อัปเดต "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 2,176 จับตา บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำ
เกาะติดเช็คอัปเดตล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. ยอด 2,176 ราย จับตา บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นนทบุรี ฉะเชิงเทรา
อัปเดตต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 8 พ.ค. 65 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบอัปเดต 10 จังหวัด อันดับพบผู้ติดเชื้อโควิดสูงสุด
รายงานวันนี้ ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
07/05/2565 กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย บุรีรัมย์ ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นนทบุรี ฉะเชิงเทรา
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565 เวลา 11.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ 8,081 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,101,415 ราย
หายป่วยแล้ว 2,035,989 ราย
เสียชีวิตสะสม 7,390 ราย
----------------------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,324,850 ราย
หายป่วยแล้ว 4,204,483 ราย
เสียชีวิตสะสม 29,088 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 7 พฤษภาคม 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 134,653,094 โดส
----------------------------
วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 32,596 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 100,355 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 119,518 ราย
* เนื่องจากทางระบบ co-ward อยู่ระหว่างปรับปรุง
จึงยังไม่สามารถแสดงผลผู้ป่วยอาการหนักและ
ใส่ท่อช่วยหายใจ รวมทั้งอัตราครองเตียงได้ในขณะนี้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 516,978,650 ราย
อาการรุนแรง 40,013 ราย
รักษาหายแล้ว 471,632,954 ราย
เสียชีวิต 6,275,795 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 83,567,707 ราย
2. อินเดีย จำนวน 43,102,508 ราย
3. บราซิล จำนวน 30,558,530 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 28,928,097 ราย
5. เยอรมนี จำนวน 25,337,996 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,324,850 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ
3 มาตรการสกัดโควิด ระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเฝ้าระวังเเละคัดกรองกลุ่มผู้เดินทางระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะด่านควบคุมโรคช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบิน ท่าเรือ และพรมแดนตามแนวชายแดน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส่งผลให้สามารถตรวจจับเเละควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะที่ผ่านมา ในปัจจุบันด่านพรมแดนมีการพัฒนาให้สามารถคัดกรองดูเเลผู้ติดเชื้อเเละให้บริการวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนมาตรการรับมือโควิด 19 แบบรอบด้าน ได้แก่
1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานด่านพรมแดน โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2) ด้านการป้องกัน ควบคุมโรค โดยการประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ การสื่อสารความเสี่ยง การเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เเละการติดต่อประสานงาน
3) การถอดบทเรียน บูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การซ้อมแผน สัมพันธภาพความร่วมมืออันดีของเจ้าหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับมือกับโควิด 19
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข