เปิดเทอมใหญ่ใจว้าวุ่น “เรียนฟรี 15ปี” ไม่อยู่จริง เด็ก 2.4 ล้านส่อหลุดนอกระบบ

เปิดเทอมใหญ่ใจว้าวุ่น “เรียนฟรี 15ปี” ไม่อยู่จริง เด็ก 2.4 ล้านส่อหลุดนอกระบบ

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาประเมิน 13 ปี “นโยบายเรียนฟรี 15”ต้องเร่งปรับปรุงชี้ยังมีช่องว่างงบประมาณไม่เพียงพอไม่สอดคล้องค่าครองชีพส่งผลเด็ก 2.4 ล้านคนเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา ขณะที่สภาพัฒน์พบครอบครัวคนจนเกินครึ่งยังขาดโอกาสการศึกษา เสนอ เพิ่มงบประมาณ ขยายการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ครอบคลุมเด็ก 0-6 ปีและมัธยมปลาย

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเสวนาหัวข้อถึงเวลาแล้วหรือยัง ปฏิรูปนโยบายเรียนฟรี”  โดยรศ. ดร. ชัยยุทธ  ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอผลการศึกษานโยบายเรียนฟรี15 ปี ระบุว่า ตลอดเวลาการดำเนินนโยบายประมาณ 13-14 ปีที่ผ่านมาพบว่า การสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนอาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากนโยบายเรียนฟรี 15 ปีเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงโรงเรียนเพราะโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนค่ารายหัว เพื่อดำเนินการทั้งในเรื่องค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรม

“ เมื่องบประมาณจัดสรรตามรายหัวนักเรียน ทำให้โรงเรียนต้องหานักเรียนเข้ามาเรียนเพื่อให้ได้เงินอุดหนุนหล่อเลี้ยงโรงเรียนจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อเห็นข่าวคุณครูโดดตึก เพราะไม่สามารถดึงนักเรียนเข้ามาเรียนได้ตามเป้าหมายได้”

รศ. ดร. ชัยยุทธ  บอกว่า ผลการศึกษาของสภาการศึกษาระบุว่าการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ แม้งบประมาณที่สนับสนุนในปี2564จะมากถึง7.6 หมื่นล้านบาทโดยกระจายให้ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชน แต่พบว่างบสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ  เช่นค่าจัดการเรียนการสอน ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเนื่องจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ปรับเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจ  ทำให้พบว่า ผู้ปกครองยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งค่าอุปกรณ์  ค่าเครื่องแบบ

 นอกจากนี้ยังพบว่าช่องว่างนโยบายเรียนฟรี 15 ปีไม่คครอบคลุมการเรียนการสอนก่อนเข้าเรียนอนุบาล และระดับมัธยมปลาย ทำให้ในช่วง 2-3 ปีมีนักเรียนด้อยโอกาส ต้องหลุดออกนอกระบบการศึกษานับแสนคน  เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ยากจน ไม่ได้รับเงินอุดหนุน  ดังจะเห็นข่าว น้องเรียนที่มีข่าว ฆ่าตัวตายที่จังหวัดสงขลา เพราะไม่มีเงินเรียนต่อ เนื่องจากนโยบายเรียนฟรีไม่ครอบคลุมการเรียนระดับมัธยมปลาย แม้ว่ารัฐจะมีเงินกู้จาก กยศ.แต่ส่วนใหญ่นักเรียนไม่ชอบกู้ และการกู้ต้องรอนาน 3-4 เดือนทำให้ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพจริงที่เกิดขึ้น

 รศ. ดร. ชัยยุทธ  เสนอให้ปรับแก้นโยบายเรียนฟรี ใน 2แนวทางคือ1 เป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายในโครงการเรียนฟรี 15 ปี ให้จัดสรรเป็นรายบุคคล โดยเพิ่มระดับอนุบาล ในอัตรา 1,000 บาท ต่อคน รวม 240,553 คน ใช้งบประมาณ 240 ล้านบาท

และระดับม.ปลาย เฉพาะนักเรียนยากจนพิเศษ ม.4   หัวละ 9,000 บาท รวม 28,382 คน ใช้งบประมาณ 255 ล้านบาท ซึ่งเดิมจัดสรรเฉพาะระดับประถมศึกษาถึงม.ต้นเท่านั้น 

