"หมอชนะ" แจ้งวันประกาศยุติให้บริการ ทบทวนแอปฯนี้สำคัญกับเราอย่างไร?
"หมอชนะ" ประกาศยุติให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป หลังเปิดให้ประชาชนใช้สำหรับการเช็กอินส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ
"หมอชนะ" ประกาศยุติให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป หลังเปิดให้ประชาชนใช้สำหรับการเช็กอินส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘ไทยชนะ’ ‘หมอชนะ’ ‘ไทยเซฟไทย’ ต่างกันอย่างไร? เลือกใช้ให้ถูก
ขณะเดียวกันทางคณะผู้ดำเนินงานแอปฯ "หมอชนะ" ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย
สำหรับ แอปพลิเคชั่น "หมอชนะ" เป็นแอปฯ เพื่อจัดเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่ต่างๆได้ด้วยตัวเอง และหากเปิด GPS ให้เข้าถึงตลอดเวลา การทำงานของแอปฯ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การทำงานของ "หมอชนะ" จะคอยส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ ระบุตำแหน่งของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ให้ผู้ใช้รายงานความเสี่ยงของตัวเอง และ แจ้งเตือนผู้ใช้หากเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดโควิด-19
โดยการใช้งานเริ่มจากให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปฯ "หมอชนะ" บนสมาร์ทโฟน และตอบคำถามประเมินอาการของตัวเอง โดยจะแบ่งระดับของความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ คือ
สีเขียว สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีอาการ ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
สีเหลือง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งอาจจะมีอาการไข้หวัด แต่ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
สีส้ม สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง เพราะเป็นคนที่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่เด่นชัด คนในกลุ่มนี้ต้องกักตัวอยู่กับบ้านจนครบ 14 วัน พร้อมทั้งเฝ้าระวัง ถ้ามีอาการควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
สีแดง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะทั้งมีอาการ และมีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
หมอชนะ มีความแตกต่างจาก ไทยชนะ คือ สามารถบอกได้ว่าเราเดินทางไปจุดใดบ้าง เมื่อเกิดโรคระบาดหรือมีผู้ติดเชื้อขึ้นมาจะตรวจสอบได้ว่าผู้ติดเชื้อคนนั้นไปสัมผัสกับใคร ไปพบใครบ้างและจะมีข้อความไปเตือนให้มารายงานตัว ทำให้ทราบไทม์ไลน์ได้แม่นยำมากขึ้นระดับนาที จากเดิมที่แพทย์ใช้การสัมภาษณ์ผู้ป่วย แม้จะไม่ปิดบังข้อมูลแต่อาจจำไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหา