่านเคยมาปฏิบัติธรรมในพื้นที่เงียบสงบแห่งนี้   หลวงปู่ศรีเป็นใคร ?  ใครที่ไม่ใช่สวยวัดอาจจะไม่รู้

ท่านคือพระผู้มาบูรณะวัด วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด   และพระผู้สร้างเจดีย์ชัยมงคล จ.ร้อยเอ็ดนั่นเอง  

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ทางขึ้นเขา

หลวงปู่ศรีท่านเป็นศิษย์และเป็นพระอุปัฐฐากของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ในสายวิปัสสนากรรมฐาน ที่รู้จักกันดีนั่นเอง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่สงบ เงียบ มีต้นไม้ ป่าเขาล้อมรอบ เหมาะในการเจริญสมาธิภาวนา  เราเข้าไปในเขตวัด อาจจะดูเงียบ ไม่เห็นพระหรือคนออกมาพลุกพล่าน  ยิ่งเห็นแบบนี้ ทุกคนที่ไป ยิ่งต้องสงบ อย่าส่งเสียงดัง ต้องเคารพสถานที่ ไปถึงก็จอดรถให้เรียบร้อย เป็นที่เป็นทาง ดับเครื่องยนต์ อย่าเปิดเครื่องเสียง

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ลักษณะทางขึ้นยอดเขาจอมทอง

              การเดินขึ้นไปบนยอดเขาจอมทองนั้น เราจะต้องไปเริ่มที่วัดเขาจอมทอง ซึ่งก็อยู่ติดกับ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทับลาน ที่ 15 (หาดจอมทอง) ซึ่งเป็นชายน้ำของเขื่อนมูลบนที่ลาดเอียง เป็นแนวหาดทราย  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีใน อ.ครบุรี

ใครไปวัดเขาจอมทองไม่ถูก ก็ตั้งจุดหมายไว้ที่หาดจอมทองจะมีถนนลาดยางจากหาดไปจนถึงวัด

              จะมีป้ายบอกทางทางเดินขึ้นเขาอย่างชัดเจน โดยเขาจะทำเป็นบันไดปูน มีราวจับไว้ด้านข้าง บันไดจะนำพาเราขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ภายใต้ร่มเงาของป่าเบญจพรรณ 

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ เพิงน้ำทิพย์ที่มีอยู่ตลอดปี

โดยจุดแรกจะเป็นทางแยกเดินไป บ่อน้ำทิพย์ ซึ่งเป็นเพิงเล็กๆใต้ซอกเขามีน้ำหยดมาจากไหนไม่รู้มาขังอยู่ในแอ่งตลอดทั้งปี นี่เป็นแหล่งน้ำที่หลวงปู่ศรีท่านมาพบครั้งที่มาปลีกวิเวกถึงที่นี่ 

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ศาลเจ้าพ่อจอมทองบนยอดเขา

แล้วบันไดปูนจะไปสิ้นสุดที่เพิงผาหินที่ ศาลเจ้าพ่อเขาจอมทอง  ตรงนี้มีจุดชมทิวทัศน์ด้วย   พอสุดทางปูนก็จะเป็นบันไดเหล็ก ที่นำพาเราขึ้นสู่บริเวณที่เป็นหน้าผาชัน บันไดเหล็กนี้จะทอดสูงขึ้นไปลอดช่องเขาด้านบน ที่เป็นกองหินทรายเกยซ้อนทับกัน

ถ้าดูจากทรงของภูเขา ส่วนนี้ก็จะเป็นส่วนยอดของภูเขา ที่เป็นหน้าผาหินชันๆนั่นเอง จากนั้นทางจะวนอ้อมไปทางทิศตะวันออก จะพบเพิงผาที่มีพระพุทธรูปหลายองค์ประดิษฐานอยู่ในซอกหินใต้เพิงผา

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ตรงนี้มีเตียงไม้เล็กๆ น่าจะเป็นเพิงที่หลวงปู่ศรีที่ท่านเคยมานั่งกรรมฐาน   ด้านหน้าเพิงจะเป็นหน้าผาที่มองเห็นทิวทัศน์ของเขื่อนมูลบน และภูเขาหลังแปตรงข้าม

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ หมดเขตป่า  กำลังจะขึ้นสู่ส่วนยอดเขา

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ เพิงผาปฏิบัติธรรมบนยอดเขา

              ยังมีทางเดินอ้อมขึ้นไปด้านบนเพิงผาได้อีก ซึ่งด้านบนของเพิงผานี้ จะเป็นลานหินกว้าง ซึ่งถ้าดูจากทรงภูเขาที่ให้ดู  ส่วนนี้จะเป็นยอดเขานั่นเอง

บนยอดเขานี้จะมีพื้นที่ไม่กว้างมากน่าจะกว้างไม่ถึง 100 เมตร  และยาวน่าจะ100-200 เมตร  เท่านั้น   ทุกขอบด้านเป็นหน้าผาทั้งหมด ข้างบนเป็นป่าไผ่เตี้ยๆ มีไม้ยืนต้นบ้างแต่ไม่มาก แสดงว่าดินบนหลังเขา หนาไม่มาก

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ บันไดเหล็กที่จะพาดพาขึ้นสู่ยอดเขา

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ รอยพระพุทธบาท

บนลานหินยอดเขาตรงนี้นั้นมีร่องรอยของการใช้เครื่องมือเจาะลงไปบนหินทราย 2 แห่ง แห่งหนึ่งรูปทรงคล้ายรอยเท้า ขนาดไม่ใหญ่ แต่ลึก ว่ากันว่านี่คือรอยพระพุทธบาท 

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ส่วนยอดเขาที่เป็นหน้าผาหิน

ใกล้ๆกันมีร่องรอยการใช้เครื่องมือเจาะเป็นแอ่งรูปร่างสี่เหลี่ยม แล้วลานหินนี้มีหน้าผาที่มองไปทางฝั่งที่ตั้งวัด จะเห็นภูเขาหลังแป หน้าตัด ที่ชื่อเขาคอกช้าง  จากตรงนี้มีทางเดินไปอีกนิดก็จะถึงลานที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราชองค์ใหญ่กลางแจ้ง

ซึ่งทีแรกผมนึกว่าเขายกองค์ที่เป็นพระพุทธรูปแล้วขึ้นมา เพราะพุทธลักษณะสวยงามเหมือนองค์ทรง แต่ก็สงสัยว่าองค์ใหญ่ขนาดนี้จะเอาขึ้นมาได้อย่างไร   แต่พอไปอ่านประวัติ เขาขนวัสดุอุปกรณ์ แล้วขึ้นมาปั้น มาหล่อด้านบน

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ

ทางขึ้นสู่ยอดเขา

บนลานหิน เบื้องขวาของพระพุทธรูป  ปรากฏร่องรอยการแกะสลักเป็นฐานสี่เหลี่ยมคล้ายฐานโยนีด้านในแกะสลักเป็นก้อนกลมๆ ทำให้ดูเหมือนศิวลึงค์   ซึ่งป้ายอธิบายความว่าเป็นร่องรอยอารยธรรมของขอมโบราณ 

ซึ่งดูแล้วน่าจะสอดคล้องกับการแกะสลักเป็นแอ่งทรงสี่เหลี่ยม และรอยพระพุทธบาท  และยังมีร่องรอยบนหินบางตำแหน่งที่มีร่องรอยการลงเครื่องมือบนหิน เพื่อจะทำอะไรสักอย่าง  ร่องรอยเหล่านี้เห็นชัดเจน 

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ประตูสวรรค์บนยอดเขาจอมทอง

และในเขต อ.ครบุรีนี้ ยังมีปราสาทครบุรี   มีปราสาทจระเข้หิน และรูปพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวี ประทับบนหลังวัวนนทิ ที่เป็นอารยธรรมขอมปรากฏในพื้นที่ด้วย    การปรากฏฐานโยนีและศิวลึงค์แกะสลักบนหลังแปเขาจอมทองนี้จึงไม่แปลก

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ห่างจากลาน พระพุทธชินราชจำลอง นี้ไปไม่ไกลในดงไม้ จะเป็นจุดที่หลวงปู่ศรีท่านมาวางศิลาฤกษ์กำหนดจะสร้างเจดีย์ แล้วเดินเลยไปอีกนิด ก็จะเป็นทางลงเขาอีกด้านหนึ่ง

จะเห็นว่าพื้นที่บนยอดเขาจริงๆไม่กว้าง    แต่ที่น่าประทับใจมากๆ คือทิวทัศน์บนยอดเขาที่เป็นหน้าผา ด้านตะวันออกนั้นมองเห็นเขื่อนมูลบนทั้งหมด

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ส่วนด้านเหนือและตะวันตกจะเห็นภูเขาคอกช้างที่เป็นภูเขาหลังแปหน้าตัด   คือทิวทัศน์นั้นสวยงามโดยรอบ  และสงบเงียบ เป็นธรรมชาติอย่างมาก   ไม่ว่าจะมองไปในมุมใดก็สวยงามไปทั้งหมด  มาบนนี้จึงพบแต่สิ่งที่น่าประทับใจ

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ เขื่อนลำมูลบนและภูเขาหลังตัด มองจากช่องหินบนยอดเขาจอมทอง

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ สิ่งที่ปรากฏในอ่างเก็บน้ำเขื่อนมูลบน

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ร่องรอยอารยธรรมขอมหน้าลานพระพุทธชินราช

สงัดงัน...สวรรค์บนยอดเขา...จอมทอง  คล้ายภูเขาไฟฟูจิ ทิวทัศน์ที่สวยงามทางด้านเขื่อนมูลบน

แต่ก็อย่างที่ผมว่า ว่าพื้นที่จะทรงคุณค่าได้ก็ต้องสงบ สะอาด   คนที่ไปที่นี่จึงต้องเงียบ ไม่ส่งเสียงดังและช่วยพระท่านดูแลความสะอาด เก็บขยะทุกชนิดเอาลงมาจากยอดเขาด้วย

ครั้งนี้ไม่ต้องบรรยายอะไรมาก อยากให้ท่านผู้อ่านได้ดูภาพให้มากๆ เพราะบอกแล้วว่า สวยอะไรเช่นนี้ ที่ เขาจอมทอง....