ส่วนแบบที่ 2 เป็นการปรับอัตราอุดหนุนระดับ ม.ต้น เป็น 4,000 บาทต่อคน รวม 584,620 คน ใช้งบประมาณ 2,338 ล้านบาท จากเดิมอุดหนุนรายละ 3,000 บาทต่อปี

 “การปรับเพิ่มอัตราอุดหนุนให้เพียงพอสำหรับโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าหากปรับเพิ่มทุกส่วนอาจต้องใช้งบประมาณจำนวมากอยากให้พิจารณาโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็กที่มีปัญหาในการจัดสรรงบระมาณเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันมีเด็กที่ตกหล่นหรือหลุดออกจากระบบการศึกษานับแสนคนและภาวะเรียนรู้ถดถอยลงเรื่อยๆ”

เงินอุดหนุนไม่สอดคล้องภาวะค่าครองชีพจริง

เช่นเดียวกับ รองศาสตราจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ    ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา  กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาได้พยายามแก้ไขปัญหาวามเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพราะถือเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนประเทศ  แต่ก็พบว่า นโยบายเรียนฟรี 15 ปี เงินอุดหนุนยังไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริงของผู้ปกครอง

อัตราเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนที่ ช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น ยังคงเป็นอัตราเดิมที่ไม่มีการปรับมาเป็นเวลากว่า 13 ปี    นักเรียนประถมศึกษา ได้รับ 1,000 บาทต่อคนต่อปีสำหรับ หรือวันละ 5 บาท  นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาทต่อคนต่อปี หรือวันละ 15 บาท ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น และในปี 2565 นี้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะสูงถึง 4-5%   จากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ เด็กกลุ่มเสี่ยงกว่า 2.4 ล้านคนซึ่งอยู่กับครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นความยากจน ของสภาพัฒน์ฯ ที่ 2,700 บาทต่อคน/เดือน ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง”

นอกจากนี้พบว่ายังมีช่องว่างในช่วงการเรียนการสอนก่อนประถม คือช่วงอายุระหว่าง 0-6ปี ซึ่งมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการเรียนรู้  โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าการลงทุนกับเด็กวัย0-6 ขวบจะได้ได้ผลผลัพธ์มากถึง 13-14%ดังนั้นถ้าเราต้องการเด็กที่มีคุณภาพจึงควรจะหันกลับมามองเด็กกลุ่มนี้

นอกจากนี้ควรจะขยายนโยบายการเรียนฟรีกับ นักเรียนมัธยมปลายซึ่งรวมถึงเด็กที่เข้าเรียนสายอาชีวะเพราะที่ผ่านมาพบว่านโยบายนี้ไม่ได้ทำให้คนเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามากขึ้น เนื่องจากสะพรานี่จะเชื่อมระหว่างการเรียนมัธยมไปสู่อุดมศึกษาขาดลง

 “เราลงทุนด้านอุดมศึกษาประมาณ แสนล้านบาท แต่เรามีนักเรียนที่เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาเพียง 30 % ขณะที่อีก  70%ไปไม่ถึงมัธยมปลายกลายเป็นว่าการลงทุนของเราอาจะสูญเปล่าเพราะมีนักเรียนไม่มีเงินเรียนมัธยมปลาย ข้ามสะพานไปใช้ประโยชน์จากแสนล้านบาทการอุดหนุนการเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ เนื่องจากสะพานขาดในช่วงมัธยมปลาย”

รองศาสตราจารย์ วรากรณ์   กล่าวว่า ถึงเวลาปฏิรูปการศึกษา โดยการขยายการเรียนายังคับจาก 9 ปีให้เป็น 12 ปี เหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วหายประเทศ  โดยขยายการเรียนฟรี ให้ครอบคลุมในส่วนที่เป็นช่องว่างคือ ระดับก่อนอนุบาลและมัธยมปลายเพื่อให้เด็กอยู่ในระบบการศึกษาได้นานขึ้น

สภาพัฒน์ชี้คนจนหมดโอกาสหลุดกับดักยากจน

ขณะที่ ดร.ปฏิมา จงเจริญธนาวัฒน์  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ กองศึกษาและวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  บอกว่า  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จึงตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีซึ่งมีหมุดหมายในเรื่องของการลดวามเหลื่อมล้ำ และแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ทำอย่างไรจะทำให้โอกาสของทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ให้สามารถก้าวข้ามความยากจนข้ามรุ่นได้

            อย่างไรก็ตาม  ดร.ปฏิมา พบว่า โอกาสที่คนยากจนในรุ่นพ่อแม่จะส่งต่อความยากจนให้กับรุ่นลูกมีสูงมาก จากการศึกษา โดยการสำรวจรายได้ เงินออมและหนี้สินของคนเดิมซ้ำทุกปีพบว่าคนยากจนในปี 2548 ผ่านไป7 ปีคือ ปี2555  ยังเป็นคนยากที่จนที่สุดเหมือนเดิม

“ เราศึกษาพบว่า คนยากจนในรุ่นพ่อแม่ ส่งต่อความจนในรุ่นลูก โดยประมาณ 20% หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการศึกษายังยากจจน  ขณะที่คนที่เคยรวยที่สุด ยังคงเป็นคนรวยเหมือนเกือบ 53% จะเห็นว่าประเทศไทยโอกาสที่คนจนในปัจจุบันจะมีโอกาสเป็นคนรวยยากมากขึ้น”

 ดร.ปฏิมา กล่าวว่า การที่ครอบคครัวคนจนไม่หลุดพ้นจากกับดักความยากจนทำให้โอกาสการเรียนของนักเรียนในครอบครัวยากจนลดลงไปด้วยโดยพบว่าในปี2564 มี ครัวเรือนที่เป็นคนจนข้ามรุ่นประมาณ 6 แสนครัวเรือน โดยในจำนวนนั้นเป็นครอบครัวที่มีเด็กอยู่ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อครอบครัวมีปัญหาเรื่องรายได้ ทำให้การลงทุนการศึกษากับเด็กได้น้อยลงไปด้วย ทำให้โอกาสที่จะตัดวงจรความยากจนก็น้อยลงไปอีก

  “สิ่งที่น่ากังวล คือ เด็ก อายุ 6-14 ปี หรือเด็กที่ควรจะได้รับการเรียนภาคบังคับยังหลุดออกจากระบบการศึกษามากถึง 17% เพราะปัญหาความยากจน ซึ่งในแผนฯ13 เราจจะโฟกัสกลุ่มนี้เป็นลำดับแรกๆ เพื่อตัดวงจรความยากจนข้ามรุ่นให้ได้”

ดร.ปฏิมา กล่าวว่า  สภาพัฒน์ จะแก้ปัญหานี้โดยะแก้ไขปัญหาแบบพุ่งเป้าหมายไม่ใช้ นโยบายตัดเสื้อโหลทุกคนได้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพออีกต่อไป โดยได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า TPMAP ซึ่งจะสามารถค้นหาครอบครัวที่ยากจนว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไรและเขาต้องการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  กล่าวว่า เรียนฟรีในความเป็นจริงยังมีคค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพราะว่าศักยภาพของแต่โรงเรียนแตกต่างกัน  แม้จะไม่มีการเก็บค่าเทอม แต่โรงเรียนต้องใช้เงินในการดำเนินกิจการต่างๆทำให้พ่อแม่มีการเสีย่าใช้จ่ายเพิ่มเช่นเดิม

นอกจากนี้จากการสำรวจค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า เด็กกรุงเทพฯมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเฉลี่ย 37,257 บาทต่อคนต่อปี  ในจำนวนนี้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสูงถึง 26,247 บาท ที่เหลือเป็นค่าเสื้อผ้าและเครื่องแบบ 2,072 บาท  ค่าหนังสือ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ 2,175 บาท และค่าเดินทาง 6,763 บาท  ตัวเลขเฉลี่ยเหล่านี้สูงกว่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย สูงกว่าเฉลี่ยของทั้งประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่าย 17,832 บาทต่อคนต่อปี ถึง 2 เท่า

  อย่างไรก็ตาม  ดร.ภูมิศรัณย์  เห็นว่า สิ่งที่ต้องปรับปรุงในส่วนนโยบายเรียนฟรี 15 ปี คือการเงินอุดหนุนนักเรียนพื้นฐานยากจน  แม้ว่าปัจจุบัน กสศ จะมีทุนเสมอภาคนักเรียนยากจนพิเศษ  และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานแต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้มีเด็กประมาณ 60% หรือประมาณ 4 แสนคนที่ยากจนแต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งหากต้องการขยายนโยบายให้ครอบคลุมเด็กกลุ่มนี้จะใช้งบประมาณ ปีละ 800 ล้านบาท